EA ประเภท GRID คือ

ฉบับย่อ

  • Grid คือ ระบบที่วางคำสั่งซื้อขายในรูปแบบของตะแกรง (บางคนเรียกหรูหน่อยก็เรียกเป็นตาข่าย หรือ net แทน)
  • EA ประเภท GRID คือ EA ที่มีการเทรดโดยการนำเทคนิค Grid trading system มาใช้

GRID คือ

ระบบ Grid หรือ Grid trading system นั้นเป็นระบบที่วางคำสั่งซื้อขาย (Buy-Sell) กระจายไปในระยะต่าง ๆ โดยที่มากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับเงินทุนของเรานั่นเองครับ

Grid ในภาษาไทย มีความหมาย คือ “ตะแกรง” ซึ่งความสามารถของมันก็ล้อตามชื่อเลยครับ… ให้คุณลองนึกภาพตามเมื่อราคานั้นเคลื่อนไหวไม่ว่าขึ้น หรือ ลงก็ตามราคาก็จะไปโดนเส้นตะแกรงเสมอ และรอที่จะทำกำไรในเส้นตะแกรงถัดไปนั่นเองแหละครับ

รูปที่ 1 Grid trading system

 

EA ประเภท GRID คือ EA ที่มีการเทรดโดยนำเทคนิค GRID มาใช้จึงทำให้เรานั้นสามารถที่จะสร้างผลกำไรได้ในทุก ๆ ช่วงเวลา เนื่องจากเมื่อราคามีการเคลื่อนไหวไม่ว่าจะไปในทิศทางใดก็จะเข้าไปอยู่ในจุดที่เราวาง GRID ไว้เสมอ… แต่ก็ต้องมีจุดที่ต้องระวังไว้ด้วยนะครับ

ผมจะทำการอธิบายจุดสำคัญต่าง ๆ ตามหัวข้อต่อ ๆ ไปรวมถึงวิธีใช้งานเพื่อให้เพื่อมองเห็นภาพได้ชัดยิ่งขึ้นครับ

 

วิธีคำนวณต้นทุนในการใช้เทคนิค  

ก่อนที่จะเริ่มการใช้เทคนิค Grid trading system ผมก็จะมาสอนสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันครับ คือ การคำนวณต้นทุนก่อนการเทรดว่ามีทุนเท่าไรถึงจะมากพอที่ออกไม้ได้แล้วจะออกได้กี่ไม้…คุ้มค่าพอที่จะใช้เทคนิคนี้หรือเปล่าไปดูกันครับ

 

โดยสิ่งที่ต้องทำโดยอันดับแรกก็คือ

  • ตรวจสอบพฤติกรรมราคาย้อนหลังว่ามีการสวิงในราคาน้อยสุดถึงมากสุดกี่ Pips โดยเน้นย้ำว่าควรเป็นกราฟคู่เงินที่ควรจะเป็นลักษณะของ Sideway นะครับเพราะเมื่อใดก็ตามเราออกออเดอร์ผิดทางก็มีโอกาสพอสมควรที่ออเดอร์ที่เราถือค้างไว้อยู่จะกลับมากำไรได้นั่นเอง
  • คำนวณระยะทาง Pips และกำหนดจำนวนเงินที่ต้องใช้
  • กำหนดจุด Take Profit (TP) และStop lost (SL)
รูปที่ 2 การคำนวณทุนและระยะในการวางGRID

 

จากรูปที่ 2 ผมจะของยกตัวอย่างกราฟมานะครับโดยกราฟที่จะนำมาเป็นเป็นตัว คือ กราฟระยะเวลา 3 เดือนด้วยกันโดยที่มีระยะห่างสูงสุดของ Pips อยู่ที่ 250 pips นั้นเองครับ

ซึ่งสามารถที่จะแบ่งเป็น 50 pips เท่า ๆ กันได้พอดิบพอดีหลังจากนั้นก็มาคำนวณต้นทุนกันครับว่าเราสามารถที่จะเล่นระบบ Grid ในระยะที่ 50 pips ในโซนกราฟของ 3 เดือนได้หรือไม่

รูปที่ 3 การคำนวณต้นทุนในการใช้เทคนิค Grid trading system

 

จากรูปที่ 3 เมื่อเราได้ทำการวาง Grid ตามรูปที่ 2 แล้วก็ให้มาพิจารณาดูที่โซนแต่ละโซนตามลำดับนะครับโดยผมจะขอยกตัวอย่างคือโซนที่ 6 เมื่อผมทำการ Buy แต่ดันเกิดราคาผิดทาง

จะเห็นได้ว่าเมื่อมีการผิดทางขึ้นมานั้นโอกาสที่จะผิดทางสูงสุดในระยะเวลา 3 เดือนอยู่ที่ 250 pip ทำให้เราสามารถที่จะรู้ว่าควรจะมีทุนอยู่ที่ 2,500 USD ต่อ Lot 1 นั้นเองครับถึงจะทำไม่ให้เกิดการล้างพอต แต่อย่างไรก็ตามครับนี่เป็นเพียงตัวอย่างการคำนวณง่ายๆ

รูปที่ 4 วิธีการคำนวณ Margin

 

ทว่าตามความเป็นจริงเราควรจะรวมค่า Margin และ ค่า Swap เข้าไปด้วย ซึ่งอาจจะมองข้ามค่า Swap ไปได้ครับเนื่องจากมีค่าที่น้อยจึงอาจจะไม่ใช่ปัญหาอะไรโดยการคำนวณค่า Margin สามารถอธิบายได้ตาม สมการ (1)

 

[ราคาปัจจุบัน x Lot Size x Contract Size] ÷ Leverage                              สมการ (1)

 

หรือ คำนวณอย่างง่ายผ่านโปรแกรมด้านล่างนี้เลย

 

 

 

หลักการทำงานของ GRID

การทำกำไรแบบ GRID

วิธีการทำกำไรแบบ Grid คือการวางออเดอร์ Buyไว้ 5 ไม้ที่ทุก ๆ ระยะ 50 pip และมีการตั้ง TP ไว้ที่ 50 pip เช่นเดียวกัน

โดยที่กราฟจะเป็นลักษณะของ Sideway ซึ่งราคาจะอยู่ในกรอบและมีโอกาสทำกำไรสูงถึงแม้ว่าจะมีการขยับตัวของราคาผิดทางก็ตามก็จะมีโอกาสที่กราฟจะกลับตัวมาทำกำไรได้นั่นเองครับ

รูปที่ 5 การทำกำไรแบบ GRID

 

การขาดทุนแบบ GRID

เมื่อมีการทำกำไรแล้วเราก็มาดูว่าการขาดทุนแบบ GRID จะเกิดการขาดทุนได้ในลักษณะใดโดยที่ผมจะทำการ SELL และ TP ไว้ที่ทุก ๆ ระยะ 50 pip เช่นเคย

แต่สิ่งที่ตามมาคือกราฟที่เกิดขึ้นอยู่ในเทรนขาขึ้นจึงไม่มีโอกาสที่จะกลับตัวมาทำกำไรนั้นเองครับอีกทั้งการย่อตัวนั้นก็ต่ำเกินไปจึงทำให้การวาง Grid ในลักษณะนี้เกิดการขาดทุนนั้นเองแหละครับ

รูปที่ 6 การขาดทุนแบบ GRID

 

เทคนิค ในตลาด Forex

เทคนิคการใช้ GRID + Stochastic oscillator indicator

จากเทคนิคพื้นฐานที่กล่าวไปแล้วจะทำให้รู้ว่าการใช้เทคนิค GRID อย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอที่จะสามารถเอาชนะตลาดได้ครับผมจึงแนะนำเป็นอย่างยิ่งว่าควรจะใช้ Indicator ตัวอื่น ๆ เข้ามาช่วยในการตัดสินใจในการออกออเดอร์ให้แม่นยำมากขึ้นผมจึงขอยกตัวอย่างการใช้ GRID + Stochastic เป็นตัวอย่างนะครับถึงแม่จะมี Indicator อีกหลาย ๆ ตัวที่น่าใช้ก็ตาม

รูปที่ 7 เทคนิคการใช้ GRID + Stochastic

 

จากรูปจะเห็นได้ว่าหลังจากที่เราทำการวาง grid เพื่อที่จะ Buy เอาไว้แล้วก็จะมาสังเกตต่อใน Stochastic oscillator indicator จะให้สังเกตในวงกลมสีแดงนะครับเมื่อกราฟเข้ามาแตะเส้นแล้วเราจะยังไม่ทำการ Buy ทันทีเนื่องจากค่า Sto > 80 แต่เราจะทำการรอจนกว่า Sto < 80 และกราฟไปแตะยัง grid ที่เราวางไว้เราถึงจะออกออเดอร์และไปทำกำไรในจุด TP นั่นเองครับ 

 

บทสรุป

Grid trading system คือระบบที่เรานั้นสามารถทำกำไรได้ค่อนข้างบ่อยแต่ก็แลกมาด้วยความเสี่ยงที่มาก เนื่องจากออกไม้เป็นจำนวนมากนั้นเองครับ (ยกเว้นที่เป็นระบบ Smart Grid ซึ่งจะขออธิบายในบทความต่อ ๆ ไปนะครับ)

เพราะฉะนั้นควรจะให้ความสำคัญกับคู่เงินที่ใช้เทรดว่ามีการผันผวนมากน้อยเพียงใดอีกทั้งผมแนะนำเป็นอย่างยิ่งว่าควรใช้ควบคู่ไปกับ Indicator อื่นๆด้วยนะครับ และขอขอบคุณที่ติดตามรับชมพบกันในบทความต่อไป…สวัสดีครับ

 

“คนส่วนใหญ่ใส่ใจกับผลได้ระยะสั้นเท่านั้น แต่คนฉลาดอย่างแท้จริงจะมองไปยังอนาคต”

 

ทีมงาน: eaforexcenter

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *