ฉบับย่อ
- ข่าวเศรษฐกิจ มีผลต่อราคาและการเคลื่อนที่ของกราฟแท่งเทียนเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงมีผลต่อการเทรด Forex เช่นกัน
- ข่าวที่ส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของราคาในตลาด Forex มี 2 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ ข่าวในตารางและข่าวนอกตาราง
- วิธีเช็คข่าว Forex ฺส่วนมากจะดูและวิเคราะห์ได้จากจากเว็บ www.forexfactory.com
- ในส่วนของข่าวนอกตารางนั้นเราจำเป็นต้องติดตามจากช่องข่าวอื่น ๆ เอง เช่น CNN เป็นต้นครับ
ข่าวที่เกี่ยวข้องกับตลาด Forex แต่ละประเภท
การวิเคราะห์ข่าวถือเป็นอีกหนึ่งเทคนิคในการเทรดครับ โดยมันจะถูกจัดเป็น Fundamental Analysis หรือ การวิเคราะห์พื้นฐานปัจจัยนั่นเอง ซึ่งปกติแล้วเราจะมาวิเคราะห์กันเฉพาะข่าวที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง เพราะหากมาวิเคราะห์ข่าวทุกตัวคงจะเหนื่อยแย่เลย
ปกติแล้วเราจะสามารถข่าวจำแนกให้เป็นก้อนใหญ่ได้ 2 แบบคือ ข่าวในตาราง และ ข่าวนอกตาราง
- ข่าวในตาราง
- เป็นข่าวที่มีการกำหนดวัน และเวลาในการประกาศอย่างชัดเจน เช่น การแถลงนโยบายการเงินหรือดอกเบี้ย ตัวเลขทางเศรษฐกิจต่าง ๆ เป็นต้น
- เทรดเดอร์ส่วนใหญ่นิยมเช็ค ข่าวเหล่านี้จาก forexfactory
- ข่าวนอกตาราง
- เป็นข่าว หรือ การประกาศใด ๆ ที่ไม่ได้มีกำหนดล่วงหน้าชัดเจน
- ส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของราคาในตลาด Forex เช่น การแสดงความเห็นที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ ผู้ว่าการธนาคาร, ประธานาธิบดี, หรือข่าวความขัดแย้งระห่างประเทศ การตอบโต้ต่าง ๆ ที่อาจจะส่งผลต่อความกลัวของผู้คนส่วนใหญ่ และอาจจะทำให้เกิดสงครามได้
วิธีเช็คข่าวเศรษฐกิจด้วยบน Forex Factory
Forex Factory เป็นเครื่องมือหนึ่งที่เทรดเดอร์ทั่วโลกนิยมใช้ เพราะมีความง่าย ชัดเจน รวดเร็ว และมีความเสถียร์ เมื่อมีการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจออกมา ข้อมูลค่อนข้างชัดเจนและรวดเร็ว เทรดเดอร์จึงนิยมใช้เทรดหาจังหวะในการเทรดเพื่อทำกำไรจากข่าว และมีวิธีใช้ดังต่อไปนี้
1. เข้าไปที่ https://www.forexfactory.com/
2. สิ่งแรกที่ทุกคนจะต้องปรับการตั้งค่า เพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์และติดตามนั่นก็คือ การเปลี่ยนเวลา โดยให้ไปที่
- Time Zone Settings จะพบกับตัวเลือก Time Zone ให้เลือกเวลาให้ตรงกับที่ต้องการใช้ ในที่นี้ใช้เป็น (GMT+07:00) Bangkok, Hanoi คือเวลาที่ตรงกับประเทศไทยนั่นเอง
- Time Format จะเป็นการเลือกรูปแบบของเวลา ทั้งนี้อยู่ที่ความถนัดของแต่ละคน ในที่นี้เลือกเป็น 24 Hour หรือการแสดงนาฬิการูปแบบ 24 ชั่วโมง
- กด Save Settings เพื่อเป็นการบันทึกการตั้งค่า เพิ่มความสะดวกเมื่อกลับเข้ามาใช้งานอีกครั้ง
3. เมนูด้านบน จะสามารถเลือกกลุ่มหรือประเภทของตลาดทุน ที่นักลงทุนหรือเทรดเดอร์สนใจ และเมนูถัดมาจะสามารถเลือกดูสิ่งที่เกี่ยวข้องได้ดังตารางด้านล่างนี้ครับ
เมนู |
คำอธิบาย |
Forums | แสดงให้เห็นข่าวหรือความเคลื่อนไหวโดยรวม ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับคู่เงินที่เทรดเดอร์สนใจ |
Trades | จะมีข้อมูลที่เทรดเดอร์เข้าเทรดทำกำไรหรือติดลบ ด้วยคู่เงินใด เข้า Buy หรือ Sell ที่ราคาเท่าไร เพื่อเป็นแนวทางในการเข้าเทรดหรือวิเคราะห์ ลำดับ ข้อมูล สถิติการเทรดของเทรดเดอร์ และมีเปอร์เซ็นการซื้อหรือขายของเทรดเดอร์ทั้งหมดที่ได้แชร์ข้อมูลในเว็บ |
News | ข่าวสารทั่วไป ที่อาจจะมีความเกี่ยวข้องกับการเทรด ที่เทรดเดอร์สามารถเข้ามาติดตามหรือหาข้อมูลความเคลื่อนไหวได้ |
Calendar | ปฎิทินทางเศรษฐกิจ ที่จะใช้ติดตามวันและเวลาในการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจ |
Market | เป็นหน้าที่แสดงตลาด คู่เงิน หุ้น ทองคำ รวมไปถึงค่าสเปรดของโบรกเกอร์ต่าง ๆ |
Brokers | ข้อมูลโบรกเกอร์ต่าง ๆ |
4. ให้เลือกมาที่ Calendar หรือ ปฎิทินเศรษฐกิจ และในหน้านี้จะมีให้เลือกกรองข่าวที่เทรดเดอร์สนใจ โดยให้ไปที่ Filter จะพบหน้าต่างให้เลือก
- Expected Impact คือ ลำดับความสำคัญของข่าว กล่องแดงส่งผลต่อตลาดหรือมีการเคลื่อนที่รุ่นแรงที่สุด กล่องส้มส่งผลต่อตลาดปานกลาง กล่องเหลืองส่งผลต่อตลาดเล็กน้อย และกล่องเทาอาจจะไม่ส่งผลต่อตลาดเลย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้ ต้องการเลือกข่าวใดก็สามารถติ๊กได้เลย
- Event Types คือ การเลือกประเภทของข่าว เช่นตัวเลขทางเศรษฐกิจต่าง ๆ หรือการแถลงจากบุคคลสำคัญ
- Currencies เลือกข่าวเฉพาะสกุลเงินนั้นๆ บางสกุลเงินที่เทรดเดอร์ไม่สนใจหรือไม่ได้เทรด ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเลือกมาทั้งหมด
- เมื่อทำการตั้งค่าเรียบร้อยให้กด Apply เพียงเท่านี้ก็สามารถวิเคราะห์ข่าวที่สนใจได้เลย
5. รูปปฎิทินเล็ก ๆ ด้านซ้ายมือด้านบน เทรดเดอร์หรือนักลงทุนสามารถเลือกได้ ว่าจะใช้โชว์ข่าวออกมาทั้งสัปดาห์หรือเฉพาะวัน สามารถเลือกดูล่วงหน้าหรือย้อนหลังได้
6. วิธีการวิเคราะห์ข่าวในเบื้องต้น จะเห็นได้ว่าตารางจะระบุไว้อย่างชัดเจนว่า วันที่ที่ข่าวจะออกวันที่เท่าไร ลับดำต่อมาเป็นเวลาที่มีการประกาศ ตามมาด้วยสกุลเงินที่ข่าวส่งผลโดยตรง และกล่องที่ชี้ให้เห็นถึงระดับของความสำคัญหรือความรุ่นแรงของข่าว และชื่อข่าวที่จะมีการประกาศออกมา
- เมื่อคลิกไปที่กล่องเอกสาร จะมีการแสดงเนื้อหาและความสำคัญของข่าวนั้น ๆ รวมถึงตัวเลขของการประกาศในครั้งที่ผ่านมา
- Actual คือ ตัวเลขที่ประกาศออกมาในปัจจุบัน
- Forecast คือ ตัวเลขคาดการณ์จากนักวิเคราะห์
- Previous คือ ตัวเลขในการประกาศครั้งก่อน
- Graph กราฟแสดงสถิติย้อนหลัง
ปกติแล้วเราสามารถแบ่งระดับความแรงของข่าวได้ 4 ระดับ ซึ่งข่าวเหล่านี้เองจะส่งผลเศรษฐกิจในวงกว้างหรือวงแคบก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงนี้แหละครับ
สีของข่าว |
ระดับความรุนแรง |
สีเทา |
วันหยุด หรือ วันปิดทำการ ความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับสกุลเงินที่จับคู่ด้วย |
สีเหลือง |
มีผลกระทบต่อค่าเงินน้อย |
สีส้ม |
มีผลกระทบต่อค่าเงินแต่ไม่รุนแรง |
สีแดง |
มีผลกระทบต่อค่าเงินมากที่สุด |
หลักการวิเคราะห์จากตัวเลขทางเศรษฐกิจ
ข่าวที่เราจะมาวิเคราะห์กันจริง ๆ จะเป็นข่าวจากประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ เช่น อเมริกา อังกฤษ เป็นต้น โดยเราจะเน้นเจาะไปอีกคือเราจะดูแค่ USD ครับ เนื่องจากมันมักจะกระทบกับสินค้าหลาย ๆ อย่าง โดยเฉพาะ major fx หรือ คู่เงินหลัก (คู่เงินที่จับคู่กับ USD)
- Unemployment Claims
- อัตราการว่างงาน เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ตลาดเกิดความไม่แน่นอน อาจจะเกิดภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง คนจะไม่อยากออกไปใช้จ่ายเงิน การลงทุนก็น้อยลง และท้ายที่สุดค่าเงินก็จะอ่อนตัวลง
- อัตราการว่างงาน ลดลง แสดงว่าเศรษฐกิจอาจจะกำลังโตขึ้น คนก็มีกำลังซื้อมากขึ้น อยากออกไปช็อปโว้ย การลงทุนก็เยอะขึ้น ซึ่งสุดท้ายค่าเงินก็อาจจะแข็งตัวขึ้น
- Gross Domestic Product (GDP)
- GDP เพิ่มขึ้น จะทำให้เศรษฐกิจอาจจะขยายตัว ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งตัว
- GDP ลดลง มีผลต่อเศรษฐกิจที่อาจจะชะลอตัว ซึ่งค่าเงินจะอ่อนตัวในไม่ช้า
- Consumer Price Index (CPI)
- CPI สูงขึ้น ทำให้เงินเฟ้อมากขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจแข็งแกร่ง และท้ายที่สุดค่าเงินจะแข็งตัวขึ้น
- CPI ลดลง ทำให้เงินเฟ้อน้อยลง ส่งผลให้เศรษฐกิจฝืดเคือง และทำให้ท้ายที่สุดค่าเงินจะอ่อนตัว
- Interest Rate (FED rate)
- FED ปรับเพิ่ม อัตราดอกเบี้ย อาจจะบ่งบอกว่าทางรัฐบาลกำลังเรียกนักลงทุนให้มาลงทุน จึงส่งผลให้ค่าเงินแข็งตัวขึ้น
- FED ปรับลด อัตราดอกเบี้ย แสดงว่าทางรัฐบาลต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงส่งผลให้ค่าเงินอ่อนตัวลง
- Non-Farm Payrolls (NFP)
- ข่าวการจ้างงานนอกภาคการเกษตรครับ
- NFP เพิ่ม อาจจะมีโอกาสการจ้างงานมากขึ้น มันจะทำให้เศรษฐกิจ และสภาพคล่องของเกษตรกรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งท้ายสุดจะส่งผลให้ค่าเงินแข็งตัวขึ้น
- NFP ลดลง มีโอกาสที่น่าจะจ้างงานน้อยลง ทำให้เศรษฐกิจมีโอกาสชะลอตัว และกระทบเรื่องของสภาพคล่องของเกษตรกร ท้ายสุดค่าเงินก็จะลดลง
- ข่าวนี้ออกทุกวันศุกร์แรกของทุกเดือน เวลาประมาณ 00-20.30 น. ประเทศไทย เทรดเดอร์หลาย ๆ ท่านเล็งที่จะเทรดชนข่าวพวกนี้ ดังนั้นจะอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้กราฟวิ่งแรง
สรุป
การที่จะประสบความสำเร็จในการเทรด forex อาจจะต้องพึ่งพาหลายปัจจัย ซึ่งการวิเคราะห์ข่าว หรือ เทคนิค Fundamental analysis ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะมองข้ามไม่ได้เลยครับ โดยวิธีวิเคราะห์ ข่าว Forex Factory อาจจะทำให้เทรดเดอร์มีมุมมองในการเทรดที่แตกต่างและดีขึ้น แถมยังทำให้ระวังในการเข้าซื้อขายมาขึ้นครับ
ทีมงาน eaforexcenter.com
Pingback: วิเคราะห์ xauusd วันนี้ และแผนการเทรดประจำวัน [Signal Forex]