บทนำ: การเทรด Forex ด้วยปัจจัยพื้นฐาน คือ วิธีหนึ่งที่เทรดเดอร์มืออาชีพหลายคนใช้ เพราะเชื่อว่าสิ่งที่ขับเคลื่อนราคา ค่าเงิน หรือเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการอ่อนค่าหรือแข็งค่าของค่าเงิน มาจากปัจจัยพื้นฐาน
การอ่อนค่าหรือแข็งค่ากับการเคลื่อนที่ของราคา
เทรดเดอร์ที่จะเทรด Forex ด้วยปัจจัยพื้นฐาน จะต้องเข้าใจก่อนว่า การแข็งค่าหรืออ่อนค่าเกิดขึ้นได้อย่างไร การอ่อนค่าหรือแข็งค่าจะเกิดขึ้นจาก สภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ เมื่อเศรษฐกิจดีค่าเงินก็จะแข็งค่า มีอำนาจการต่อรองหรือแลกเปลี่ยนเพิ่มมากขึ้น
ไม่มีประเทศใด ที่จะยอมให้ค่าเงินอ่อนหรือแข็งนาน ๆ
เมื่อเศรษฐกิจแย่ ค่าเงินก็จะอ่อนค่า นั่นหมายความว่าถ้าจะซื้อสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะต้องใช้เงินในมูลค่าที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น อำนาจในการแลกเปลี่ยนน้อยลง
จึงส่งผลให้รัฐบาล ธนาคาร หรือผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะสามารถกำหนดทิศทาง หรือนโยบายที่อาจจะส่งผลต่อค่าเงิน เพื่อรักษาความสมดุล เพราะไม่ว่าประเทศใด ๆ ก็ไม่ต้องการให้ค่าเงินในประเทศแข็งค่า หรืออ่อนค่านาน ๆ เพราะจะส่งผลให้การนำเข้าส่งออกมีปัญหา หรือได้เปรียบเสียเปรียบต่างประเทศนาน ๆ
เมื่อนำค่าเงินแต่ละประเทศมาเปรียบเทียบกัน
ในตลาด Forex คือการนำสกุลเงินหนึ่งมาจับคู่ซื้อขายอีกสกุลเงินหนึ่ง ถ้าคู่เงินสกุลนั้น ๆ แข็งค่า หรือ อ่อนค่าพร้อม ๆ กัน เป็นไปได้ที่จะเกิดการแกว่งตัว หรือในทางเทคนิคเรียกว่าไซด์เวย์ แต่ถ้าสกุลเงินหนึ่งแข็งค่าและในระหว่างเดียวกันอีกสกุลเงินอ่อนค่า กราฟก็จะพุ่งขึ้นสูง และถ้าคู่สกุลเงินหนึ่งอ่อนค่าและอีกสกุลเงินหนึ่งแข็งค่า กราฟก็จะดิ่งลงอย่างรุ่นแรงเช่นเดียวกัน
ตัวอย่างเช่น EUR/USD
EUR อ่อน – USD อ่อน กราฟจะเกิดการไซด์เวย์ หรือขึ้นลงที่ไม่รุนแรง ขึ้นอยู่กับว่าฝั่งใดจะมีผลที่เกิดจากเศรษฐกิจได้มากกว่ากัน
EUR แข็ง – USD นิ่ง กราฟก็จะพุ่งขึ้นสูง หรือเป็นแนวโนมในขาขึ้น ซึ่งมาจากปัจจัยจากทางด้าน EUR
ดังนั้น เทรดเดอร์ที่ต้องการเทรดด้วยปัจจัยพื้นฐาน ไม่ว่าคู่สกุลเงินใด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาปัจจัยพื้นฐานของทั้งสองสกุลเงิน เพื่อนำมาวิเคราะห์การอ่อนหรือแข็งค่าของค่าเงิน
ข่าวและตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของราคา
- GDP (Gross Domestic Product) คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เป็นตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดตัวหนึ่ง บ่งบอกถึงมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดในประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น หนึ่งไตรมาส ครึ่งปี หนึ่งปี ตัวเลข GDP เป็นดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี แน่นอนว่าจะส่งผลกับค่าเงินอย่างแน่นอน เพราะถ้าเศรษฐกิจดีค่าเงินก็จะแข็งขึ้น ทำให้สกุลเงินที่จับคู่กับสกุลเงินนั้น ๆ มีความผันผวนในช่วงเวลาที่ประกาศตัวเลขออกมา อีกทั้งยังสามารถบอกแนวโน้มของเศรษฐกิจในระยะยาวได้อีกด้วย
- Inflation Rate คือ ตัวชี้วัดที่แสดงการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาสินค้า และบริการในปีปัจจุบันเทียบเท่ากับปีก่อน หากอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย จะเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับภาคการลงทุน แต่ถ้าอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมา จะส่งสัญญาณถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ
- Interest Rate คือ อัตราดอกเบี้ย หรือที่นักลงทุนเรียกว่าดอกเบี้ยนโยบาย ที่ธนาคารกลางของแต่ละประเทศกำหนดขึ้นเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยอัตราดอกเบี้ยอื่น ๆ ภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ ดอกเบี้ยเงินฝาก หรือแม้แต่ผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตร ล้วนแล้วมีส่วนเกี่ยวข้องที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามนโยบายของธนาคารกลางทั้งสิ้น
- Unemployment Rate คือ อัตราการว่างงาน เป็นอัตราส่วนของกำลังแรงงานที่ไม่มีงานทำ ถ้าอัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจเพราะการว่างงาน จะทำให้ลดการใช้จ่ายของผู้บริโภค เกิดความเครียดทางสังคม และส่งผลเสียต่อผู้ผลิต และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลไปยัง GDP ที่เป็นตัวชี้วัดสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน
ตัวเลขทางเศรษฐกิจ คือ เครื่องชี้วัดอย่างดี
- Trade Balance คือ ดุลการค้า การค้าระหว่างประเทศที่นำมูลค่าการนำเข้าสินค้า กับมูลค่าการส่งออกสินค้าของประเทศมาเปรียบเทียบกัน ถ้านำเข้ามากกว่าส่งออกแสดงว่าขาดดุลการค้า ถ้าส่งออกมากกว่านำเข้า แสดงว่าเกินดุลการค้า และถ้าส่งออกและนำเข้าเท่ากัน เรียกว่าสมดุลการค้า สำหรับการค้าระหว่างประเทศจะทำให้รู้ว่า ภาวะการค้าของประเทศเป็นอย่างไรอยู่ในฐานะได้เปรียบหรือเสียเปรียบ ดุลการค้าระหว่างประเทศแสดงให้เห็นถึงส่วนแบ่งที่สำคัญของผลิตภัณฑ์มวลรวม จึงเป็นตัวเลขที่สำคัญที่ส่งสัญญาณล่วงหน้าว่าเศรษฐกิจในปีนั้น ๆ จะขยายตัวหรือไม่
- Consumer Price Index-CPI คือ ดัชนีราคาผู้บริโภค เป็นเครื่องมือทางสถิติที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาขายปลีกของสินค้าและบริการในปริมาณที่เท่ากันในช่วงระยะเวลาหนึ่งเทียบกับราคาสินค้าอย่างเดียวกันในช่วงเวลาตั้งต้นเรียกว่าปีฐาน ถ้าอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น CPI เพิ่มขึ้น แสดงว่าราคาสินค้าและบริการต่าง ๆ ปรับตัวสูงขึ้น ประชาชนต้องใช้เงินเพิ่มขึ้นเพื่อซื้อสินค้าจำเป็น ถ้าอัตราเงินเฟ้อลดลง CPI ลดลง แสดงว่าราคาสินค้าและบริการต่าง ๆ ปรับตัวลดลง ประชาชนมีกำลังจ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อซื้อสินค้าจำเป็น
เมื่อตลาดให้ความสำคัญ เทรดเดอร์ก็ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน
- Producer Price Index-PPI คือ ดัชนีราคาผู้ผลิต ใช้ชี้วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาขายส่งของสินค้าโดยเฉลี่ย ที่ผู้ผลิตในประเทศได้รับจากการขายสินค้า ณ แหล่งผลิต PPI สูงขึ้นเล็กน้อยแสดงว่า ภาวะการค้าของประเทศค่อนข้างดี ส่งผลให้ระดับราคาสินค้าทั่วไปเพิ่มขึ้น PPI สูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง แสดงว่า อาจจะมีปัญหาเงินเฟ้อเนื่องจากราคาสินค้าโดยทั่วไปเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นได้ด้วย PPI มีแนวโน้มลดลง แสดงว่า ภาวะการค้าโดยรวมเริ่มมีปัญหา เนื่องจากราคาสินค้าประเภทวัตถุดิบลดลง ส่งผลให้ราคาสินค้าโดยทั่วไปลดลง หรืออาจเป็นเพราะสินค้าบางกลุ่มมีปริมาณมากกว่าความต้องการ เนื่องจากมีการแข่งขันที่สูงขึ้น หรือเกิดจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
นี่คือส่วนหนึ่งของข่าวหรือตัวเลขทางเศรษฐกิจที่มีการประกาศออกมา หรือที่หลาย ๆ คนเรียกว่าข่าวในตาราง สามารถเช็คข่าวได้ที่ Forex Factory
และยังมีข่าวอีกประเภทหนึ่งที่เทรดเดอร์ไม่สามารถทราบล่วงหน้านั่นก็คือ ข่าวนอกตาราง ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ ข่าวนอกตางรางเช่น การเมือง การแถลงของบุคคลสำคัญ
ข่าวในตารางดังที่ได้กล่าวในข้างต้นนี้ ทุกครั้งที่มีการประกาศตัวเลขที่สำคัญทางเศรษฐกิจ จะมีการเคลื่อนที่ของราคาอย่างรุนแรง และเมื่อเวลาผ่านไปกราฟจะเป็นไปตามกลไกของราคา หรือปัจจัยทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริง
พื้นฐานคือเบื้องหลังของทุกสิ่ง
และเทรดเดอร์ที่ใช้ปัจจัยพื้นฐานจะไม่มองเฉพาะช่วงเวลาที่ข่าวออกเท่านั้น แต่ยังใช้ตัวเลขที่ประกาศในทุก ๆ เดือน มาวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อให้เห็นทิศทางของเศรษฐกิจอีกด้วย
สรุป การเทรด Forex ด้วยปัจจัยพื้นฐาน
การเทรด Forex ด้วยปัจจัยพื้นฐาน แน่นอนว่ามีความสำคัญพอสมควรกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับการอ่อนค่าหรือแข็งค่า เทรดเดอร์ส่วนใหญ่จึงนำมาประกอบกับปัจจัยทางเทคนิค เพราะไม่มีใครที่จะมองตัวเลขเพียงอย่างเดียวแล้วเข้าเทรด ส่วนใหญ่ก็จะมองกราฟประกอบร่วมด้วย และถ้ามีความรู้ทั้งสองทางแล้วละก็ จะยิ่งทำให้การเทรดมีความน่าจะเป็น หรือเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะเอาชนะตลาดได้อีกด้วย
ทีมงาน eaforexcenter.com
Pingback: Copy Trade Forex ที่ถูกต้อง หลักการลงทุนยังไง ไม่โดนหลอก