วิธีใช้งานกลุ่ม Check Trade & Order Count ใน fxDreema

Check Trade fxDreema
คลิกเพื่อกลับสู่สารบัญเพื่อเลือกเรียนบทอื่น ๆ

Highlight

  • ทุกบล็อกในกลุ่ม Check Trade fxDreema & Order Count fxDreema เราสามารถเลือกได้หมดเลย ว่าต้องการเช็คค่าจากไม้ไหนบ้าง ไม่ว่าจะเป็นไม้ Buy ไม้ Sell หรือทั้ง Buy และ Sell ครับ
  • ทุกบล็อกในบทความนี้ จะส่งสัญญาณไปทางปุ่มสีส้มเมื่อเป็นจริง และส่งสัญญาณไปทางปุ่มเหลืองเมื่อสัญญาณเป็นเท็จ
  • Check position count ใช้เช็คว่าตอนนี้มีกี่ไม้
  • Check pending order count ใช้เช็คว่าตอนนี้มีไม้เพนดิ้งออเดอร์กี่ไม้
  • If position ถ้ามีไม้เทรด
  • If position/order ถ้ามีไม้เทรดหรือไม้เพนดิ้งออเดอร์
  • If pending order ถ้ามีไม้เพนดิ้งออเดอร์
  • No position ถ้าไม่มีไม้เทรดเปิดอยู่เลย
  • No position/order ถ้าไม่มีไม้เทรดหรือไม้เพนดิ้งเปิดอยู่เลย
  • No pending order ถ้าไม่มีไม้เพนดิ้งออเดอร์
  • No position nearby ถ้าไม่มีไม้เทรดอยู่ในระยะที่กำหนดเปิดอยู่
  • No pending order nearby ถ้าไม่มีไม้เพนดิ้งในระยะที่กำหนดเปิดอยู่

โดยทุกท่านจะสังเกตได้ว่า ทุกบล็อกที่ผมกำลังอ้างอิงถึงอยู่ในการสรุปย่อ ใช้คำว่า position ด้วยกันทุกบล็อกเลยครับ ซึ่งผมจะสื่อว่า MT5 จะใช้คำว่า position ครับ แต่ MT4 จะใช้คำว่า trade นั่นเอง เช่น No trade

โดย Check Trade & Order Count ก็เป็นหมวดหมู่บล็อกอีกหมวดหมู่นึง ที่เราใช้กันอย่างแพร่และใช้บ่อยมากจริง ๆ ครับ ในวิถีแห่งการสรรค์สร้าง EA

ซึ่งแน่นอนว่าถ้านักรบคนไหนใช้อาวุธได้อย่างคล่องแคล่ว ย่อมได้เปรียบในฟิลด์การต่อสู้เป็นไหน ๆ ซึ่งไม่ต่างกับวงการนี้เลยครับ ที่ว่าถ้าท่านใดเขียนคล่อง และเขียนเก่ง ชีวิตก็จะง่ายขึ้นเยอะครับ !!

 

เพราะฉะนั้นด้วยเหตุผลประการทั้งปวง บทความนี้ “ห้าม พลาด เด็ด ขาด ครับ”

 

Order Count fxDreema
รูปที่ 1 แสดงบล็อกในกลุ่ม Check Trade & Order Count ทั้งหมด

ผมจะขอแบ่งบล็อกที่มีเป็น 4 กลุ่ม ครับ

  1. กลุ่มถ้ามีไม้
  2. กลุ่มถ้าไม่มีไม้
  3. กลุ่มที่เช็คว่ามีกี่ไม้
  4. กลุ่มที่เช็คว่าตอนนี้ไม่มีไม้ในระยะห่างเท่าไหร่
fxDreema check trade
รูปที่ 2 แสดงบล็อกที่แบ่งเป็นกลุ่ม โดยแอดมินคนดีคนเดิม

 

ค่าพารามิเตอร์ของแต่ละกลุ่มที่เราใช้บ่อย ๆ

  1. Group Mode

โดยจะมีให้เราเลือกกลุ่มการทำงาน 3 แบบ

  • Group: เลือกกลุ่มการทำงาน แบ่งโดยใช้เลข Group เช่น 1
  • Manually opened: เลือกไม้ที่เปิดด้วยแบบแมนนวล หรือเปิดด้วยมือของตัวเอง (ไม่ใช้ EA เท่านั้น)
  • All (automate and manually opened): เลือกทุกไม้ ไม่ได้สนว่าจะเป็นไม้ที่เปิดด้วยมือหรือ EA และไม่ได้สนว่าเป็น Group ไหนด้วย
  1. Group #

เอาไว้ใส่เลขกลุ่มการทำงานที่ต้องการ เช่น 1 หรือจะใส่หลายกลุ่มการทำงานก็ได้ โดยจะใช้ comma ในการเขียน Group ต่อกัน เช่น 1, 2, 3

  1. Symbol Mode

โดยจะมีให้เราเลือกกลุ่มการทำงาน 2 แบบ

  • Specified: เลือก Symbol แบบเฉพาะเจาะจง แต่ก็สามารถใส่หลาย Symbol ได้เช่นกันครับ เช่น ใส่แบบตัวเดียว EURUSD หรือใส่แบบหลายตัว EURUSD, USDJPY, GBPUSD โดยเราจะสังเกตได้ว่าเค้าจะใช้คอมม่าในการแบ่งชื่อ Symbol แต่ละตัวครับ
  • Any Symbol: หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ Symbol ไหนก็ได้ เค้าไม่ได้สนใจ Symbol ครับ

แน่นอนว่าอย่ารอช้านะครับ เราไปเริ่มกันที่บล็อกกลุ่มแรกกันเลยดีกว่า !! (โดยผมจะไล่เรียงจากกลุ่มแรก ไปกลุ่ม 2 กลุ่ม 3 นะครับ)

โดยถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จสัญญาณจะวิ่งไปทางปุ่มสีเหลือง และถ้าเป็นจริงสัญญาณจะวิ่งไปทางปุ่มสีแดง (ทุกบล็อกในบทความนี้เลยครับ)

group fxdreema
รูปที่ 3 แสดงให้เห็นถึงการส่งสัญญาณเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง และการส่งสัญญาณเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ

 

กลุ่มถ้ามีไม้

If position

ถ้าให้ผมพูดง่าย ๆ ก็คือ “ถ้ามีไม้เทรดไม้นี้แล้ว เราจะทำอะไรต่อ” ซึ่งแน่นอนนะครับว่าเราเลือกได้ว่าจะเอาไม้ Sell ไม้ Buy หรือควบสองทั้ง Buy และ Sell ไปเลยครับ

If position fxdreema
รูปที่ 4 แสดงหน้าต่างของบล็อก If position

 

If position/order

“ถ้ามีไม้เทรดหรือเพนดิ้งออเดอร์ไม้นี้แล้ว เราจะทำอะไรต่อ” ซึ่งก็เหมือนเดิมนะครับ ว่าเราเลือกได้ว่าจะเอาไม้ Sell ไม้ Buy หรือทั้ง Buy และ Sell ได้เลยครับ

If position/order fxdreema
รูปที่ 5 แสดงหน้าต่างของบล็อก If position/order

 

If pending order

“ถ้ามีไม้เทรดหรือเพนดิ้งออเดอร์ไม้นี้แล้ว เราจะทำอะไรต่อ” ก็คล้ายเดิมอีกเช่นเคยครับ และแน่นอนว่าเราเลือกได้ว่าจะเอาไม้อะไรครับ

 If pending order
รูปที่ 6 แสดงหน้าต่างของบล็อก If pending order

 

“ถ้าไม่มีไม้เทรด เราจะทำอะไรต่อ”

 

กลุ่มถ้าไม่มีไม้

No position

No position fxdreema
รูปที่ 7 แสดงหน้าต่างของบล็อก No position

 

“ถ้าไม่มีไม้เทรดหรือไม้เพนดิ้งออเดอร์ เราจะทำอะไรต่อ” เรื่องรายละเอียดก็เดิม ๆ ครับ 555555555

No position/order

No position/order
รูปที่ 8 แสดงหน้าต่างของบล็อก No position/order

 

No pending order

บล็อกนี้ “ถ้าไม่มีไม้เพนดิ้งออเดอร์ เราจะทำอะไรต่อ” และเราก็จะสังเกตได้นะครับว่า เค้ามีฟังก์ชั่นเสริม Limits and Stops มาให้เราด้วยนะครับ

โดยจะเป็นฟังก์ชั่นให้เราเลือกกรองนะครับ ไม่ว่าจะเป็น ไม้ที่เป็นตระกูล Limit อย่างเดียว หรือ Stop อย่างเดียว หรือทั้งคู่ไปเลยคร้าบ 555

No pending order
รูปที่ 9 แสดงหน้าต่างของบล็อก No pending order

 

“ไม้เทรดมีถึงจำนวนไม้ที่เรากำหนดแล้ว เราจะให้เขาทำอะไรต่อ”

 

กลุ่มที่เช็คว่ามีกี่ไม้

Check positions count

Check positions count
รูปที่ 10 แสดงหน้าต่างของบล็อก Check positions count

 

Check pending orders count

ไม้เพนดิ้งออเดอร์มีถึงจำนวนไม้ที่เรากำหนดแล้ว เราจะให้เขาทำอะไรต่อ… โดยเราจะสังเกตได้นะครับ ว่าบล็อกนี้เค้ามีให้เราเลือกด้วยครับ ว่าเราจะเลือกเป็นไม้เพนดิ้งแบบ Stop หรือ Limit ครับ ซึ่งตรงนี้เราก็สามารถเลือกได้ตามใจชอบเลยครับผม

Check pending orders count
รูปที่ 11 แสดงหน้าต่างของบล็อก Check pending orders count

 

กลุ่มที่เช็คว่าตอนนี้ไม่มีไม้ในระยะห่างเท่าไหร่

ค่าพารามิเตอร์เฉพาะของกลุ่มที่ 4

Time Filters

หรือพูดง่าย ๆ ก็คือเอาไว้กรองว่าในระยะเวลานี้ ราคาอ้างอิงในปัจจุบันห่างกับไม้เทรดเกินกี่ Pips ๆ หรือยังนั่นเองครับโพ้มม โดยจะใช้ช่วงเวลา 2 ช่วงในการกำหนดระยะของช่วงเวลาครับ Time 1 หมายถึงเวลาเริ่มต้นที่เราต้องการกรอง Time 2 จึงหมายถึงเวลาสิ้นที่เราต้องการกรองนั่นเองครับ!

โดยเราก็เลือกเวลาได้หลายแบบเลยครับ ไม่ว่าจะเป็น

  1. Time Mode

เอาไว้ตั้งค่าเวลาในการกรองครับ

  • Now: เวลาในปัจจุบัน
  • Time Stamp: เวลาใน format ของ Time Stamp เช่น 22.8.2023 18:55 (วันที่ 22 เดือน 8 ปี 2023 เวลา 18:55 นั่นเองครับ)
  • Components: เวลาแบบส่วนประกอบมาร่วมร่างกัน เช่น 1 Day, 5 Hours, 15 Mins โดยถ้าค่าไหน
  • เป็นค่าว่าง ระบบจะถือว่าเป็นเวลาในปัจจุบันทันที เช่น Day ว่าง ก็จะเป็นวันนี้นั่นเองครับ
  • Candle Time: เวลาในรูปแบบของแท่งเทียน
  • Time Value: รูปแบบเวลาปกติสามัญชนครับ กรองปกติเลย เหมือนบล็อก Time Filter สีเขียวเลยครับ
  1. Shift In Time

หรือพูดง่าย ๆ ก็คือการเลื่อนเวลาว่าจะไปอดีตมากขึ้นหรืออนาคตมากขึ้นนั่นเองครับ

  • Shift Back: เลื่อนเวลาที่จะกรองไปในอดีตเพิ่มเติม เช่น 1 Day ก็คือเลื่อนเพิ่มไปอีก 1 วัน นั่นเองครับ
  • Shift Forward: เลื่อนเวลาที่จะกรองไปในอนาคตเพิ่มเติม เช่น 1 Day ก็คือเลื่อนเพิ่มไปอีก 1 วัน นั่นเองครับ

 

Range Setting

เอาไว้ตั้งค่าระยะห่าง กี่ Pips ๆ ตั้งว่าจะให้ห่างแบบไหน และหน่วยระยะห่างเนี่ยเป็น Pips หรือ Price Fraction ก็สามารถตั้งได้ตามใจฉันเลยครับ

  1. Range Mode

เอาไว้ตั้งค่าว่าหน่วยของระยะห่างเป็น Pips หรือ Price Fraction ครับ

  • Pips: ระยะห่างแบบเป็น Pips เช่น 10 Pips
  • Price Fraction: ระยะห่างแบบเป็น Price Fraction หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ เป็น Pips อยู่ในรูปแบบทศนิยมของ Symbol นั่นเองครับ เช่น ถ้าเราใช้ 12 Pips, Price Fraction เราจะเป็น 0.00120 นั่นเองนะคร้าบ (ในคู่เงิน EURUSD)
  1. Range of

เราจะใส่ระยะห่างเท่าไหร่ เช่น 10 Pips

  1. Range Position

เราเลือกได้ครับ ว่าเราต้องวัดระยะห่างในแต่ละไม้ในรูปแบบไหน โดยผมจะลงลึกให้เฉพาะตัว Around The Price นะครับ (แอดไปลองเทสมาแล้วครับ ตัวอื่นดูไม่เข้าท่าเท่าไหร่ครับ)

  • Around the price: ระยะจะถูกวัดทั้งสองข้าง

ซึ่งถ้าเราใช้ตัวนี้เราต้องนำระยะที่เราต้องการใส่ มาคูณ 2 ด้วย เช่น ผมต้องการระยะห่างในแต่ละไม้ 10 Pips ผมต้องเอา 10 Pips มาคูณ 2 ในบล็อก Formula หรือ Modify Variable เป็น 20 (10X2 = 20) แล้วเราก็เก็บ 20 ใส่ Variable ไปใช้งานต่อได้เลยครับ~

Grid fxdreema
รูปที่ 12 แสดงถึงการคำนวณระยะ Grid เพื่อทำไปใช้ร่วมกับ Around the price

 

No position nearby

“ถ้าราคาปัจจุบันห่างกับไม้เทรด กี่ Pips แล้วเราจะทำอะไรต่อ” แน่นอนครับ ว่าเราสามารถเลือกได้เลย ว่าเราจะเอาไม้ Buy หรือ Sell หรือควบม้าสองตัวเลยก็ยังได้ครับ (Either Buy or Sell)

No position nearby
รูปที่ 13 แสดงหน้าต่างของบล็อก No position nearby

 

ตัวอย่างการใช้งานบล็อก No Position Nearby แบบเปิดไม้ Buy ถัวลงเรื่อย ๆ

 

ปล. เป็นไฟล์ .MQL5 นะครับ ท่านใดใช้ MT4 สามารถสร้างโปรเจกต์แล้วทำตามได้เลยครับผม

No pending order nearby

“ถ้าราคาปัจจุบันห่างกับไม้เพนดิ้งออเดอร์ กี่ Pips แล้วเราจะทำอะไรต่อ”

No pending order nearby
รูปที่ 14 แสดงหน้าต่างของบล็อก No pending order nearby

สรุป Order Count & Check Trade fxdreema  

  • ถ้าเงื่อนไขเป็นจริง สัญญาณออกทางปุ่มส้มแดง ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จสัญญาณจะออกทางปุ่มเหลือง
  • No Position Nearby ใช้แบบ Around the price โดยเอาเราระยะที่เราต้องการไป x2 จะใช้งานง่ายกว่า

“แน่นอนครับ ลงมือทำ EA ได้ดีกว่าก็รวยก่อนครับ”

 

คลิกเพื่อกลับสู่สารบัญเพื่อเลือกเรียนบทอื่น ๆ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *