วิธีการใช้งานบล็อก Buy Sell และ Pending บน fxDreema

คลิกเพื่อกลับสู่สารบัญเพื่อเลือกเรียนบทอื่น ๆ

สรุปโดยย่อของ วิธีการใช้งานบล็อก Buy Sell

  • Price Offset เป็นบวกสำหรับ Pending Order หมายถึง จะเป็นเพนดิ้งแบบ Buy Stop หรือ Sell Stop
  • Price Offset เป็นลบสำหรับ Pending Order หมายถึง จะเป็นเพนดิ้งแบบ Buy Limit หรือ Sell Limit

หลายครั้งหลายครา การใช้งานเครื่องมีที่มีอยู่อย่าง fxDreema ได้คล่องและเข้าใจอย่างแท้จริงมีประโยชน์มหาศาลทีเดียวครับ ทั้งยังทำให้เราเขียน EA เสร็จได้ไว Bug น้อย

แถมยังมั่นใจในวิธีการสร้างของตัวเองอีกด้วย โดยเฉพาะ บล็อก Buy Sell หรือ Pending Order ที่เราใช้กันเป็นประจำ เพราะฉะนั้นบทความนี้เราจะมาไขกระจ่างเรื่องนี้กันครับ

รูปที่ 1 แสดงหน้าต่างของบล็อค Buy Now
รูปที่ 2 แสดงหน้าต่างของบล็อค Sell Now

โดย บล็อก Buy Now กับ Sell Now นั้นเราจะสังเกตได้ว่า มันมีช่องที่ไว้สำหรับใส่ค่าต่าง ๆ เหมือนกันเลยใช่ไหมล่ะครับ? แถมยังมีอีกหลายตัวอีกซะด้วย ฮ่า ๆ … เพราะฉะนั้นเรามาลงดีเทล (รายละเอียด) กันดีกว่าครับ ว่าแต่ละช่องใส่ Input มันทำงานยังไงกันแน่ – –

 

อธิบาย Input ของ Buy Now และ Sell Now โดยละเอียด

  • Group #
    • ใช้สำหรับกำหนดกลุ่มการทำงานของ EA เรา
  • Symbol
    • ใช้สำหรับใส่ชื่อสินค้าที่เราต้องการเทรด(ใส่ได้หลายคู่โดยใช้ , เป็นตัวเว้นครับ) โดยใช้ตัวแปรประเภท String ค่าว่าง นั่นหมายถึง EA จะเทรดคู่ หรือ Symbol ที่เราลาก EA ไปวางใส่นั่นเองครับ
  • Money Management
    • ใช้สำหรับเลือกวิธีการออกล็อต
  • How much?
    • จำนวนที่เราต้องการ
  • Volume Upper Limit
    • Max Lot หรือ ล็อตที่ออกได้สูงสุดของไม้เทรดนั้น ๆ ครับ (Max Lot โบรกเกอร์จะเป็นคนกำหนดอีกทีครับ ว่าเราออกล็อตได้สูงสุดได้เท่าไหร่)
  • Stop-Loss mode
    • ใช้สำหรับเลือกรูปแบบการ SL ที่เราต้องการ
  • Take-Profit mode
    • ใช้สำหรับเลือกรูปแบบการ TP ที่เราต้องการ
  • Expiration mode
    • ใช้สำหรับตั้งระยะเวลาการหมดเวลาของไม้เทรดครับ (โดยโบรกเกอร์จะไม่เห็นการตั้งเวลานี้ด้วยครับ)
  • Slippage
    • ใช้สำหรับตั้ง Max Slippage ที่ EA จะออกไม้ได้ครับ
  • Comment
    • ใช้สำหรับใส่คอมเม้นท์ ติดไว้กับไม้เทรดครับ
  • Arrow Color
    • สีของลูกศรเวลาออกไม้เทรดครับ
รูปที่ 3 แสดงหน้าต่างของ Buy Pending Order
รูปที่ 4 แสดงหน้าต่างของ Sell Pending Order

โดยเราจะสังเกตได้ว่ามีช่องใส่ Input เหมือนกับของ Buy Pending Order และ Sell Pending Order หลายอันเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นผมจะขออธิบายเฉพาะในสิ่งที่มีแค่ใน Pending Order นะครับ

  • Open at Price
    • ใช้สำหรับตั้งราคาที่เราต้องการวางไม้ Pending Order ครับ
  • Price Offset
    • ใช้สำหรับปรับจุดที่เราต้องการออกไม้ Pending Order ครับ โดยถ้าเป็นบวก ใน Buy Pending Order จะหมายความว่า Order Buy จะอยู่สูงขึ้นจากที่เราอ้างอิง ( Open at Price ) ครับ เช่น Open at Price = 1.23456, Price Offset = 10 Pips เราจะได้ราคาเปิดไม้ Buy ที่ 1.23466 นั่นเองครับ
    • สำหรับ Sell Pending Order จะหมายความว่า Order Sell จะอยู่ต่ำลงจากที่เราอ้างอิง ( Open at Price ) ครับ เช่น Open at Price = 1.23456, Price Offset = 10 Pips เราจะได้ราคาเปิดไม้ Sell ที่ 1.23446 นั่นเองครับ
    • และถ้า Price Offset เป็นลบ ก็จะตรงข้ามกันกับที่ผมอธิบายไปนั่นเองครับ
  • Create OCO Order
    • เป็นเหมือนกระจกสองด้านครับ ถ้าเรา Buy Pending Order ไว้ มันจะ Sell Pending Order ให้เราด้วย ในระยะที่เท่ากันเหมือนกับ Buy Pending Order ครับ และเมื่อเปิดออเดอร์ฝั่งใดฝั่งหนึ่งแล้วจะทำการลบ Pending ทันทีครับ

ความลับจักรวาล

สำหรับหลาย ๆ ท่านข้อมูลนี้อาจเป็นประโยชน์อย่างมาก และเราอาจมองข้ามมันไปครับ โดยเฉพาะท่านที่ออกแบบ EA เทรด Scalping
นั่นก็คือ!! เมื่อเรา Buy เราจะได้ราคา Ask และเมื่อเรา Sell เราจะได้ราคา Bid นั่นเองครับ แล้วมันมีประโยชน์ยังไงใช่ไหมครับ?

มีประโยชน์ในการควบคุมค่าสเปรดนั่นเองครับ เพราะ Buy ที่ราคา Ask มันจะคิดสเปรดทันทีเลย แต่ Sell เราจะได้ราคา Bid ซึ่งมันคิดค่าสเปรดตอนปิดไม้ครับ ทำให้เทรดแต่ไม้ Buy จะมีข้อได้เปรียบตรงนี้เพิ่มขึ้นมานั่นเองครับ

 

รู้แล้วงุบงิบไว้นะครับ ความลับจักรวาลผมบอกแค่คุณครับ ฮ่า ๆ

 

สรุป วิธีการใช้งานบล็อก Buy Sell 

การเข้าใจเครื่องมือที่ใช้เป็นสิ่งที่สำคัญในการเติบโตและพัฒนามากครับ เพราะรู้จักคนอื่นไม่เท่าไหร่ แต่เรารู้จักตัวเอง และรู้จักเครื่องมือที่ตัวเองใช้สำคัญกว่าและมีประโยชน์มากกว่าครับ

  • Price offset เป็นบวก = Pending Buy สูงขึ้นจากราคาอ้างอิง และ Pending Sell จะอยู่ต่ำลงจากราคาอ้างอิง
  • Price offset เป็นลบ = Pending Buy ต่ำลงจากราคาอ้างอิง และ Pending Sell จะอยู่สูงขึ้นจากราคาอ้างอิง

หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ Price Offset เป็นตัวปรับจูนราคาที่เราต้องการ Pending Order นั่นเองครับ

 

ทีมงาน eaforexcenter

คลิกเพื่อกลับสู่สารบัญเพื่อเลือกเรียนบทอื่น ๆ

1 thoughts on “วิธีการใช้งานบล็อก Buy Sell และ Pending บน fxDreema

  1. Pingback: วิธีการใช้งานบล็อก Pending order in grids บน Fxdreema (2) - EaForexCenter

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *