วิธีการแจ้ง เคลมเงิน Slippage (ฉบับสมบูรณ์)

วิธีการแจ้ง เคลมเงิน Slippage (ฉบับสมบูรณ์)

Slippage ปัญหาที่สร้างความหนักใจใหญ่ ๆ ให้กับเทรดเดอร์หลายท่าน โดยเฉพาะเมื่อคำสั่งซื้อขายที่เราตั้งใจไว้ถูกดำเนินการในราคาที่แตกต่างจากที่คาดหวัง ไม่ว่าจะเป็นการซื้อที่ราคาสูงเกินไป หรือการขายที่ราคาต่ำเกินควร T^T สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่กระทบต่อกำไรของเรา แต่ยังอาจทำให้พอร์ตการลงทุนสั่นคลอนได้ (ถึงจะ เคลมเงิน Slippage ได้แต่ก็เสียดายสถิติที่บันทึกไว้ใน myfxbook)

แต่รู้หรือไม่ครับว่า? เราสามารถ เคลมเงินที่เสียไปจาก Slippage ได้ หากมีวิธีการจัดการและหลักฐานที่ครบถ้วน บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักขั้นตอนง่าย ๆ ในการแจ้งเคลมเงินกับโบรกเกอร์ Axi

หากเพื่อน ๆ สงสัยว่า “เงินที่เสียไปเพราะ Slippage จะเรียกคืนได้ไหม?” บทความนี้มีคำตอบครบทุกข้อ เราพร้อมพาเพื่อน ๆ ไปเริ่มต้นกระบวนการเคลมเงินแบบมืออาชีพครับ


ความหมายของ Slippage

รูปที่ 1 ความหมายของ Slippage โดยย่อ
รูปที่ 1 ความหมายของ Slippage โดยย่อ
  • Slippage คือความแตกต่างระหว่างราคาที่ตั้งคำสั่งซื้อขายกับราคาที่ได้รับจริง
  • เกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพคล่องต่ำ หรือสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
  • ส่งผลให้ขาดทุนหรือลดประสิทธิภาพในการเทรด

ประเภทของ Slippage

  1. No Slippage (ไม่มีการเกิด Slippage):
    • ราคาคำสั่งซื้อขายตรงกับราคาที่ตั้งไว้
    • เช่น ซื้อ EUR/USD ที่ราคา 1.3250 และได้รับราคานั้นพอดี
  2. Positive Slippage (Slippage แบบบวก):
    • ราคาที่ได้รับดีกว่าที่คาดหวัง
    • เช่น ซื้อ EUR/USD ที่ราคา 1.3250 แต่ได้ราคาที่ต่ำกว่า 1.3240
  3. Negative Slippage (Slippage แบบลบ):
    • ราคาที่ได้รับแย่กว่าที่คาดหวัง
    • เช่น ซื้อ EUR/USD ที่ราคา 1.3250 แต่ได้ราคาที่สูงกว่า 1.3260

หมายเหตุ: โบรกเกอร์ไหนเจอ Slippage บ่อย และ และตัวอย่างประเภทของ Slippage อธิบายแบบจัดเต็มสามารกดดูได้ที่นี่


รูปที่ 2 ปัจจัยที่ทำให้เกิด Slippage โดยย่อ
รูปที่ 2 ปัจจัยที่ทำให้เกิด Slippage โดยย่อ

ปัจจัยที่ทำให้เกิด Slippage

  • ความล่าช้าในการตั้งคำสั่งซื้อขาย: ราคามีการเปลี่ยนแปลงระหว่างการตั้งคำสั่ง
  • ความผันผวนของตลาด: ราคาเปลี่ยนอย่างรวดเร็วจากข่าว หรือ เหตุการณ์สำคัญ หรือ ช่วงเวาลที่ตลาดเปิดใหม่ ๆ (เช้ามืดเวลาไทย)
  • สภาพคล่องต่ำ (LP เล็ก): คู่เงินหรือสินทรัพย์ที่มีผู้ซื้อขายน้อยทำให้ Spread สูงขึ้น
  • Lot size: ปริมาณคำสั่งที่มากเกินไปอาจส่งผลให้ตลาดไม่รองรับ
  • ความเร็ว Internet ช้า: คำสั่งซื้อขายล่าช้าจากค่า Ping ที่สูงที่เกิดจาก internet
  • Server ไกลจาก Broker: การที่ Server จากตัวที่เราติดตั้ง Terminal (mt4, mt5) อยู่ห่างจาก Server ของ Broker มากเท่าไหร่ ความเร็วในการส่งคำสั่งจะช้ามากขึ้นเท่านั้น ซึ่งเราสามารถวัดได้จากค่า Latency (ไม่ควรเกิน 60-70 ms สำหรับ EA ประเภท Scalping)
  • โบรกเกอร์ไม่น่าเชื่อถือ: อาจเกิด Slippage ที่ผิดปกติหรือบ่อยครั้งกว่าที่ควร

วิธีป้องกัน Slippage

  • เลือกเทรดสินทรัพย์ที่มี สภาพคล่องสูง เช่น EUR/USD
  • ใช้อินเทอร์เน็ตที่มี ค่า Ping ต่ำ และเสถียร
  • ใช้ VPS ที่อยู่ใกล้ Server Broker (แนะนำ VPS mt4cloud)
  • ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของ โบรกเกอร์ ที่ใช้งาน เพื่อให้แน่ใจว่าเขาเชื่อมต่อกับ LP ใหญ่จริง ๆ
  • ออก Lot size คำสั่งซื้อขายให้เหมาะสมกับสภาพตลาด

รูปที่ 3 กรณีศึกษา Slippage ที่เกิดขึ้นจริงจาก Wisdom EA บนแพลตฟอร์มของ Axi Select
รูปที่ 3 กรณีศึกษา Slippage ที่เกิดขึ้นจริงจาก Wisdom EA บนแพลตฟอร์มของ Axi Select

กรณีศึกษา

ณ วันที่ 6 ธันวาคม 2567 เราได้ใช้ Wisdom EA ในการเทรดในคู่เงิน EUR/CHF ซึ่งเป็นคู่เงินที่ไม่ได้มีสภาพคล่องต่ำมากเท่าไหร่เนื่องจาก EUR ก็เป็นประเทศที่ใหญ่และมีการแทรกแทรงรงสภาพเศรษฐกิจได้น้อย แต่ก็ยังสามารถเกิดการ Slippage ได้

และถึงแม้ว่าเราจะได้ทำการเก็บสถิติมีแล้วว่า Axi มีโอกาสเกิด Slippage น้อยมาก คือ โอกาสมีเพียง 0.1% เท่านั้น (คลิ๊กเพื่อดูการทดสอบ) ซึ่งเกณฑ์ในการบ่งชี้จะมีดังนี้ครับ

  • ต่ำกว่า 1% บ่งชี้ว่า มีการ Slippage ที่ต่ำมาก
  • 1% – 0.5% บ่งชี้ว่า มีการ Slippage ในระดับปานกลางซึ่งถือว่ายอมรับได้ แต่จะเริ่มมีผลต่อการเทรดด้วยกลยุทธ์ที่ซื้อขายระยะสั้น เช่น Scalping เป็นต้น
  • 5% – 1.0% บ่งชี้ว่า มีการ Slippage ในระดับสูง หากเทรดด้วย Lot ใหญ่มีโอกาสเสียหายเยอะมากครับ
  • มากกว่า 0% บ่งชี้ว่า มีการ Slippage ในระดับที่สูงมาก ๆ และอาจจะมีผลกระทบต่อการเทรดสุด ๆ

อย่างไรก็ตาม การทดสอบดังกล่าวเราทำบน XAU/USD และ EUR/USD ซึ่งถือว่าเป็นคู่เงินและทสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงมาก

สถานการณ์จริง: เราเปิดคำสั่ง Sell คู่เงิน EUR/CHF ขนาด 0.37 Lot

  • ราคาที่ตั้งใจ Sell: 93043
  • ราคาที่ถูกดำเนินการ: 0.92972
  • เกิด Slippage จำนวน 7.1 pips ซึ่งส่งผลให้คุณขาดทุนมากกว่า 10 USD ต่อ 1 Order

รูปที่ 4 วิธีแจ้งเคลมเงินเมื่อเกิด Slippage ฉบับง่ายๆ
รูปที่ 4 วิธีแจ้งเคลมเงินเมื่อเกิด Slippage ฉบับง่ายๆ

วิธีแจ้งเคลมเงินเมื่อเกิด Slippage

  1. Download แบบฟอร์มจากทางเราจาก Link นี้ (ภาษาไทย / English)
  2. รวบรวมหลักฐานต่าง ๆ (ที่ระบุรายละเอียดในแบบฟอร์ม)
  3. กรอกแบบฟอร์มและแนบหลักฐานให้เรียบร้อย
  4. ส่งไปยัง email ของ Support โบรกเกอร์ (service@axi.com สำหรับ Axi)

สรุป

Slippage คือปัญหาที่เกิดจากคำสั่งซื้อขายที่ดำเนินการในราคาที่แตกต่างจากที่ตั้งใจไว้ ส่งผลกระทบต่อกำไรและพอร์ตการลงทุนของนักเทรดทุกคน แม้จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถ เคลมเงิน Slippage ได้ ด้วยการดาวน์โหลดแบบฟอร์มแจ้งเคลม รวบรวมหลักฐาน และส่งให้โบรกเกอร์ เช่น Axi นอกจากนี้ การเลือกสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง ใช้อินเทอร์เน็ตเสถียร และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของโบรกเกอร์ จะช่วยลดโอกาสเกิดปัญหา Slippage ได้ เทรดเดอร์ควรเตรียมตัวให้พร้อม เพื่อจัดการ Slippage อย่างมืออาชีพและเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนในระยะยาว

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *