Cryptocurrency ผิดกฎหมาย หรือ ไม่ ?

Cryptocurrency ผิดกฎหมาย หรือ ไม่ ?

ท่ามกลางการเติบโตของ Cryptocurrency ที่ส่วนทางกับเศรษฐกิจโลก ทำให้มีบัญชีผู้ใช้งานสกุลเงินดิจิทัลทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงประเทศไทยด้วย แต่ก็มีข้อสงสัยตามมาเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบันว่า Cryptocurrency ผิดกฎหมาย หรือไม่?  ในบทความนี้ Eaforexcenter จะมาเล่าให้ฟัง

“อย่ารังเกียจความพ่ายแพ้ เพราะมันอาจเป็นกุญแจแห่งชัยชนะ”

ก่อนการมีกฎหมายรองรับ

Cryptocurrency และ Defi เป็นการเงินไร้ศูนย์กลางรูปแบบใหม่ที่พึ่งเกิดมาบนโลกเมื่อไม่กี่สิบมานี้ แต่เริ่มเป็นที่รู้จัก และเริ่มมีการใช้งานที่แพร่หลายเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง ดังนั้นก่อนหน้านี้จึงไม่มีกฎหมายใด ๆ เข้ามาควบคุมขอบเขตการใช้งานเลย เพราะฉะนั้นหากถามว่าผิดกฎหมายหรือไม่? ตามเทคนิคแล้ว ไม่ผิดกฎหมาย ในทางตรง เพราะไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับเรื่อง Cryptocurrency โดยเฉพาะ

แต่ก็อาจจะเรียกได้ว่าผิดกฎหมายทางอ้อม เพราะในประเทศไทยมีกฎหมายที่ระบุเกี่ยวกับเงินตราที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

“ต้องเป็นธนบัตร หรือเหรียญกษาปณ์ มีหน่วยเป็น บาท เท่านั้น”

นอกเหนือจากนี้จะไม่สามารถชำระหนี้หรือทำธุรกรรมตามกฎหมายได้ และ

“ห้ามมิให้มีการใช้วัตถุหรือเครื่องหมายใด ๆ แทนเงินตรา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี”

พูดง่าย ๆ คือ ตอนนั้นไม่รู้หรอกว่า Cryptocurrency คืออะไร แต่ตราบใดที่มันยังไม่ได้เรียกว่าเงินบาท ก็เอามาใช้จ่ายภายในระบบการเงินในประเทศไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้บังคับว่าการส่งเงินดิจิทัลให้เพื่อน หรือร้านค้าที่รองรับนั้นเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย

หลังการมีกฎหมายรองรับ

หลังจากนั้นได้มีการออกกฎหมายฉบับใหม่ที่ชื่อว่า พระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ที่เกี่ยวข้องกับ Cryptocurrency โดยตรง ที่จะมีการพูดถึง คำนิยาม ข้อกำหนด รวมไปถึงบทลงโทษต่าง ๆ ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 และยังออกประกาศยิบย่อยตามมาอีกประมาณ 11 ฉบับในช่วงแรก และใช้ควบคู่กับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กฎหมาย

ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และ กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

รูปที่ 1 พรก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล มีผลบังคับใช้เมื่อ 14 พฤษภาคม 2561 เป็นกฎหมายเกี่ยวกับ Cryptocurrency โดยเฉพาะ
รูปที่ 1 พรก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล มีผลบังคับใช้เมื่อ 14 พฤษภาคม 2561 เป็นกฎหมายเกี่ยวกับ Cryptocurrency โดยเฉพาะ

คำนิยามต่าง ๆ ที่ปรากฏในกฎหมาย

เมื่อเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมายแล้ว ก็ต้องมีการนิยามคำศัพท์ต่าง ๆ ซึ่งบางคำอาจจะฟังแล้วเข้าใจยากเล็กน้อย เพื่อเป็นการอธิบายโดยคร่าวให้เข้าใจว่าคืออะไร เราขอยกตัวอย่างบางคำนิยามที่พบบ่อยในตัวกฎหมายมาสั้น ๆ ว่าในกฎหมายเขียนไว้ว่าอย่างไรบ้าง

คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency)

ความหมาย คือ “เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้า บริการ หรือสิทธิอื่นใด หรือแลกเปลี่ยนระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัล “ หรือก็คือ เงิน หรือ ตัวกลาง ที่เอาไว้ใช้ซื้อขายสินทรัพย์

โทเคนดิจิทัล (Token Digital)

หมายถึง “หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์โดยมีจุดประสงค์เพื่อ

  1. กำหนดสิทธิของบุคคลในการเข้าร่วมลงทุนในโครงการหรือกิจการใด ๆ
  2. กำหนดสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการหรือสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจง  ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อตกลงระหว่างผู้ออกและผู้ถือ”

ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล

หมายถึง การประกอบธุรกิจตามประเภทดังต่อไปนี้

  1.  ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือก็คือ Decentralized Exchange
  2.  นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือก็คือ Broker
  3.  ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล หรือก็คือ Dealer
  4. อื่นๆ นอกจากสามข้อด้านบนต้องไปคุยกับทาง ก.ล.ต. ก่อน

● ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล

หมายถึง บุคคลหรือองค์กรในธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล

ข้อกำหนด

นอกจากนี้ยังระบุเกี่ยวกับขอบเขตการใช้งานที่สามารถทำได้ของ Cryptocurrency ไว้ด้วย เป็นส่วนที่เราอยากรู้ว่า Cryptocurrency นั้นถูกกฎหมายหรือไม่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วในกฎหมายได้ให้อำนาจแก่​คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นผู้ควบคุมและดูและโดยตรง โดยเราขอสรุปเป็นหัวข้อสั้น ๆ ดังนี้

  1. ไม่สนับสนุนให้มีการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ซื้อสินค้าและบริการต่างๆ แต่ใช้เฉพาะในเชิงการลงทุนเท่านั้น
  2. ห้ามให้องค์กรทำการเชิญชวน หรือโฆษณาให้คนทั่วไปใช้สินทรัพย์ดิจิทัลในการซื้อขายสินค้าและบริการ และห้ามประกาศตัวเองว่าเป็นตัวกลางในการซื้อขายสินค้าและบริการ
  3. หากองค์กรพบว่ามีผู้ใช้งานเปิดบัญชีนอกเหนือจากการลงทุน แต่เพื่อการซื้อขายสินค้าและบริการ ให้ทางองค์กรตักเตือน หากพบอีกให้ทำการระงับบัญชีทันที

จากที่ดูแล้วทางกฎหมายจะเน้นที่ไปองค์กรต่าง ๆ ที่เป็น Dex, Broker, Dealer โดยมี ก.ล.ต ควบคุมอยู่อีกที ไม่ได้เจาะจงไปที่ตัวบุคคลที่เป็นผู้ใช้งานทั่วไป และเน้นเรื่องการใช้เฉพาะการลงทุนเท่านั้น ไม่ให้ใช้ในการซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างบุคคลและร้านค้า

เพราะฉะนั้น การซื้อเหรียญผ่านองค์กรต่าง ๆ ที่ลงทะเบียนกับ ก.ล.ต. แล้วถือว่า ไม่ผิดกฎหมาย ส่วนการซื้อเหรียญผ่านองค์กรต่างประเทศไม่ได้ถือว่าไม่ผิดกฎหมาย แต่จะไม่ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายไทยหากเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นมา

มุมมองประเทศอื่น ๆ ที่มีต่อ Cryptocurrency

แน่นอนว่าประเทศอื่นๆเองก็เผชิญสถานเดียวการเดียวกัน แต่มุมมองและการปรับตัวไม่เหมือนกัน ซึ่งเราได้แบ่งกลุ่มประเทศต่าง ๆ ออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนั้น

รูปที่ 2 ประเทศที่มีกฎหมายควบคุมการซื้อขายและครอบครอง Ctypocurrency สี
รูปที่ 2 ประเทศที่มีกฎหมายควบคุมการซื้อขายและครอบครอง Ctypocurrency สีเขียว ถูกกฏหมาย สีเหลือง มีการควบคุมเข้มงวด สีแดง ผิดกฏหมาย

1.กลุ่มประเทศที่สนับสนุน

ประเทศที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ เอลซัลวาดอร์ สหรัฐอเมริกา(บางรัฐ) สิงคโปร์ สวิตเซอร์แลนด์ และประเทศอื่นอีกประมาณ 10 ประเทศ ซึ่งรัฐบาลของประเทศเหล่านี้ได้มีนโยบายที่ช่วยสนับสนุนหลายอย่าง เช่น ออกกฎหมายอนุญาตให้กองทุนทั่วไปมีการทดสอบแนวคิดด้าน Blockchain และ Cryptocurrency ได้อย่างไม่มีข้อบังคับ หรือ บางรัฐในสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้ใช้ Cryptocurrency ในการซื้อขายสินค้าและบริการได้เลย

อย่างที่เห็นได้ชัดในประเทศ เอลซัลวาดอร์ ที่ผู้นำประเทศเป็นผู้ผลักดันให้เกิดการใช้ Bitcon ภายในประเทศอย่างเป็นทางการเป็นประเทศแรกของโลก ถือเป็นอีกก้าวหนึ่งที่ยิ่งใหญ่สำหรับ Cryptocurrency

2.กลุ่มประเทศที่แบน

ประเทศที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ จีน อิรัก อียิป กาตาร์ และประเทศอื่น ๆ รวมแล้วทั้งหมด 9 ประเทศ โดยแต่ละประเทศก็จะมีเหตุผลที่หลากหลาย แต่คล้าย ๆ กัน  เช่น รัฐบาลไม่สามารถควบคุมการเข้าออกของเงิน ที่อาจจะนำไปสู่การฟอกเงิน และการซื้อขายสิ่งผิดกฎหมายได้ หรือ ความผันผวนของราคาที่อาจจะส่งผลเสียต่อประชาชนมากกว่า หรือ แบนเรื่องการทำเหมือง แบนการขุดเหรียญด้วยปัจจัยเรื่องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

ตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือประเทศจีน ที่มีการแบนการทำเหมืองขุดเหรียญ รวมไปถึงแบนการใช้งาน Bitcoin แต่ก็ได้มีการผลิต ดิจิทัลหยวน ซึ่งก็คือสกุลเงินหยวนที่เป็นกระดาษที่อยู่ในรูปแบบเงินดิจิทัล สามารถใช้ซื้อขายสินค้าและบริการได้เหมือนเงินกระดาษทุกประการ ถือเป็นทางออกที่ดีให้กับรัฐบาลที่ทำให้ยังสามารถควบคุมเงินได้อยู่

Tips ; นอกจาก 9 ประเทศที่ได้บอกไว้แล้ว เมื่อปลายปี 2021 ที่ผ่านมาได้มีประเทศอีก 42 ประเทศที่ถึงจะไม่ได้มีกฎหมายออกมาแน่ชัด แต่ก็เป็นที่เข้าใจกันว่ารัฐบาลไม่ได้สนับสนุน Cryptocurrency

สรุป

ในประเทศไทยการซื้อขาย Cryptocurrency ผ่านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล(Dex) ที่ลงทะเบียนกับ ก.ล.ต. ถือว่าไม่ผิดกฎหมาย แต่ห้ามใช้เพื่อซื้อขายสินค้าและบริการต่าง ๆ  รวมไปถึงห้ามเปิดรับชำระด้วย Cryptocurrency

แต่ทั้งนี้ ในแต่ละประเทศก็มีนโยบายที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศนั้น ๆ ว่ามีความเหมาะสมที่จะนำ Cryptocurrency มาปรับใช้ได้มากแค่ไหน และคิดว่ารัฐบาลคงมองถึงผลประโยชน์ของประชาชน และความมั่นคงของประเทศเป็นหลัก

อ้างอิง

https://so04.tci-thaijo.org/index.php/botbundit/article/view/260402

https://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/LawsAndRegulations/DocLib_ThaiLaw/Law_T15_Currency.pdf

http://web.krisdika.go.th/lawHeadContent.jsp?fromPage=lawHeadContent&formatFile=htm&hID=0

https://www.sec.or.th/TH/Pages/News_Detail.aspx?SECID=9353

https://medium.com/@sathapon/thai-cryptocurrency-and-ico-law-for-non-lawyer

https://complyadvantage.com/insights/cryptocurrency-regulations-around-world/

https://currency.com/th/prathes-thi-khripto-thuk-kdhmay

https://money.com/cryptocurrency-legal-status-by-country

2 thoughts on “Cryptocurrency ผิดกฎหมาย หรือ ไม่ ?

  1. Pingback: Cryptocurrency กับ ภาษี คริปโต 2566 - EaForexCenter

  2. Pingback: 4 ตัวตึง กระดานเทรดคริปโตในไทย ที่มีใบอนุญาตจาก กลต. ปี 2565 - EaForexCenter

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *