รวมคำศัพท์ Defi ที่ต้องรู้ ถ้าอยากคุยกับคนอื่นรู้เรื่อง

รวมคำศัพท์ Defi ที่ต้องรู้ ถ้าอยากคุยกับคนอื่นรู้เรื่อง

แฟชั่น ศิลปะ อาหาร กีฬา ขนส่ง ทุกแขนงและทุกวงการจะมีภาษาและศัพท์เฉพาะเป็นของตัวเอง ในวงการลงทุนก็เช่นกัน เราอาจเคยได้ยินเพื่อนหรือคนรอบข้างพูดคุยกันด้วยภาษาแปลกๆ ดูสนุกสนาน แต่คุณไม่รู้เรื่องเลย เราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าในใจภาษาที่วงการนั้นใช้อยู่ เพราะศัพท์แต่ละคำจะใช้อธิบายบางสิ่ง หรือ เหตุการณ์บางอย่าง

ดังนั้นในบทความนี้เราก็แบ่งปันชุด รวมคำศัพท์ Defi ให้ได้รับชมกันเมื่ออ่านจบแล้ว คุณจะคุยกับเพื่อนได้สนุกขึ้น และไม่ “ตกรถ” แน่นอน! จะมีศัพท์อะไรกันบ้างนั้น ไปตามอ่านพร้อมกันได้เลย


รวมคำศัพท์ที่ใช้ในวงการ Defi

หมวดอักษรตัว A

Airdrop

คือการที่เจ้าของโปรเจกต์แจกเหรียญไปยัง Wallet ของผู้ใช้งานโดยตรง เป็นรางวัลให้กับผู้ใช้งานที่ทำตามเงื่อนไขต่างๆที่กำหนดไว้ เพื่อเป็นการจูงใจให้คนเข้ามาใช้งานแพลตฟอร์มของตน ซึ่ง Airdrop ที่ได้มานั้นสามารถเอาไปขายต่อในตลาดได้ เป็นดีล WIN-WIN ทั้งสองฝ่าย

เงื่อนไขการจะได้ Airdrop นั้นก็มีหลากหลายแบบ เช่น ชวนเพื่อนมาเทรด ฝากเงินใน Liquidity Pool คู่เหรียญต่างๆ หรือ กรอกข้อมูลและกดติดตามช่องทางโซเชียลต่างๆ ซึ่งก็มีคนบางกลุ่มที่เรียกว่าเป็น “นักล่า Airdrop” โดยเฉพาะอยู่ เพราะเพียงแค่ทำตามเงื่อนไข ไม่จะเป็นต้องใช้ทุนเยอะ แต่บางครั้งก็ต้องอาศัยดวงด้วย

APR (Annual Percentage Rate)

ผลตอบแทนที่จะได้รับ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อปีแบบ “ดอกเบี้ยไม่ทบต้น”

ตัวอย่างเช่น คุณฝากเงินใน Yeald Farming 100usdt ที่APR 15% ผ่านไป 1ปี คุณจะได้ดอกเบี้ยกำไร 15usdt ปีต่อๆไปก็จะได้กำไรดอกเบี้ยที่ 15usdt เท่ากันต่อเนื่องทุกปี เพราะไม่ได้นำกำไรมา reinvest เพิ่ม

APY(Annual Percentage Yield)

ผลตอบแทนที่จะได้รับ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อปีแบบ “ดอกเบี้ยทบต้น”

ตัวอย่างเช่น คุณฝากเงินใน Yeald Farming 100usdt ที่APR 15% ผ่านไป 1ปี คุณจะได้ดอกเบี้ยกำไร 15usdt ปีต่อๆไปก็จะได้กำไรดอกเบี้ยที่ 15usdt แต่ปีที่2 เรานำกำไรนั้นมา reinvest ทบต้นเป็น 115usdt คำนวณด้วย APY 15% เหมือนเดิม แต่ปีที่2 เราจะได้กำไรเป็น 17.25usdt นำกำไรไปทบต้นเป็น 132.25บาท ไปเรื่อยๆ สิ่งสำคัญคือความถี่ในการทบต้น ยิ่งทบต้นบ่อย ส่วนต่างของผลตอบแทนก็จะมากขึ้นตาม

รูปที่ 1 คำอธิบาย : ข้อแตกต่างระหว่าง APR และ APY และสูตรการคำนวณค่า)
รูปที่ 1 คำอธิบาย : ข้อแตกต่างระหว่าง APR และ APY และสูตรการคำนวณค่า)

AMM (Automated Market Maker)

แปลสวยๆว่า “ผู้ดูแลสภาพคล่องอัตโนมัติ” เป็นโปรโพรโทคอลไร้ตัวกลางที่ทำงานอยู่ใน Defi คอยทำหน้าที่จับคู่ราคาซื้อขายในตลาด เช่น ปัจจุบัน BTC ราคา 20,000$ แต่เราเปิดคำสั่งซื้อไว้ที่ 18,000$ เมื่อราคา BTC ลงมาแตะที่ 18,000$ AMMจะเริ่มทำงานโดยซื้อ BTC ตามคำสั่งของเราทันที ซึ่งในวงการหุ้นจะมี Market Maker อยู่แล้ว แต่จะเป็นคน หรือบอท

AMM ใน Yield Farming นั้นจะทำงานในลักษณะการรักษาสมดุลของมูลค่าคู่เหรียญที่ฝากไว้ใน Liquidity Pool ให้เท่ากันตลอดเวลา แต่การรักษาสมดุลมูลค่านี้ จะส่งผลให้เกิด Impermanent Loss ตามมา


หมวดอักษรตัว C

Chain

ใช้ต่อท้ายเครือข่ายที่อยู่บน Blockchain เช่น Bitcoin chain, Ethereum chain, Binance chain เช่น โปรเจกต์นี้อยู่ chain อะไร


หมวดอักษรตัว D

Dapp (Decentralize Application)

ลักษณะคล้ายๆแอปพลิเคชัน หรือโปรแกรมทั่วไปที่เราใช้กันบนมือถือหรือเว็บไซต์ แต่ Dapp จะทำงานอยู่บน Blockchain แบบ P2P ไม่มีเซิร์ฟเวอร์กลาง ที่ใครก็สามารถเข้าไปใช้งานได้  เช่น Dex, Yield farm, Loan & Borrow หรือพูดง่ายๆคือแพลตฟอร์มต่างๆที่อยู่ในโลก Defi ก็เรียกว่า Dapp นั่นเอง

Dex (Decentralized Exchange)

คือกระดานซื้อขายเหรียญ หรือแพลตฟอร์มที่เอาไว้แลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลที่ไร้ตัวกลาง เช่นหากต้องการแลก USDT เป็น BTC ก็สามารถแลกได้ที่ Dex ซึ่งมีหลายแพลตฟอร์มให้บริการ Dex ที่เป็นที่นิยมได้แก่ Uniswap, Pancakeswap, MDEX, Sushiswap, Curve


หมวดอักษรตัว F

FOMO (Fear Of Missing Out)

ภาวะการกลัวการตกรถ หรือ ตกกระแส เช่น เมื่อได้ข่าวที่คาดว่าน่าจะส่งผลให้ราคาขึ้น ก็รีบเข้าไปซื้อไว้ก่อน เมื่อมีคนซื้อเยอะ ราคาจึงขึ้น คนอื่นเลยซื้อตามกระแส เพราะกลัวว่ามันจะแพงกว่านี้ โดยการ FOMO นี้อาจจะเกิดจากการปั่นข่าว การทำการตลาดหนัก เพื่อให้คนเข้ามาซื้อมากที่สุดในเวลาอันสั้น

สังเกตได้จากการที่ราคากราฟจะพุ่งแรงและสูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น หากคุณเจอเหตุการณ์นี้ เราแนะนำว่าให้อยู่นิ่งๆและรอดูสถานการณ์ดีที่สุด หรือถ้าอยากเข้าไปเล่นด้วยให้ใช้เงินจำนวนเท่าที่คิดว่าจะเสียได้เข้าไปเล่น

FUD (Fear Uncertainty และ Doubt)

ภาวะ ความกลัว ความไม่แน่นอน และความสงสัย ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจในเหรียญที่ถืออยู่และเกิดการขาย จะตรงข้ามกับ FOMO ที่จะให้ซื้อ แต่ FUD จะให้ขายทิ้ง ซึ่งเกิดจากการปั่นข่าว ปล่อยข่าวเชิงลบ สร้างความไม่มั่นใจให้กับผู้ถือเหรียญนั้น

ทั้งนี้อาจจะเป็นเป้าหมายของคนบางกลุ่มเพื่อที่จะได้ซื้อของที่ถูกลง แล้วไปขายเมื่อราคากลับมาที่เดิมก็เป็นไปได้ ถือว่าเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นจริงใน Defi


หมวดอักษรตัว G

Gas Fee

ภาษาทั่วไปคือ ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม แต่ในวงการ Cryptocurrency เราจะเรียกว่า ค่าแก๊ส ซึ่งราคาไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ทำธุรกรรมในแต่ละช่วงเวลา ถูกบ้าง แพงบ้าง แต่โดยรวมแล้วถูกมาก นอกจากนี้เราสามารถ “อัดแก๊ส” เพื่อเร่งให้ธุรกรรมเราเสร็จเร็วขึ้นได้ เหมือนเป็นการจ่ายเงินเพิ่มเพื่อซื้อเวลา ซื้อความเร็ว ให้ธุรกรรมของเราไปก่อนธุรกรรมคนอื่นที่รออยู่ก่อน

Governance Token

เหรียญที่เจ้าของโปรเจกต์พัฒนาขึ้น เพื่อให้ผู้ถือสามารถมีส่วนร่วมกับโปรเจกต์ได้ เช่น การโหวตหรือการออกความเห็นต่างๆ รวมไปถึงสิทธิพิเศษอื่นๆ แต่ก็อาจจะมีเงื่อนไขเช่น ต้องถือให้มีมูลค่าขั้นต่ำตามที่กำหนด

การจะได้ Token หรือเหรียญของโปรเจกต์นั้น สามารถซื้อผ่านกระดานเทรด หรือแลกเปลี่ยนตาม Dex ต่างๆ หรือจะทำกิจกรรมรับ Airdrop ก็ได้หากยังมีแคมเปญ Airdop อยู่ หรือจะทำ Heald Farming เพื่อรับผลตอบแทนเป็น Token ของโปรเจกต์นั้นๆ


หมวดอักษรตัว H

HODL

เป็นการสะกดผิดมาจาก Hold ที่แปลว่าถือ หรือ รอก่อน แต่ก็ใช้คำกันมาเรื่อยๆ คือการที่ว่าไม่ว่าราคาจะขึ้นหรือลงไปแค่ไหน ให้เราถือเหรียญนั้นต่อไป


หมวดอักษรตัว I 

ICO (Initial Coin Offering)

คล้ายกับ IPO (Initial Public Offering) ในวงการหุ้น แต่ในวงการ Crpyotocurrency ใช้ ICO คือการการระดมทุนของโปรเจกต์ใหม่ โดยการออกเป็นเหรียญ หรือ Token มาขายให้คนที่สนใจ และเชื่อมั่นในโปรเจกต์ว่าจะสำเร็จในอนาคต ซึ่งราคาที่ทำมาปล่อยขายในรอบ ICO จะเป็นราคาที่ถูกกว่าก่อนที่จะเอาเหรียญ List ขึ้นไปในกระดานเทรด และอาจจะได้สิทธิพิเศษอื่นๆเช่น ได้รับส่วนแบ่งรายได้จากโปรเจกต์ หรืออื่นๆ ที่จะระบุไว้ใน Smart Contract

นักลงทุนบางกลุ่มก็ชอบที่จะลงทุนในรูปแบบการหาโปรเจกต์ใหม่ๆ แล้วซื้อ ICO เพราะมีโอกาสเติบโตสูง เก็บกำไรได้มาก ซึ่งอาจจะได้ผลตอบแทนหลายขั้น เช่น จากส่วนแบ่งรายได้ของโปรเจกต์ และจากการขายเหรียญ Token ในอนาคต

Impermanemt Loss

แปลตรงตัวคือ “การเสียมูลค่าแบบชั่วคราว” ส่วนใหญ่จะพบในการลงทุนประเภท yield Farming คือการที่เมื่อเรา Stake คู่เหรียญใน Liquidity Pool แล้วเหรียญฝั่งใดฝั่งหนึ่ง หรือทั้งคู่มีราคาที่สูงขึ้น หรือต่ำลงกว่า ณ เวลาที่เรา เริ่ม Stake ทำให้มีการ AMM และเกิดส่วนต่างของราคา ทำให้ขาดทุน หรือถ้ากำไรก็ไม่กำไรเท่าที่ควร

และที่ชั่วคราวก็เพราะว่า หากราคาเหรียญทั้งสองฝั่งกลับมาอยู่ราคาเดิมกับตอนที่เริ่ม Stake การ Impermanent Loss ก็จะหายไป แต่ถือว่าเป็นเรื่องที่ยากมากๆ ถึงขั้นเป็นไปไม่ได้ Impermanent Loss แทบจะเกิดขึ้นทันทีที่เรา Stake แต่จะเป็นบวกหรือเป็นลบเท่านั้นเอง


หมวดอักษรตัว L

Lambo

ย่อมาจาก Lamborghini ที่เป็นรถ Super car ราคาแพง ผู้คนมักใช้คำนี้แทนการบอกว่าได้เงินมาเยอะมากๆ จนสามารถซื้อ Lamborghini ได้เลย เช่น ซื้อเหรียญนี้ไว้ Lambo ก็อยู่ไม่ไกลแล้ว!

Leverage

หากแปลตรงตัวคือ “การงัด” แต่ในการลงทุนเราจะแปลว่า “เครื่องทุ่นแรง” หรือ “ตัวช่วย” คือการใช้เงินจำนวนน้อย ไปลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่มากกว่า โดยการยืมเงินจากกระดานเทรด หรือแพลตฟอร์มไปลงทุน แต่ก็มีความเสี่ยงมากขึ้นตาม ยิ่งLeverageมาก ยิ่งเสี่ยงมาก มักเจอในการลงทุนประเภทเทรดแบบทั่วไป และการเทรดแบบ Future

Laverage เป็นดาบสองคม การมีความรู้ไม่พอ ไม่บริหารความเสี่ยงให้ดี และความโลภ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้หลายคนออกจากวงการลงทุนไป

Liquidity Pool

Liquidity Pool เป็นคำศัพท์ในการลงทุนประเภท yield Farming  จะอยู่ใน Dex เป็นตัวช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับแพลตฟอร์มนั้นๆ ด้วยการให้ผู้ใช้งานนำคู่เหรียญที่กำหนดใส่ไว้ใน Liquidity Pool ซึ่งปกติแล้ว 1Liquidity Pool จะประกอบไปด้วย 2สกุลเงิน เช่น ETH-USDT หรืออาจจะมากกว่า 2สกุลเงินก็ได้ ซึ่งคู่เหรียญที่เราใส่ลงไปนั้น คนอื่นก็สามารถเข้ามากู้ยืม หรือแลกเปลี่ยนไปทำอย่างอื่นต่อได้

Liquidity Pool ไหนที่มีปริมาณมูลค่าเหรียญเยอะ แปลว่ามีคนใช้งานเยอะ เมื่อมีการแลกเปลี่ยน จะเกิด Price Impact และ Slippage น้อย ทำให้เราได้ราคาเหรียญที่ใกล้เคียงกับตลาดมากที่สุด

Liquidity Provider

มักเจอคำนี้ในการลงทุนประเภท Yield Farming แปลว่า “ผู้ให้บริการสภาพคล่อง” คือผู้ที่นำสกุลเงินเหรียญต่างๆมาฝากไว้ใน Liquidity Pool ตามคู่เหรียญที่กำหนัดไว้  ของแพลตฟอร์ม Dex เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับแพลตฟอร์มนั้น และจะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยตามสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ที่แสดงอยู่ ซึ่งดอกเบี้ยนั้นจะอยู่ในรูปแบบของ LP Token หรือ Governance Token คล้ายกับดอกเบี้ยเงินฝาก

รูปที่ 2 คำอธิบาย : Liquidity Provider ฝากเหรียญใน Liquidity Pool แล้วจะได้รับผลตอบแทนเป็น LP Token หรือ Governance Token ของ Dex นั้น
รูปที่ 2 คำอธิบาย : Liquidity Provider ฝากเหรียญใน Liquidity Pool แล้วจะได้รับผลตอบแทนเป็น LP Token หรือ Governance Token ของ Dex นั้น

หมวดอักษรตัว P

POW (Proof of Work)

คือการใช้คอมพิวเตอร์แข่งขันกันในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เพื่อเป็นการยืนยันธุรกรรมการเพิ่ม block ใหม่ภายใน chain หรือที่เราเรียกกันว่า “การขุด” (Mining) นั่นเอง ใครที่แก๊สมาการได้เป็นคนแรก จะมีสิทธิ์ในการยืนยันธุรกรรมเพื่อเพิ่ม Block ใหม่ลงใน Chain และจะได้รับรางวัลเป็น “Block Reward”

POW เป็นแนวคิดโปรโทคอลที่มีมาก่อน Bitcoin เสียอีก แต่ Satoshi ได้นำมาประยุกต์ใช้ กับ  Bitcoin ได้เป็นอย่างดี โดยที่มันสามารถแก้ปัญหาเรื่องการโดนโกงแบบ “DDOS” (Distributed Denial Of Service attack) และเรื่องข้อบกพร่องของการ “Double Spending” ได้

POS (Proof of Stake)

เป็นอีกหนึ่งโพรโทคอลที่มีเป้าหมายเพื่อยืนยันธุรกรรมเหมือนกับ POW แต่แตกต่างกันที่วิธี POS ไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์แรงๆในการขุด และจะไม่มีการจ่าย Block Reward แต่เปิดโอกาสให้คนทั่วไปได้เข้ามาเป็นผู้ยืนยันธุรกรรมได้มากขึ้น โดยการถือเหรียญและนำไป Stake เพื่อกลายเป็นผู้ยืนยันธุรกรรม

และจะได้ผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมแทน Block Reward และ POS ยังช่วยลดทรัพยากรและพลังงานในการขุดลงได้มาก

รูปที่ 3 คำอธิบาย : ข้อแตกต่างระหว่าง Proof of Work ที่เป็นการขุดเหรียญ และ Proof of Stake ที่เป็นการวางเกินประกันเพื่อตรวจสอบธุรกรรม
รูปที่ 3 คำอธิบาย : ข้อแตกต่างระหว่าง Proof of Work ที่เป็นการขุดเหรียญ และ Proof of Stake ที่เป็นการวางเกินประกันเพื่อตรวจสอบธุรกรรม

Price Impact

คือ ความต่างของราคา ระหว่างราคาตลาด และราคาคาดการที่เราจะได้รับ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ มักเกิดขึ้นเมื่อเราทำการ Swap หรือแลกเหรียญต่างๆใน Dex ตัวอย่างเช่น เมื่อเราต้องการ Swap เหรียญจาก 100usdt ไปเป็นเหรียญ BNB (สมมุติให้ราคาตลาดอยู่ที่ 1BNB=100$) แต่มี Price Impact ที่ 0.5% แทนที่เราจะได้ 1BNBเต็ม แต่เราจะได้แค่ 0.95BNB หรือได้อยากได้ 1BNB เราต้องใช้ 100.5usdt นั่นเอง

Price Impact จะเกี่ยวข้องและแปรผันตรงข้ามกับปริมาณเหรียญที่มีอยู่ใน Liquidity Pool ของแพลตฟอร์มนั้น ถ้าใน Liquidity Pool  มีเหรียญมาก Price Impact จะต่ำ และถ้าใน Liquidity Pool  มีเหรียญน้อย Price Impact จะสูง Price Impact ยิ่งต่ำยิ่งดี

รูปที่ 4 คำอธิบาย :รูปภาพจาก Pancakewap แสดงถึง Price Impact ของคู่เหรียญ USDT-BTC)
รูปที่ 4 คำอธิบาย :รูปภาพจาก Pancakewap แสดงถึง Price Impact ของคู่เหรียญ USDT-BTC)

P2P (Peer to Peer)

คือ การที่คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆสามารถเชื่อมถึงกันได้โดยตรงผ่าน Internet ภายใต้ระบบเครือข่าย หรือ Chain ที่ใช้ร่วมกันอยู่ ซึ่งจะช่วยเรื่องความปลอดภัยในการเก็บข้อมูล มีประโยชน์ในการกระจาย และแชร์ข้อมูล ได้อย่างรวดเร็ว

P2P เป็นเหมือนขั้นแรกในการเข้าในการทำงานของ Bitcoin ในเรื่องของการกระจายศูนย์ เป็นหัวใจของ Cryptocurrency และ Defi ดังนั้นถ้าเราจะอยู่ในโลก Defi เราจำเป็นจะต้องเข้าใจในแนวคิด P2P ด้วย

Pump and Dump

คือพฤติกรรมของกราฟที่มีการวิ่งขึ้นและวิ่งลงอย่างรุนแรงในระยะเวลาสั้น อาจเกิดได้จากหลายปัจจัยเช่น การเทขายในปริมาณมหาศาลของวาฬ การเข้าซื้อในปริมาณมากของวาฬหรือบริษัทขนาดใหญ่ หรือข่าวต่างๆที่มีผลต่อราคา ไม่ว่าจะเป็นข่าวดีหรือข่าวร้าย ทำให้นักลงทุนเกิดการเข้าซื้อและเทขายเพื่อทำกำไรและซื้อเหรียญราคาถูก


หมวดอักษรตัว S

Seed Phrase

คือชุดรหัสที่จะมาพร้อมกับ Wallet ในตอนที่เราสมัคร ซึ่งจะมาในรูปแบบชุดคำศัพท์ภาษาอังกฤษ จำนวนตั้งแต่ 12คำ 24คำ และ36คำ แล้วแต่ระดับความปลอดภัย ยิ่งจำนวนคำศัพท์เยอะ ยิ่งปลอดภัย

มีความสำคัญมากๆเพราะเป็นเหมือนกุญแจของ wallet ของเรา หาก Seed Phrase ของเราหลุดไปอยู่กับใครก็ตาม คนนั้นสามารถเข้าถึงเงินและเหรียญทุกอย่างที่อยู่ใน wallet ของเราได้ การเก็บ Seed Phrase ให้ปลอดภัยจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก

รูปที่ 5 คำอธิบาย :รูปภาพจาก https://www.coincarp.com แสดงตัวอย่างของ Seed Phrase หรือชุดรหัสกุญแจของ wallet ซึ่งในกรณีนี้มี 12คำ
รูปที่ 5 คำอธิบาย :รูปภาพจาก https://www.coincarp.com แสดงตัวอย่างของ Seed Phrase หรือชุดรหัสกุญแจของ wallet ซึ่งในกรณีนี้มี 12คำ

Slippage

คือ อัตราความผันผวนของราคาตลาดหรือราคาที่แสดง กับราคาที่จะเกิดขึ้นจริง​ที่เราทำการเแลกเปลี่ยนสกุลเงิน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ จะมีความเกี่ยวข้องกับ Price Impact แต่จะแตกต่างกันตรงที่เราไม่สามารถควบคุม Price Impace แต่เราสามารถควบคุมและตั้งค่า Slippage ได้

ตัวอย่างเช่น เราต้องการแลกเหรียญ BNB เป็น ETH และได้ตั้งค่า Slippage ไว้ที่ 2% ถ้าในขณะนั้นมีความผันผวนของราคาสูง และเหรียญใน Liquidity Pool มีน้อย ทำให้ Price Impact สูงมากกว่า 2% ธุรกรรมนั้นจะถูกยกเลิกอัตโนมัติ ซึ่งเราสามารถเลือกได้ว่าจะรอให้มีความผันผวนน้อยกว่านี้ หรือจะตั้งค่า Slippage ให้มากขึ้น เพื่อทำการแลกเปลี่ยนต่อให้สำเร็จ

รูปที่ 6 คำอธิบาย :รูปภาพจาก Pancakewap แสดงถึง Slippage ของคู่เหรียญ USDT-BTC และการตั้งค่า
รูปที่ 6 คำอธิบาย :รูปภาพจาก Pancakewap แสดงถึง Slippage ของคู่เหรียญ USDT-BTC และการตั้งค่า

Stake / Staking

การ Stake มีความเกี่ยวข้องกับ POS เป็นการตรวจสอบธุรกรรมรูปแบบใหม่แทน “การขุด” หรือ POW ซึ่งเราจะเรียกการ Stake ว่า “การตรวจสอบธุรกรรมโดยการวางเงินประกัน” คือการที่เราซื้อเหรียญในโพลโทคอลแบบ POS และทำตามขั้นตอนของแพลตฟอร์มนั้นๆ หรือจะเลือกไป Stake กับ Dex ต่างๆ เพื่อรับผลตอบแทนจากการตรวจสอบธุรกรรมได้

ผลตอบแทนหรือรางวัลที่จะได้จะขึ้นอยู่กับ จำนวนเหรียญที่ Stake และ ระยะเวลาที่ Stake ยิ่งฝากมาก ฝากนาน ยิ่งมีโอกาสถูกสุ่มเป็นผู้ตรวจสอบบ่อย และได้รับรางวัลมาก


หมวดอักษรตัว T

TVL (Total Value Locked)

อาจจะแปลประมาณว่า “มูลค่าจัดเก็บทั้งหมด” คือปริมาณเงินที่อยู่ใน Eco system ของแพลตฟอร์มนั้นทั้งหมด ทั้งใน Liquidity Pool, Lending & Borrow หรืออื่นๆทั้งหมดที่มีอยู่ใน Smart contract ของแพลตฟอร์ม

TVL จะแสดงถึงความเชื่อมั่นของผู้ใช้งาน และความน่าเชื่อถือของแพลตฟอร์ม ซึ่งหลายที่ก็ได้พยามโชว์ TVLของตัวเอง เพื่อหวังว่าจะช่วยดึงดูดนักลงทุนและผู้ใช้งานเข้ามาเพิ่ม

To the moon

“ไปสู่ดวงจันทร์” เป็นคำที่ผู้คนในโลก Cryptocurrency นิยมใช้กันบ่อย แสดงถึงราคากราฟที่พุ่งขึ้นไปจนถึงดวงจันทร์ หมายความว่า เหรียญนี้ราคาดีแน่นอน ยังไงก็ราคาขึ้น คนไทยมักเรียกว่า “มูนแน่นอน!”


หมวดอักษรตัว Y

Yield Farming

เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการลงทุนที่พบได้บ่อย และได้รับความนิยมในโลก Defi ซึ่งจะคล้ายกับการ Staking ของ POS แต่แตกต่างกันเล็กน้อย คือการที่คนเอาสกุลเงินดิจิทัลมาฝาก หรือค้ำประกันไว้กับแพลตฟอร์มเพื่อเป็นการเพิ่มสภาพคล่อง ซึ่งคนที่นำเงินมาฝากจะกลายเป็น “Liquidity Provider”

ผู้ที่ฝากเงินใน Yeild Farming ก็จะได้รับผลตอบแทนแบ่งเป็นสองส่วนคือ

  1. ส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมในการแลกเปลี่ยนในคู่เหรียญที่เราฝากไว้ ยิ่งมีการแลกเปลี่ยนบ่อย ยิ่งได้ส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมเยอะขึ้น
  2. ได้รับ Governance Token ของแพลตฟอร์มนั้น ในฐานะผู้ให้บริการสภาพคล่อง

อื่นๆ OTC.

ขึ้นรถ

ลักษณะคล้ายกับ FOMO คือการที่เมื่อเห็นคนอื่นในตลาดมีการซื้อเหรียญนี้เยอะๆ แล้วเราก็ตัดสินใจซื้อตามๆกันไป เป็นเหมือนการขึ้นรถแล้วน้่งไปด้วยกัน และรอดูราคาวิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ ตัวอย่างประโยคเช่น

 “ขึ้นรถมาเลย เราจะ To the moon ด้วยกัน!”

ตกรถ

คือการที่เราต้องการจะซื้อในราคาที่คนส่วนใหญ่ในตลาดตอนนั้นซื้อกัน แต่ซื้อไม่ทันเพราะราคาได้วิ่งขึ้นไปจากราคาก่อนหน้านี้มาก จนแพงเกินหรือไม่คุ้มที่จะซื้อ เปรียบเสมือนการตกรถ มาไม่ทันคนอื่น ตัวอย่างประโยคเช่น “ถ้าไม่ซื้อตอนนี้ระวังตกรถนะ!”

ขายหมู

คือการที่เมื่อเราซื้อเหรียญที่ราคาหนึ่ง แล้วไปขายในราคาที่เราคิดว่าเหมาะสมและแพงแล้ว แต่ปรากฏว่าราคาเหรียญนั้นยังคงขึ้นต่อไปเรื่อยๆ สูงกว่าราคาที่คุณพึ่งขายไปมากๆ เช่น ซื้อเหรียญมาที่ราคา 500$ ขายไปที่ราคา 600$ แต่ราคาขึ้นไปเรื่อยๆจนถึง 1000$ เป็นความรู้สึกที่ว่าเราได้กำไรน้อยกว่าที่ควรจะได้รับ


อ้างอิง

https://www.moneybuffalo.in.th/cryptocurrency/proof-of-stake-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0-proof-of-work-%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%87

https://siamblockchain.com/2017/08/13/proof-of-work-vs-proof-of-stake/

https://werapun.com/%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A-defi-7519a791dd34

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *