วิธีใช้งานบล็อก Flag บน fxDreema

Flag fxDreema
คลิกเพื่อกลับสู่สารบัญเพื่อเลือกเรียนบทอื่น ๆ

Highlight – วิธีใช้งานบล็อก Flag บน fxDreema

  • บล็อค Flag ใน fxDreema นั้นแยกออกเป็นสองประเภทหลัก ๆ คือ บล็อกที่ใช้ Set ค่าต่างๆ และ บล็อกที่ใช้ Check ค่าต่างๆ
  • บล็อค Set Flag ทั้ง 3 บล็อก มีหลักการการทำงานที่เหมือนกันเลยครับ เพียงแต่จะแบ่งว่าเราสามารถ Set ค่าอะไรให้กับเขาได้บ้าง
  • Set Flag (textual) ใช้ Set ค่าประเภท string หรือประเภทข้อความนั่นเองครับ
  • Set Flag (numeric) ใช้ Set ค่าประเภท int, double หรือประเภทตัวเลขนั่นเองครับ
  • Set Flag (true-false) ใช้ Set ค่าประเภท bool หรือประเภท true, false นั่นเองครับ

เหล่าพรรคพวกบล็อก Flag ผมเรียกพี่เค้าสั้น ๆ ว่าการ “ตั้งธง” ครับ ซึ่งระบบการทำงานหลัก ๆ เค้าเลยมีแค่ 2 Process ครับ 1. Set ค่า เมื่อเข้าเงื่อนไขที่เราต้องการ 2. Check ค่า เมื่อเราต้องการ Check บล็อก Flag (เราจะสังเกตได้ว่าง่ายเหมือนปลอกกล้วยเข้าปากเลยครับ ฮ่า ๆ )

บล็อก Flag
รูปที่ 1 แสดงหน้าต่างของบล็อก Flag ทั้งหมด
  • ถ้าท่านใดยังไม่แน่นเรื่องประเภทของตัวแปร สามารถลองเข้ามาบินทบทวนได้ที่นี่เลยครับ >>> ประเภทของแตรปรวน เอ้ยตัวแปร
  • ถ้าเรายังไม่เห็นภาพเนี่ย เรามาลองเจาะลึกดูตัวอย่างระบบ EA ที่ใช้ร่วมกับบล็อก Flag กันดีกว่าครับ !

โดยก่อนอื่นเลย ผมก็จะขอเรียงลำดับการพูดคุยของเราไว้ดังนี้ครับ

  1. Set Flag (textual) & Check Flag (textual)
  2. Set Flag (numeric) & Check Flag (numeric)
  3. Set Flag (true-false) & Check Flag (true-false)

และมีคำ 3 คำในบล็อกที่เราจะเจอเค้ากันในวันนี้ครับ

  1. Flag name : ชื่อธง
  2. New Text value : ใช้ Set ค่าให้กับ Flag ของเราในชื่อนั้น ๆ
  3. Flag Value must be… : ใช้ Check ค่าให้กับ Flag ของเราในชื่อนั้น ๆ (ถ้าเช็คค่าแล้วเป็นจริงสัญญาณจะวิ่งเข้าปุ่มส้มแดง ถ้าเช็คค่าแล้วเป็นเท็จสัญญาณจะวิ่งเข้าปุ่มเหลือง)

1. Set Flag (textual) & Check Flag (textual)

Set Flag (textual)
รูปที่ 2 แสดงหน้าต่างของบล็อก Set Flag (textual)
Check Flag (textual)
รูปที่ 3 แสดงหน้าต่างของบล็อก Check Flag (textual)

และสิ่งที่แน่นอนเลยก็คือเราสามารถ Set ค่าประเภท text หรือ string ได้อย่างเดียวเลยครับ (เพราะเป็นบล็อก Flag textual) เห็นแบบนี้เราอาจจะยังไม่เข้าใจว่าเอ๊ะ….แล้วสรุปเค้าใช้งานยังไงได้บ้าง งั้นเรามาดูการใช้งานจริงกันดีกว่าครับ!!

Check Flag fxdreema
รูปที่ 4 แสดงตัวอย่างการงานจริงของบล็อก Set Flag (textual) และ Check Flag (textual)

โดยเราจะสังเกตได้ว่า

  1. ผ่าน Condition แล้วเราก็ Set Flag ให้มีค่า “buy now” (ถ้าผ่าน Condition เราจะให้เค้า Buy กัน)
  2. Check Flag ถ้า Flag ที่ชื่อ Buy มีค่าเท่ากับ “buy now” เราจะให้เค้า Buy
  3. เมื่อ Buy เสร็จแล้ว เรารีเซ็ตค่าของ Flag ที่ชื่อ Buy เป็น “no buy” (ถ้าไม่รีเซ็ตให้เป็นค่า “no buy” ไม้เทรด Buy จะออกไม้ให้เรารัว ๆ เลยเพราะเราวางบล็อกบน Event On Tick)

 

2. Set Flag (numeric) & Check Flag (numeric)

Set Flag (numeric)
รูปที่ 5 แสดงหน้าต่างของบล็อก Set Flag (numeric)
Check Flag (numeric)
รูปที่ 6 แสดงหน้าต่างของบล็อก Check Flag (numeric)

และสิ่งที่แน่นอนเลยก็คือเราสามารถ Set ค่าประเภท numeric หรือ ตัวเลขได้อย่างเดียวเลยครับ (เพราะเป็นบล็อก Flag Numeric) โดยมีตัวอย่างการใช้งานจริงดังนี้ครับ

Set Flag (numeric) fxdreema
รูปที่ 7 แสดงตัวอย่างการงานจริงของบล็อก Set Flag (numeric) และ Check Flag (numeric)

โดยเราจะสังเกตได้ว่า

  1. ผ่าน Condition แล้วเราก็ Set Flag ให้มีค่าฝั่ง Buy = 1, Sell = 2
  2. Check Flag ถ้า Flag ที่ชื่อ Trade มีค่าเท่ากับ 1 เราจะให้เค้า Buy ทันที และถ้า Trade มีค่าเท่ากับ 2 เราจะให้เค้า Sell ทันทีครับ
  3. เมื่อออกไม้เสร็จแล้วไม่ว่าจะเป็นไม้ Buy หรือไม้ Sell จะทำการรีเซ็ต Trade = 0 ทันที (0 = ไม่ Buy และไม่ Sell)

 

3. Set Flag (true-false) & Check Flag (true-false)

Set Flag (true-false)
รูปที่ 8 แสดงหน้าต่างของบล็อก Set Flag (true-false)
Check Flag (true-false)
รูปที่ 9 แสดงหน้าต่างของบล็อก Check Flag (true-false)

และสิ่งที่แน่นอนเลยก็คือเราสามารถ Set ค่าประเภท true, false หรือ จริง, เท็จได้เท่านั้นครับ (เพราะเป็นบล็อก Flag true false) โดยมีตัวอย่างการใช้งานจริงดังนี้ครับ

Set Flag (true-false) fxdreema
รูปที่ 10 แสดงตัวอย่างการงานจริงของบล็อก Set Flag (true-false) และ Check Flag (true-false)

 โดยเราจะสังเกตได้ว่า

  1. ผ่าน Condition แล้วเราก็ Set Flag ให้มีค่าฝั่ง Buy = true, Sell = true
  2. Check Flag ถ้า Flag ที่ชื่อ Buy มีค่าเท่ากับ true เราจะให้เค้า Buy ทันที และถ้า Sell มีค่าเท่ากับ true เราจะให้เค้า Sell ทันทีครับ
  3. เมื่อออกไม้ Buy เสร็จแล้วจะเปลี่ยน Buy = false, Sell = false (เท่ากับว่าตอนนี้เราจะไม่ Buy และไม่ Sell เพิ่ม)

สรุป

อันนี้โดยความเห็นส่วนตัวของแอดนะครับ แอดว่าตัว true false ใช้ง่ายสุด สบายตาสุดแล้วครับ เซ็ตค่าได้หลากหลาย = Flag String, Flag Numeric เซ็ตค่าได้อย่างเดียว แต่คนข้างมินิมอลเรียบง่าย = Flag True-False

*ถ้าท่านใดอยากลองใช้ EA ที่ทางทีม eaforexcenter ได้สรรค์สร้างขึ้นมา ก็คลิกที่นี่ได้เลยครับ >>> ลองใช้งาน Expert Advisor Free!

ทีมงาน eaforexcenter.com

คลิกเพื่อกลับสู่สารบัญเพื่อเลือกเรียนบทอื่น ๆ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *