พื้นฐาน Moving Average (MA) ประเภท EMA และ SMA

พื้นฐาน Moving Average (MA) ประเภท EMA และ SMA ...
  • เป็นอินดิเคเตอร์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในตลาด Forex
  • ใช้งานง่าย เหมาะกับมือใหม่และมืออาชีพ
  • ช่วยระบุแนวโน้ม (Trend) ของตลาดได้เป็นอย่างดี
  • ใช้เป็นจุดเข้า-ออกออเดอร์ได้อย่างแม่นยำเมื่อราคามีแน้วโน้มชัดเจน
  • ใช้ดูสัญญาณการกลับตัวของราคาได้
  • ใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์ได้ง่าย
  • SMA เหมาะกับการดูแนวโน้มระยะยาว ส่วน EMA เหมาะกับการเทรดระยะสั้น

ความเป็นมาของ Moving Average

  • พัฒนาโดย: Reginald Hawthorn Hooker (1901) และถูกพัฒนาต่อโดย Harold Wold
  • แนวคิดหลัก: ใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของราคาย้อนหลังเพื่อทำนายแนวโน้มอนาคต
  • ประเภทที่นิยม: SMA (Simple Moving Average) และ EMA (Exponential Moving Average)

ประเภทของ Moving Average

รูปที่ 1 ตัวอย่างการแสดงผลของ Moving Average ประเภท EMA บน MT4
รูปที่ 1 ตัวอย่างการแสดงผลของ Moving Average ประเภท EMA บน MT4
  1. SMA (Simple Moving Average)
  • คำนวณจากค่าเฉลี่ยของราคาย้อนหลังทั้งหมด
  • เหมาะกับการดูแนวโน้มระยะยาว
  • ช้ากว่า EMA เพราะให้น้ำหนักเท่ากันทุกค่า
  • ค่า SMA ยอดนิยม: 50, 100, 200 วัน
  1. EMA (Exponential Moving Average)
  • ให้น้ำหนักกับราคาล่าสุดมากกว่าราคาย้อนหลัง
  • ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาได้เร็วกว่า SMA
  • เหมาะกับเทรดเดอร์ที่ต้องการสัญญาณเร็วขึ้น
  • ค่า EMA ยอดนิยม: 14, 20, 50, 100 วัน

สูตรคำนวณ Moving Average

รูปที่ 2 สูตรคำนวณ Moving Average ประเภท SMA และ EMA
รูปที่ 2 สูตรคำนวณ Moving Average ประเภท SMA และ EMA

สูตร SMA

  • SMA = (X1+X2…..Xn)/n
    • X = ราคาย้อนหลังในแต่ละวัน
    • n = จำนวนวันที่ใช้คำนวณ

สูตร EMA

  • EMAn = aP(n) + EMA(n-1)(1-a)
    • P(n) = ราคาปิดปัจจุบัน
    • EMA(n-1) = EMA ของวันก่อนหน้า หรือ EMA(n-1) ตัวแรกต้องคำรวนมาจาก SMA
    • a = Smoothing Factor (คำนวณจาก 2 / (T+1) โดยที่ T คือจำนวนวันที่ใช้คำนวณ) โดยที่ 2 ค่าคงที่ในกรณีทั่วไปจะให้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกีบ SMA

  • SMA เหมาะกับการดูแนวโน้มระยะยาว ส่วน EMA เหมาะกับการเทรดระยะสั้น
  • จากรูปด้านล่างจะเห็นได้ว่า EMA มีความไวต่อราคามากกว่า (ให้สังเกตจุดตัดของทั้งสองเส้น) เมื่อมีการปรับเปลี่ยนราคา EMA มักจะมีหักราคาเร็วก่อนเสมอ 
รูปที่ 3 ข้อแตกต่างระหว่าง Moving Average ประเภท SMA และ EMA ใน Period เดียวกัน
รูปที่ 3 ข้อแตกต่างระหว่าง Moving Average ประเภท SMA และ EMA ใน Period เดียวกัน

วิธีตั้งค่า Moving Average บนแพลตฟอร์มเทรด MT4

รูปที่ 4 ขั้นตอนการเรียกใช้งานอินดิเคเตอร์ Moving Average บน MT4
รูปที่ 4 ขั้นตอนการเรียกใช้งานอินดิเคเตอร์ Moving Average บน MT4
  1. ไปที่ Insert > Indicators > Trend > Moving Average
รูปที่ 5 ขั้นตอนการตั้งค่าพารามิเตอร์ Moving Average บน MT4
รูปที่ 5 ขั้นตอนการตั้งค่าพารามิเตอร์ Moving Average บน MT4
  1. กำหนดค่า Period (เช่น 50, 100, 200)
  2. เลือก MA Method (SMA หรือ EMA)
  3. เลือก Apply to (ส่วนใหญ่ใช้ "Close" หรือราคาปิด)
  4. กำหนดสีและขนาดของเส้น MA

ประเภทของ Moving Average

1.ใช้ SMA 200 เพื่อดูแนวโน้มใหญ่

รูปที่ 6 พื้นฐานการใช้ SMA ในการดูแน้วโน้มของราคา
รูปที่ 6 พื้นฐานการใช้ SMA ในการดูแน้วโน้มของราคา
  • ถ้าราคาปิดอยู่ เหนือ SMA 200 → แนวโน้มเป็นขาขึ้น (Bullish)
  • ถ้าราคาปิดอยู่ ใต้ SMA 200 → แนวโน้มเป็นขาลง (Bearish)

2.เทคนิค Crossover 2 EMA

รูปที่ 7 เทคนิคการเทรดโดยการใช้ Crossover 2 EMA ของออเดอร์ประเภท Buy
รูปที่ 7 เทคนิคการเทรดโดยการใช้ Crossover 2 EMA ของออเดอร์ประเภท Buy

การเข้า Buy

  • เมื่อออเดอร์ Buy เมื่อ เส้น EMA(5) ตัดขึ้นเหนือ เส้น EMA(50)
  • ปิดออเดอร์เมื่อ เส้น EMA(5) ตัดลงใต้ เส้น EMA(50)

การเข้า Sell

  • เมื่อออเดอร์ Sell เมื่อ เส้น EMA(5) ตัดลงใต้ เส้น EMA(50)
  • ปิดออเดอร์เมื่อ เส้น EMA(5) ตัดลงเหนือ เส้น EMA(50)

การเขียน EA โดยการใช้พื้นฐาน Moving Average บน fxDreema

รูปที่ 8 อธิบายขั้นตอนการเขียน EA โดยการใช้พื้นฐาน Moving Average โดยใช้เทคนิค Crossover 2 EMA องออเดอร์ประเภท Buy
รูปที่ 8 อธิบายขั้นตอนการเขียน EA โดยการใช้พื้นฐาน Moving Average โดยใช้เทคนิค Crossover 2 EMA องออเดอร์ประเภท Buy
  • การออกออเดอร์ Buy
    • เริ่มต้นใช้ บล็อก No trade Buy/Sell
    • ต่อด้วยใช้ บล็อก Condition กำหนดให้ EMA(5) X> EMA(50)
    • ต่อด้วยใช้ Once per bar กำหนดให้ทำงาน 1 ครั้งต่อ 1 แท่งเทียน
    • ให้ออกออเดอร์ Buy แบบ Fixed Lot
  • ปิดออเดอร์ Buy
    • ใช้บล็อก If trade Buy/Sell ตรวจหาออเดอร์ ณ ปัจจุบัน
    • ต่อด้วยใช้ บล็อก Condition กำหนดให้ EMA(5) X< EMA(50)
    • ปิดออเดอร์ด้วย บล็อก Close trade ประเภท Buy
รูปที่ 9 ผลการ Backtest ของ EA โดยการใช้พื้นฐาน Moving Average โดยใช้เทคนิค Crossover 2 EMA คู่เงิน EURUSD H1 ระยะเวลา 1 ปี real tick 100%
รูปที่ 9 ผลการ Backtest ของ EA โดยการใช้พื้นฐาน Moving Average โดยใช้เทคนิค Crossover 2 EMA คู่เงิน EURUSD H1 ระยะเวลา 1 ปี real tick 100%

ข้อควรระวังในการใช้ Moving Average

รูปที่ 10 ข้อควรระวังในการใช้ Moving Average ในการเกิด False Signal
รูปที่ 10 ข้อควรระวังในการใช้ Moving Average ในการเกิด False Signal
  • MA เป็นอินดิเคเตอร์ประเภท "Lagging" ซึ่งหมายความว่ามันตามหลังราคาเสมอ
  • สัญญาณ MA อาจทำให้เกิด "False Signal" หรือสัญญาณผิดพลาดได้
  • ควรใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์อื่น เช่น RSI หรือ MACD เพื่อเพิ่มความแม่นยำ
  • ทดสอบกลยุทธ์ MA กับบัญชีทดลองก่อนใช้งานจริงทุกครั้งหรือควรทำ Backtest ก่อน

สรุป

  • Moving Average เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพสูง
  • SMA เหมาะกับการดูแนวโน้มระยะยาว ส่วน EMA เหมาะกับการเทรดระยะสั้น
  • Crossover 2-3 EMA เป็นกลยุทธ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย
  • การตั้งค่า MA ควรปรับให้เหมาะสมกับสไตล์การเทรดของแต่ละคน
  • อย่าลืมใช้การบริหารความเสี่ยง และอย่าพึ่งพา MA เพียงตัวเดียวนะครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *