โบรกไหนเจอ Slippage บ่อย

โบรกไหนเจอ Slippage บ่อย

ฉบับย่อ

  • Slippage คือ ความแตกต่าง หรือ คลาดเคลื่อน ระหว่างราคาในจุดที่ระบบเกิดสัญญาณซื้อ-ขาย กับ ราคาที่นักเทรดได้ทำการซื้อขายได้จริงๆ
  • Slippage มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทคือ No Slippage, Positive Slippage และ Negative Slippage
  • Slippage มักจะเกิดจาก ความล่าช้าในการตั้งคำสั่ง, ความผันผวนของตลาด, สภาพคล่อง, ขนาดของคำสั่งซื้อขาย, อินเตอร์เน็ต และ โบรกเกอร์

ความหมายของ Slippage

Slippage นั้นเป็นศัพท์ที่นักเทรด forex ทุกคนจำเป็นต้องรู้จัก และต้องเข้าใจเพื่อสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาในการเทรดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้นเอง โดยความหมายของคำว่า Slippage ก็คือความแตกต่างหรือ คลาดเคลื่อน ระหว่างราคาในจุดที่ระบบเกิดสัญญาณซื้อ-ขาย กับ ราคาที่นักเทรดได้ทำการซื้อขายได้จริงๆ

Slippage ดีไหม
รูปที่ 1 Slippage สามารถทำให้เกิดทั้งกำไรและขาดทุน

หากยังไม่เข้าใจผมจะ ขอพูดแบบบ้านๆ ว่า เมื่อ เราส่ง order ไปว่าต้องการซื้อ-ขายที่ราคาหนึ่ง แต่ order นั้นกลับดันไปซื้อ-ขายในอีกราคาหนึ่งนั่นเองล่ะครับ

ดังนั้นเมื่อราคาที่ต้องการกับราคาที่ซื้อขายจริงแตกต่างกันทำให้เราสามารถขาดทุนได้เป็นจำนวนมากเลยทีเดียวโดยทั้งหมดนี้เรียกว่าการเกิด Slippage ครับ และสาเหตุที่ทำให้เกิด Slippage นั้นมีหลายปัจจัย เช่น สภาพคล่องของหุ้นที่ต่ำ สภาวะตลาดที่ผิดปกติ แม้กระทั่งข่าวที่มีผลกระทบมากๆ ที่เข้ามาในตลาด

สำหรับนักเทรดใหม่ อาจจะรู้สึกว่า Slippage เป็นปัญหาที่ยากจะควบคุม แต่ในความเป็นจริง สามารถป้องกันและลดความเสี่ยงจาก Slippage ได้ ถ้าคุณยังมีใจกล้าและอดทนในการเรียนรู้ หาคำตอบให้เจอ คุณก็สามารถสู้ศึกกับ Slippage และยืนหยัดในวงการเทรดได้ครับ

 

ปัจจัยที่ทำให้เกิด Slippage

ในโลกของการลงทุนและการเทรด…. Slippage เป็นเรื่องที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ มันก่อให้เกิดความขาดทุน หรือบางครั้งก็เป็นเส้นทางให้เรามีโอกาสสำหรับสร้างกำไรโดยที่ไม่คาดคิด แต่ที่สำคัญที่สุดคือเราต้องเข้าใจและรับรู้ถึงปัจจัยที่ทำให้เกิด Slippage เพื่อปรับปรุงและพัฒนากลยุทธ์ในการเทรดของเรา

Slippage เกิดจาก
รูปที่ 2 6 ปัจจัยกับการเกิด Slippage
  1. ความล่าช้าในการตั้งคำสั่งซื้อขาย
  • ตั้งแต่เวลาที่เราตัดสินใจซื้อขาย จนถึงเวลาที่คำสั่งของเราถูกจัดลำดับลงในตลาด นั่นหมายความว่าระหว่างที่เราคิดและตั้งคำสั่ง ราคาอาจเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว
  1. ความผันผวนของตลาด
  • ตลาดมีความผันผวนอยู่เสมอ และเราไม่สามารถควบคุมหรือทำนายได้ว่าตลาดจะเคลื่อนไหวอย่างไร เวลาที่มีข่าวใหม่ หรือ เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อตลาด เช่น การประกาศนโยบายเศรษฐกิจ หรือข้อมูลทางการเงิน ราคาอาจเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบต่อความสามารถในการซื้อขายตามราคาที่ตั้งไว้
  1. สภาพคล่องต่ำ
  • สภาพคล่องต่ำ หมายถึงมีผู้ซื้อขายน้อยค่อนข้างน้อย ซึ่งส่งผลให้มี spread ระหว่างราคาที่เสนอซื้อและเสนอขายสูงขึ้น ทำให้เกิดความยากลำบากในการซื้อขายตามราคาที่ตั้งไว้ โดยควรเทรดจับคู่สกุลเงินที่มีสภาพคล่องสูงอย่าง EUR/USD แทนการจับคู่เทรดสกุลเงินที่แปลกใหม่ที่ไม่ค่อยได้เห็นกัน
  1. ขนาดของคำสั่งซื้อขาย
  • การซื้อขายในปริมาณมากอาจทำให้เกิด Slippage เนื่องจากราคาตลาดอาจไม่สามารถรองรับคำสั่งขนาดใหญ่ได้ ควรคำนึงถึงปริมาณการซื้อขายให้เหมาะสมกับขนาดของตลาดและความคล่องของสินทรัพย์
  1. อินเตอร์เน็ตที่มีคุณภาพต่ำ
  • การเลือกใช้อินเตอร์เน็ตที่มีคุณภาพที่ดี จะช่วยให้เรามั่นใจว่าการส่งคำสั่งเข้าในตลาดจะรวดเร็วและไม่มีปัญหา การใช้อินเตอร์เน็ตที่มีค่า Ping ต่ำเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอย่างมากครับ นอกจากนี้การเลือก Server ที่มีค่า Ping ต่ำๆ ก็ยังสามารถช่วยลดปัญหาการ Slippage ได้อีกด้วย

6.โบรกเกอร์ไม่น่าเชื่อถือ หรือ มีประวัติการเกิด Slippage บ่อย

  • หากคุณเคยประสบปัญหาเรื่อง Slippage ที่ผิดปกติ เช่นเกิดการ Slippage 1 ใน 10 ครั้งในการเทรด หรือจุด Slippage สูงกว่าโบรกเกอร์อื่นๆ บ่อยครั้ง อาจเป็นเวลาที่คุณควรพิจารณาเปลี่ยนโบรกเกอร์ได้แล้วนะครับ เพื่อปกป้องตัวเองและทรัพย์สินของคุณ

 

ประเภทของ Slippage

Slippage สามารถแยกออกได้เป็น 3 ประเภท

Slippage น้อย
รูปที่ 3 ประเภทของ Slippage
  1. No Slippage หรือ การไม่เกิด Slippage
    • คือ สถานการณ์ที่ราคาของคำสั่งซื้อขายที่ได้รับนั้นตรงตามที่คาดหวังไว้ ยกตัวอย่างนะครับเช่น เมื่อเราทำการ ซื้อ-ขาย EUR/USD ที่ราคา 1.3250 เราก็จะได้ที่ราคา 1.3250 จริงๆโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆนั่นเองครับ
  1. Positive Slippage หรือ การเกิด Slippage แบบบวก
    • คือ สถานการณ์ที่ราคาของคำสั่งซื้อขายที่ได้รับนั้นดีกว่าที่คาดหวังไว้ ในกรณีของการซื้อ หมายความว่า คุณได้ซื้อสินทรัพย์นั้นในราคาที่ต่ำกว่าที่คาดหวัง ส่วนในกรณีของการขาย หมายความว่า คุณได้ขายสินทรัพย์นั้นในราคาที่สูงกว่าที่คาดหวัง ซึ่งทำให้คุณทำกำไรมากขึ้น ยกตัวอย่างนะครับ เมื่อเราทำการ Buy EUR/USD ที่ราคา 1.3250 แต่เรากลับได้ที่ราคาที่ต่ำกว่า คือราคา3240 ทำได้เราได้กำไรในฝั่งขา Buy เพิ่มขึ้นมานั่นเองครับ
  1. Negative Slippage หรือ การเกิด Slippage แบบลบ
    • คือ สถานการณ์ที่ราคาของคำสั่งซื้อขายที่ได้รับนั้นแย่กว่าที่คาดหวังไว้ ในกรณีของการซื้อ หมายความว่า คุณได้ซื้อสินทรัพย์นั้นในราคาที่สูงกว่าที่คาดหวัง ส่วนในกรณีของการขาย หมายความว่า คุณได้ขายสินทรัพย์นั้นในราคาที่ต่ำกว่าที่คาดหวัง ทำให้คุณทำกำไรน้อยลง หรือขาดทุน ยกตัวอย่างนะครับ เมื่อเราทำการ Buy EUR/USD ที่ราคา 1.3250 แต่เรากลับได้ที่ราคาที่สูงกว่า คือราคา 1.3260 ทำให้เราได้กำไรน้อยลงหรือมีโอกาสทำให้ขาดทุนนั่นเองครับ

 

วิธีตรวจสอบการเกิด Slippage ของโบรกเกอร์

1.เข้าสู่เว็บไซต์ www.wikifx.com

2.ให้พิมพ์ค้นหา โบรกเกอร์ในช่องค้นหาแล้วทำการเลือกโบรกเกอร์ที่ต้องการครับ

เช็ค Slippage
รูปที่ 4 แสดงต่ำแหน่งช่องค้นหาชื่อโบรกเกอร์

3.เลือกโบรกเกอร์ที่ต้องการ

รูปที่ 5 ตำแหน่งเลือกโบรกเกอร์ที่ต้องการ

4.ประการแรกเลื่อนลงมาหา Dashboard ดังกรอบสีแดงครับ ต่อไปให้เลื่อนหาคำว่า Trading Slippage AAA ทำการคลิกแล้วเลือกดูข้อมูลในกรอบสีเหลืองได้เลยครับ

รูปที่ 6 วิธีการดูข้อมูล Dashboard Slippage ของโบรกเกอร์

 

สถิติของการเกิด Slippage 15 อันดับโบรกเกอร์ชั้นนำ

ลำดับ

Broker Average Slippage Results Maximum positive slippage Results Maximum negative slippage

Results

1

AETOS -1.0 Perfect -1 Good 0 Perfect

2

Infinox -1.0

Perfect

3

Poor

9 Good

3

FXCM

-0.6

Perfect

-2

Great

28

Poor

4

XM -0.3

Great

-20

Perfect

29

Poor

5

Tickmill

-0.3

Great

-10

Perfect

29

Poor

6 GMI -0.1 Great -6 Perfect 28

Poor

7 Icmarkets 0.1 n/a -12 Perfect 29

Poor

8

Pepperstone 0.2 n/a -2 Great 29

Poor

9

TMGM 0.4 n/a -6 Perfect 29

Poor

10

8Caps 0.4 Good -1 Good 29

Poor

11

Land-FX 1.4 Good 0 n/a 0

Perfect

12

Exness n/a n/a n/a n/a n/a n/a

13

IUX n/a n/a n/a n/a n/a

n/a

14 Forex4you n/a n/a n/a n/a n/a

n/a

15 Dukascopy n/a n/a n/a n/a n/a

n/a

*ข้อมูลจาก wikifx ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2023

 

บทสรุป

Slippage นั้นแท้จริงแล้วไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวครับ เมื่อเรารู้แล้วว่าปัจจัยใดบ้างที่ทำให้เกิด Slippage เราสามารถควบคุม และป้องกันความเสี่ยงนั้นได้และสารมารถลดผลกระทบอันเกิดจากกา Slippage ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า Slippage เป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนในตลาดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เสียที ดังนั้น อย่าปล่อยให้ความหวั่นไหวของ Slippage ทำให้เราขาดกำลังใจ และขาดความมุ่งมั่นในการลงทุน และไม่ควรย่อท้อต่อการหาข้อมูลและแสวงหาความรู้ต่อไปเรื่อยๆ หนทางนั้นจะช่วยให้เราประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงครับ

 

“ไม่มีปัญหาใดจะยิ่งใหญ่ไปกว่าพลังในตัวคุณ”

 

สิ่งที่น่าสนใจอื่น ๆ ภายในเว็บของเรา

  1. รีวิวโบรกเกอร์ Forex ฉบับอัพเดทล่าสุด
  2. รีวิวกองทุน Forex ยอดนิยม
  3. วิธีเขียน EA ด้วย fxDreema ฟรี
  4. EA Forex Freemium สำหรับแจกฟรีสำหรับผู้ที่ต่อ IB กับเรา
  5. การทำฟาร์ม EA ด้วยระบบ Copy trade
  6. ห้อง Singal Free สำหรับคนชอบเทรดทอง

ทีมงาน eaforexcenter.com

One thought on “โบรกไหนเจอ Slippage บ่อย

  1. Pingback: เปิดบัญชี AETOS ยังไง - EaForexCenter

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *