วิธีใช้ Trailing Stop และ Break Even Point ใน fxDreema

กลับสู่สารบัญเพื่อเลือกเรียนบทอื่น ๆ

สรุปโดยย่อ

  • Break Even Point หรือเรียกสั้น ๆ ว่า BEP คือ การกันหน้าไม้นั่นเอง นั่นหมายความว่าเมื่อเราโดน Stop Loss (SL) เราก็จะไม่เสียเงินจากไม้นั้น!
  • Trailing Stop คือ การเลื่อน SL ให้วิ่งตามราคาปัจจุบัน และแน่นอนว่าถ้าใช้กลยุทธ์นี้กับช่วงที่เป็น Trend เราก็จะเก็บกำไรได้มากขึ้นนั่นเองครับ

ขี้เกียจขยับ Stop loss ต้องทำยังไง

บางครั้งบางคราวเราก็อยากให้ SL เลื่อนไปกันหน้าไม้ของเราบ้างใช่ไหมครับ? ซึ่ง Trailing Stop และ Break Even Point (BEP) บน fxDreema นี่แหละครับ ที่จะมาอำนวยความสะดวก และเพิ่มความหลากหลายในการเขียน EA ให้กับเรา โดยที่ Trailing Stop และ BEP จะมีข้อแตกต่างหลัก ๆ เช่น Trailing Stop จะเลื่อน SL ไล่ตามราคาปัจจุบันเรื่อย ๆ ในขณะที่ BEP จะเลื่อน SL กันหน้าไม้แค่ครั้งเดียว

รูปที่ 1 แสดงหน้าต่างของบล็อค Trailing Stop ใน fxDreema

Trailing Stop

Trailing Stop ไว้ใช้เลื่อน SL วิ่งตามราคาปัจจุบันไปเรื่อย ๆ และแน่นอนครับว่าถ้ากราฟลากไปไกล ๆ ไม้ที่ใช้ Trailing Stop เนี่ย ก็จะกำไรมหาศาลเลยทีเดียวครับ โดยบล็อก Trailing Stop จะมีค่าพารามิเตอร์ดังนี้ครับ

พารามิเตอร์ คำอธิบาย
Group Mode Group ของไม้เทรดที่ต้องการ
Symbol Mode เลือกโหมดของ Symbol
Symbol ช่องใส่ Symbol ที่เราต้องการ Trailing
Filter by Type   เลือกไม้ Buy หรือ Sell หรือทั้งสอง
Trailing what ? เลือกโหมดในการ Trailing ว่าเราจะ Trailing Take profit หรือ Trailing SL
Reference price ราคาอ้างอิงที่เราเลือกใช้ในระบบ Trailing
Trailing Stop is … เลือกค่าของ Trailing Stop ที่เราต้องการ
Trailing Step is … เลือกค่าของ Trailing Step ที่เราต้องการ
Trailing Start is … เลือกค่าของ Trailing Start ที่เราต้องการ
Pips จำนวน Pips ที่เราจะใช้ในการ Trailing Start Step Stop

เพิ่มคำอธิบายของพารามิเตอร์ 3 ค่าดังนี้ครับ ที่เป็นจุดขายหลักของ Trailing Stop ก็คือ START STEP STOP ครับ

  1. Trailing Start (START) หรือพูดง่าย ๆ ก็คือจุดที่เราอยากให้เริ่ม Trailing ครับ
  2. Trailing Step (STEP) คือ การกำหนดขนาด Pips ของการก้าวเข้าหาราคาปัจจุบัน (Reference Price) ในแต่ละครั้งนั่นเองครับ
  3. Trailing Stop (STOP) คือ ขนาดของ SL ที่เราต้องการนำไป Trailing ครับ

ซึ่งหากใครมาถึงตรงนี้แล้วยังไม่ค่อยเข้าใจหรือยังมองไม่เห็นภาพก็สามารถเข้ามาดูรูปสาธิตการใช้งาน Trailing Stop ง่าย ๆ ดังนี้ครับ

รูปที่ 2 แสดงถึงวิธีการใช้งาน Trailing Stop ภาพที่ 1

 

รูปที่ 3 แสดงถึงวิธีการใช้งาน Trailing Stop ภาพที่ 2

 

รูปที่ 4 แสดงถึงวิธีการใช้งาน Trailing Stop ภาพที่ 3

 

รูปที่ 5 แสดงถึงวิธีการใช้งาน Trailing Stop ภาพสุดท้าย

ซึ่งจากที่เราสังเกตในรูป การ Trailing Stop จะเริ่มขึ้นก็ต่อเมื่อไม้ Buy กำไรไปแล้ว 60 Pips ซึ่งก็คือ START นั่นเอง และต่อด้วย STOP มีค่าเท่ากับ 30 Pips

SL ณ ที่นี้เลยจะอยู่ที่กำไรของไม้ Buy 30 Pips นั่นเอง คิดจาก START – STOP (60 – 30 = 30 Pips) และแน่นอนว่าทุกการขยับของ Reference Price 1 Pips SL เราก็จะขยับตามทุก 1 Pips ซึ่งมาจากค่า STEP นั่นเองครับโผม

รูปที่ 6 แสดงหน้าต่างของบล็อค Break Even Point ใน fxDreema

 

Break Even Point

Break Even Point ใช้สำหรับกันหน้าไม้ที่เราเปิดไว้ครับ โดยใน fxDreema เนี่ยเราสามารถกำหนดได้ด้วยครับว่า จะกันหน้าไม้ให้ได้กำไรกี่ Pips เมื่อชน SL โดยทำการเปิด BEP offset mode ก็จะสามารถตั้งกำไรกั้นหน้าไม้ได้แล้วครับ! ซึ่งบล็อก Break Even Point จะมีค่าพารามิเตอร์ดังนี้ครับ

พารามิเตอร์ คำอธิบาย
Group Mode Group ของไม้เทรดที่ต้องการ
Symbol Mode  เลือกโหมดของ Symbol
Symbol ช่องใส่ Symbol ที่เราต้องการ Trailing
Filter by Type เลือกไม้ Buy หรือ Sell หรือทั้งสอง
On Profit Mode เลือกได้ว่าจะกำไรไปแล้วแบบไหน (Pips, %SL, %TP) ถึงจะเริ่มกันหน้าไม้
Pips On Profit  กำไรไปแล้วเท่าไหร่ ถึงจะเริ่มกันหน้าไม้ โดยหน่วยจะขึ้นอยู่กับ On Profit Mode
BEP offset mode เลือกได้ว่าจะตั้งค่ากำไรที่กันไม้ไหม ถ้าไม่เวลากันหน้าไม้ SL จะอยู่ที่กำไร 0 Pips
BEP offset กำไรเป็น Pips ที่เราจะกันหน้าไม้ ถ้าใส่ 60 เวลาโดน SL เราจะได้กำไร 60 Pips

แล้วถ้าหากใครอ่านแล้วยังไม่เข้าใจก็สามารถทำความเข้าใจจากการดูรูปสาธิตการใช้งาน Break Even Point ง่าย ๆ ดังนี้ครับ

รูปที่ 7 แสดงถึงวิธีการใช้งาน Break Even Point ภาพที่ 1 #1

 

รูปที่ 8 แสดงถึงวิธีการใช้งาน Break Even Point ภาพที่ 2 #1

 

รูปที่ 9 แสดงถึงวิธีการใช้งาน Break Even Point ภาพที่ 1 #2

 

รูปที่ 10 แสดงถึงวิธีการใช้งาน Break Even Point ภาพที่ 1 #2

ซึ่งจากที่สังเกตได้นรูป ผมจะแบ่งเป็น 2 ตัวอย่างสำหรับ Break Even Point ด้วย 1#  และ 2# โดยเมื่อกำไรไปแล้ว 60 Pips (PIPS ON PROFIT) ก็จะเริ่มกันหน้าไม้เป็นกำไร 30 Pips (OFFSET PIPS) นั่นเองครับ

สรุป วิธีใช้ Trailing Stop และ Break Even Point ใน fxDreema

ถ้าท่านใดต้องการให้ SL วิ่งตามราคาปัจจุบันตลอดเวลาก็สามารถลองใช้ Trailing Stop ได้เลยครับ ส่วนถ้าท่านได้ต้องการให้เค้ากันหน้าไม้ให้เฉย ๆ โดย SL ไม่เลื่อนตาม สามารถลองใช้ Break Even Point ได้ครับ (คลิ๊กเพื่อเริ่มใช้งาน fxDreema)

 

ทีมงาน eaforexcenter.com

กลับสู่สารบัญเพื่อเลือกเรียนบทอื่น ๆ

One thought on “วิธีใช้ Trailing Stop และ Break Even Point ใน fxDreema

  1. Pingback: วิธีเขียน Basic EMA EA - EaForexCenter

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *