EA ประเภท Hedging คือ

ฉบับย่อ

  • Hedging คือ การประกันราคา และลดความเสี่ยงในการเข้า order ที่ผิดทาง
  • EA Hedging คือ EA ที่มีการเทรดโดยการนำเทคนิค Hedging มาใช้

Hedging คือ

สวัสดีครับวันนี้ผมก็จะขอมาอธิบายการทำงานแบบ Hedg หรือ Heaging กันนั่นเองครับ… โดยผมจะขอเกริ่นนำว่าการ Hedg หรือ Heaging นั้นมีความหมายคล้ายคลึงกับการประกันความเสี่ยงอันมีพื้นมาจากเทคนิคการประกันราคานั่นเองแหละครับ ซึ่งถือว่าเป็นกลยุทธิ์ที่ใช้สำหรับจัดการความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นอันเกิดจากความผันผวนของตลาดได้ดีเลยทีเดียว

รูปที่ 1 Hedging คือ

 

ซึ่งจะเกิดคำถามขึ้นมาต่อว่าแล้ว “ประกันราคา คือ อะไร ?” โดยผมจะขออธิบายพื้นฐานของการประกันราคาให้เข้าใจกันได้ง่าย ๆ กันก่อนนะครับโดยผมจะขอยกตัวอย่างง่าย ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน

ผมขอยกตัวอย่างโดยขออ้างอิงเป็นตัวละคร 2 บุคคลก็ คือ

  1. พ่อค้าผลไม้ 1 และ
  2. พ่อค้าคนกลาง (รับซื้อผลไม้)

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็คือเมื่อ พ่อค้าผลไม้ 1 นั้นขายผลไม้ให้ พ่อค้าคนกลางได้ในราคาที่ดีมาก ๆ เลย ซึ่งในปี 64 นั้นสามารถขายได้ถึง 50 บาทต่อกิโลกรัม

รูปที่ 2 ตัวอย่าง Hedging ในชีวิตประจำวัน

 

ต่อมา พ่อค้าผลไม้ 1 ก็ได้คิดต่อว่าถ้าราคามันดีแบบนี้ต่อไปสงสัยว่าปีหน้าคงจะมีคู่แข่งเพิ่มแน่ ๆ เลย และอาจจะทำให้ยอดขายนั้นอาจจะตกลงไปถึง 30 บาทต่อกิโลกรัมนั่นเอง

รูปที่ 3 การทำนายผลประกอบการเพื่อใช้พิจารณาการ Hedging

 

โดยต่อมานั้น พ่อค้าผลไม้ 1 จึงไป ขอทำประกันราคา (Heading) กับพ่อค้าคนกลางว่าปีหน้าเมื่อผลผลิตออกดอกออกผลอีกครั้งก็จะขอทำสัญญาโดยไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็จะขอขายให้ในราคาเดิม

รูปที่ 4 การทำ Hedging

 

ซึ่งแน่นอนครับว่า Hedging เป็นเพียงแค่การประกันราคา หรือ ความเสี่ยงว่าเราจะไม่ขาดทุนเท่านั้น ดังตัวอย่างจะเห็นได้ว่าในกรณีที่ 1 เมื่อพ่อค่าได้ทำนายถูกว่าผลไม้จะมีราคาลดลงจริง ๆ เขาก็จะยังคงได้ขายได้ที่ราคาเดิมไม่ขาดทุน แต่ในกรณีที่ 2 เมื่อราคาผลไม้เพิ่มมากขึ้นพ่อค้าเองก็ไม่ได้กำไรเพิ่มขึ้นแต่ก็รับประกันได้ว่าจะไม่ขาดทุนนั่นเองแหละครับ

รูปที่ 5 เหตุการณ์ที่น่าจะเกิดขึ้นเมื่อทำ Hedging

 

ซึ่งแนวคิดนี้สามารถนำมาใช้กับในตลาด Forex ได้โดยที่ผลราคานั้นมีเพียงแค่สองทาง คือ

  1. Buy และ
  2. Sell

โดยที่เมื่อคุณคาดการณ์แล้วว่าราคากราฟจะมีการเคลื่อนไหวลงคุณจึงกด Sell แต่ถึงอย่างนั้นก็ขอประกันราคา (Hedging) ไว้สักหน่อยก็คือ การ Buy เผื่อไว้นั่นเองครับในกรณีที่มันไม่ได้เป็นขาลงจริง ๆ อย่างน้อยเราก็ยังมีไม้ Buy ไว้สำหรับการประกันราคานั่นเองแหละครับ

 

หลักการทำงานของ Hedging ในตลาด Forex

หลังจากการที่ได้อธิบายหลักการพอหอมปากหอมคอกันแล้วผมก็จะพามาดูวิธีการใช้หลักการ Hedging ในตลาด Forex กันนะครับ

เทคนิคการ Hedging นั้นมีหลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับการ Money Management ของแต่ละคนนะ ซึ่งวิธีที่ผมจะอธิบายดังกล่าวนั้นไม่ได้เป็นวิธีที่ดีที่สุดแต่อย่างใด แต่จะสามารถอธิบายให้เข้าใจได้มากที่สุดนั่นเองครับซึ่งหากนำเทคนิคนี้ไปใช้ร่วมกับ EA จะถือว่าปลอดภัยมากเลยทีเดียวเชียวล่ะครับ

การตั้งค่าแบบ Hedging

ให้สังเกตดูรูปภาพด้านล่างนะครับโดยผมจะขอพิจารณากราฟโดยใช้การพิจารณาพื้นฐานทั่วไป ผมจะทำการการ Sell ในโซนที่ 4 เนื่องจากผมพิจารณาแล้วว่ากราฟอยู่ในเทรนขาลงตามรูปด้านล่างโดยผมจะทำการ TP ไว้ที่ 50 pip ในขณะเดียวกันผมก็จะทำการ Hedging (Buy) และ SL ไว้ในตำแหน่งเดียวกันระยะห่างคือ 50 pip เช่นเดียวกันครับ

รูปที่ 6 การตั้งค่าเทคนิค Hedging

 

จากที่เห็นดังรูปผมได้ทำการ Risk Reward Ratio ไว้ที่ 1:1 เพื่อที่จะสามารถให้อธิบายได้ง่ายขึ้นครับในขณะเดียวกันเพื่อนๆสามารถที่แก้อัตราส่วนได้ตามเทคนิคของแต่ละคนได้นั่นเองครับ

 

การทำกำไรแบบ Hedging

เมื่อทำการตั้งค่า Hedging ตามรูปที่ 6 ไปแล้วเมื่อราคาเป็นไปตามที่เราต้องการเราจะสามารถทำกำไรได้แบบหายห่วงนั่งเองครับจะสังเกตว่ากำไรก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นเพียงแต่เราจะประกันราคาไว้ว่าเราจะไม่ขาดทุนนั่นเองครับ

รูปที่ 7 การทำกำไรแบบ Hedging

 

การแก้ไม้แบบ Hedging

แต่มาดูในกรณีการแก้ไม้แบบ Hedging กันบ้างในกรณีที่เราทำการ Sell ไว้แต่ราคาดันเกิดการผันผวนไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตามราคาจึงเด้งกลับไปแตะยังตำแหน่ง Hedging (Buy) และ SL คือจะเป็นการปิดขาดทุนพร้อมกับเปิดไม้ Buy นั้นเองครับ และ ทำการรอจนกว่าไม้ Buy จะไปทำกำไรในโซนที่ 6 ก็จะเป็นการปิด TP จึงทำให้การขาดทุนในครั้งนี้มีเท่ากับ 0 นั่นเองครับแหละครับ

รูปที่ 8 การแก้ไม้แบบ Hedging

 

การขาดทุนจากการแก้ไม้แบบ Hedging

แต่อย่างไรก็ตามครับตลาด Forex อาจจะไม่ได้ง่ายดายเช่นนั้นหากเจอคู่เงินที่มีความผันผวนสูง ๆ ก็จะสามารถทำให้เราขาดทุนได้เช่นกันในกรณีดังรูปตัวอย่างด้านล่าง เมื่อไม้ Sell ไม้แรกเกิดผิดทางราคาเด้งกลับไปแตะยังตำแหน่ง Hedging (Buy) และ SL แต่ก็ยังไม่ทันกำไรอีกทั้งกราฟนี้มีความผันผวนสูงจึงทำให้เด้งกลับลงมาชน SL อีกรอบจึงทำให้เราสามารถที่จะขาดทุน 2 ต่อได้เลย

รูปที่ 9 การขาดทุนจากการแก้ไม้แบบ Hedging

 

วิธีแก้คือการนำ indicator ตัวอื่นๆเข้ามาใช้ในการประกอบการตัดสินใจนั่นเองครับหรืออาจจะทำการปรับ RR ให้สอดคล้องกับความผันผวนของตลาดก็ได้เช่นเดียวกันครับ

 

“เพราะชีวิตคนเรามักเปลี่ยนแปลงเสมอ เราจึงต้องเตรียมตัวเองให้พร้อมรับกับทุกๆสถานการณ์ไว้ให้ดี เราจะเจ็บตัวน้อยที่สุด”

 

บทสรุป

Hedg หรือ Heaging นั้นเป็นเทคนิคเพียงเพื่อใช้ในการประกันราคาเท่านั้นครับอีกทั้งก็ยังมีความเสี่ยงพอสมควรหากแก้ไม้แบบ Heaging ไม่ถูกจุดอย่างไรก็ตามผมแนะนำว่าควรใช้ Indicator ตัวอื่นๆเข้ามาใช้ร่วมกับเทคนิคนี้ด้วยพร้อมกับการ Money Management ก่อนลงตลาดจริงจะถือว่าเป็นวิธีการแก้ไม้ที่ทรงพลังอย่างมากเลยทีเดียวเชียวครับ หากใครสนใจ EA ประเภท Heding ช่วงนี้ขอแนะนำให้ลองเข้าไปดูที่ www.mql5.com ก่อนนะครับ ทางเรากำลังพัฒนา EA ตัวนี้อยู่เหมือน ซึ่งมันยังไม่เสร็จดีเลยฮะ

 

ทีมงาน: eaforexcenter

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *