8 อันดับ Indicator Forex ยอดนิยมในเมืองไทย

ฉบับย่อ

  • Indicator คือ เครื่องมือช่วยวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของราคาในตลาดเพื่อเป็นตัวช่วยให้เราสามารถตัดสินใจในการซื้อขายได้ง่ายขึ้น

indicator คือ  

indicator หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า indy คือ เครื่องมือที่มนุษย์ได้ทำการคิดค้นขึ้นเพื่อช่วยเหลือในการเทรดไม่ว่าจะเป็นหุ้นหรือForex โดยที่จะใช้ช่วยวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของราคาในตลาดเพื่อเป็นตัวช่วยให้เราสามารถตัดสินใจในการซื้อขายได้ง่ายขึ้นนั่นเองครับ

 

8 อันดับ Indicator Forex

1. Moving Average (MA)

  • ลักษณะการใช้งาน: ใช้สำหรับดูแนวโน้มราคา , ตรวจสอบแนวรับ/ต้าน
  • Timeframe: ทั้งระยะสั้นและระยะยาว (ขึ้นอยู่กับเทคนิคการเทรด)
  • ประเภท: Trend
  • สูตรการคำนวณ: ขอแยกออกเป็น2ชนิดคือ SMA และ EMA ดังนี้
    • SMA = ค่าเฉลี่ยของราคาปิด = (ราคาปิด1+….ราคาปิดn) / n และ
    • EMA = ค่าเฉลี่ยของราคาปิด(ที่ให้ความสำคัญกำราคาปัจจุบัน)
    • = (ราคาวันที่ n x 2 / (n + 1)) + (ราคาวันที่ n-1 x 2 / (n + 1)) + (ราคาวันที่ n-2 x 2 / (n + 1)) + …
  • วิธีการใช้งานเบื้องต้น: เมื่อกราฟเส้น EMA หรือ SMA ตัดขึ้นเหนือกราฟแท่งเทียน จะเท่ากับเทรนขาขึ้นในขณะเดียวกันหากตัดลงจะเท่ากับเทรนจะมีแนวโน้มเป็นขาลงดังตัวอย่างจะเป็น EMA ที่ 200 วัน
  • indicator ที่มีสูตรคำนวณคล้ายกัน: WMA, SMMA
  • อ่านเทคนิคลับ Moving Average (MA) คลิก
รูปที่ 1 วิธีใช้ EMA Indicator

2.Relative Strength Index (RSI)

  • ลักษณะการใช้งาน: วัดแรงของแนวโน้มราคาในขณะนั้น และใช้เป็นตัวบ่งบอกถึงสภาวะแรงซื้อเกิน(overbought) และ แรงขายเกิน(oversold)
  • Timeframe: ทั้งระยะสั้นและระยะยาว (ขึ้นอยู่กับเทคนิคการเทรด)
  • ประเภท: Oscillator
  • สูตรการคำนวน: RSI = 100 –(100/(1+RS)) ; RS = Average Gain /Average Loss
  • วิธีการใช้งานเบื้องต้น: ถ้า RSI > 70 คือภาวะซื้อเกิน(มีโอกาสที่ราคาจะกลับตัวจากขึ้นเป็นลง), RSI < 30 คือภาวะขายเกิน(มีโอกาสที่ราคาจะกลับตัวจากลงเป็นขึ้น)
  • Indicator ที่มีสูตรคำนวนคล้ายกัน: Stochastic Oscillator, CCI, Momentum
  • อ่านเทคนิคลับ Relative Strength Index (RSI ) คลิก
รูปที่ 2 Relative Strength Index (RSI)

3.Moving Average Convergence Divergence (MACD)

  • ลักษณะการใช้งาน: วัดแนวโน้มและสภาวะการซื้อขาย ณ ขณะนั้น โดยใช้ค่าความแตกต่างของ ค่าเฉลี่ย (MA) ของ 2 วันมาคำนวณ
  • Timeframe: ทั้งระยะสั้นและระยะยาว (ขึ้นอยู่กับเทคนิคการเทรด)
  • ประเภท: Trend Following & Oscillator
  • สูตรการคำนวณ: MACD = EMA(12) – EMA(26) ; โดยที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าวันได้ตามความต้องการ
  • วิธีการใช้งานเบื้องต้น:
    • เมื่อ MACD และ Signal Line ตัดเส้นระดับ 0 จากล่างขึ้นบน = มีโอกาสเป็นเทรนขาขึ้น
    • เมื่อ MACD และ Signal Line ตัดเส้นระดับ 0 จากบนลงล่าง = มีโอกาสเป็นเทรนขาลง
  • Indicator ที่มีสูตรคำนวณคล้ายกัน: PPO, Vortex Indicator, KST
  • อ่านเทคนิคลับ MACD คลิก
รูปที่ 3 MACD (Moving Average Convergence Divergence)

4. Bollinger Bands

  • ลักษณะการใช้งาน: วัดความผันผวนของราคา และการหาจุดกลับตัว
  • Timeframe: ทั้งระยะสั้นและระยะยาว(ขึ้นอยู่กับเทคนิคการเทรด)
  • ประเภท: Volatility & Trend
  • สูตรการคำนวณ: Bollinger Bands จะประกอบไปด้วยเส้น3เส้นมีสูตรต่างกันดังนี้
    • Upper Band: SMA + SD x 2
    • Middle Band/ Basis Band: SMA
    • Lower Band: SMA – SD x 2
  • วิธีการใช้งานเบื้องต้น: เมื่อ กราฟราคาชนกับ Lower Band มีโอกาสที่ราคาจะย้อนกลับ สามารถที่จะออกออเดอร์ Buy และ ปิดออเดอร์ได้เมื่อกราฟราคาชนกับ Middle Band โดยที่ขา Sell จะรอกราฟราคาชน Upper Band แล้วทำการปิดออเดอร์ได้เมื่อกราฟราคาชนกับ Middle Band นั่นเองครับ
  • Indicator ที่มีสูตรคำนวณคล้ายกัน: Keltner Channel, Donchian Channel, Envelope
  • อ่านเทคนิคลับ Bollinger Bands คลิก
รูปที่ 4 Bollinger Bands

5. Fibonacci Retracement

  • ลักษณะการใช้งาน: ใช้วัดระดับที่ราคาที่อาจจะวิ่งกลับตัว และ วัดระดับราคาที่มีความเหมาะสมที่จะไปถึงในจุดๆนั้น หรือ ใช้เป็นแนวรับ/ต้าน ได้นั่นเอง
  • Timeframe: ทั้งระยะสั้นและระยะยาว (ขึ้นอยู่กับเทคนิคการเทรด)
  • ประเภท: Trend
  • สูตรการคำนวณ: ไม่ใช่สมการคณิตศาสตร์ แต่เป็นร้อยละที่ได้มาจากลำดับของฟิโบนัชชี โดยทั่วไปจะใช้ร้อยละ 23.6%, 2%, 50%, 61.8%, และ 76.4% หรือมากกว่านี้ตามเทคนิคแต่ละคน
  • วิธีการใช้งาน: ลากเส้น Fibonacci ตามเทรนที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นเพื่อช่วยดูแนวรับ/ต้านต่างๆตามกรอบสีฟ้าดังตัวอย่างรูปด้านล่าง
  • Indicator ที่มีสูตรคำนวณคล้ายกัน: Fibonacci Extension, Fibonacci Fan, Fibonacci Arcs
  • อ่านเทคนิคลับ Fibonacci Retracement คลิก
รูปที่ 5 Fibonacci Retracement

6. Stochastic Oscillator

  • ลักษณะการใช้งาน: เครื่องมือที่ใช้วัดค่าโมเมนตัม หรือ ความเร็วของการเปลี่ยนแปลงราคา ณ ขณะนั้นและใช้เป็นตัวบ่งชี้สภาวะแรงซื้อเกิน (overbought) และ แรงขายเกิน (oversold)
  • Timeframe: ทั้งระยะสั้นและระยะยาว(ขึ้นอยู่กับเทคนิคการเทรด)
  • ประเภท: Oscillator
  • สูตรการคำนวณ: ลักษณะการทำงานของ Stochastic Oscillator ประกอบไปด้วย2เส้น ดังนี้
    • %K = (Current Close – Lowest Low) / (Highest High – Lowest Low) * 100
    • %D = 3-day(SMA of %K)
  • วิธีการใช้งาน: ถ้า Sto > 80 คือภาวะซื้อเกิน(มีโอกาสที่ราคาจะกลับตัวจากขึ้นเป็นลง), Sto < 20 คือภาวะขายเกิน(มีโอกาสที่ราคาจะกลับตัวจากลงเป็นขึ้น) และ สามารถบอก Divergence ได้แม่นยำ
  • Indicator ที่มีสูตรคำนวณคล้ายกัน: RSI, Momentum
  • อ่านเทคนิคลับ Stochastic Oscillator คลิก
รูปที่ 6 Stochastic Oscillator

7. Parabolic SAR

  • ลักษณะการใช้งาน: บอกถึงแนวโน้มและจุดกลับตัวของกราฟแท่งเทียน
  • Timeframe: ทั้งระยะสั้นและระยะยาว (ส่วนใหญ่เห็นใช้ใน TF เล็กๆ)
  • ประเภท: Trend
  • สูตรการคำนวณ: SARNEW = SARCURRENT + AF x (EPCURRENT – SARCURRENT)
  • วิธีการใช้งาน: ถ้าราคาอยู่เหนือ Parabolic SAR แนวโน้มขึ้น แต่ถ้าอยู่ใต้ Parabolic SAR แนวโน้มลงดังนั้นอย่างด้านล่าง
  • Indicator ที่มีสูตรคำนวณคล้ายกัน: ADX, Moving Averages, Heiken Ashi
  • อ่านเทคนิคลับ Parabolic SAR คลิก
รูปที่ 7 Parabolic SAR

8. Ichimoku Cloud (Ichimoku Kinko Hyo)

  • ลักษณะการใช้งาน: บอกแนวโน้มของราคา และสามารถใช้เป็นแนวรับแนวต้านได้
  • Timeframe: เหมาะกับเทรนระยะยาว
  • ประเภท: Trend Following
  • สูตรการคำนวณ: Ichimoku Cloud จะประกอบกอบไปด้วย 5 ส่วนคือ
    • Tenkan-sen = (9-period high + 9-period low)/2))
    • Kijun-sen = (26-period high + 26-period low)/2))
    • Senkou Span A (Up Kumo) = (Conversion Line + Base Line)/2)),Plot ล่วงหน้า 26 วัน
    • Senkou Span B (Down Kumo) = (52-period high + 52-period low)/2)),Plot ล่วงหน้า 26 วัน
    • Chikou Span = Close plotted 26 days in the past, Plot ช้าไป 26 วัน
  • วิธีการใช้งาน: เมื่อ กราฟแท่งเทียน และเส้นกราฟทั้งหมดอยู่ใต้เมฆ แสดงว่ามีแนวโน้มที่กราฟจะมีเทรนขาลง ในทางกลับกันหากอยู่เหนือเมฆ แสดงว่ามีแนวโน้มที่กราฟจะมีเทรนขาขึ้น
  • อ่านเทคนิคลับ Ichimoku Cloud คลิก
รูปที่ 8 Ichimoku Cloud (Ichimoku Kinko Hyo)

บทสรุป

จากทั้งหมดนี้ก็จะเป็น Indicator ยอดนิยมที่ทางเราได้รวบรวมมาให้ได้รับชม และ หวังว่าผู้อ่านจะได้รับความรู้ไม่มากก็น้อยครับ… แต่อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงข้อมูลคร่าว ๆ เท่านั้นครับ… ทางผู้เขียนจึงอยากแนะนำให้ผู้อ่านศึกษาให้ลึกซึ้งโดยสามารถกดเข้าไปอ่านบทความเต็มกันก่อนนำมาใช้งานจริงและควรที่จะใช้ควบคู่กันกับ Indicator ตัวอื่น ๆ ด้วยก็จะดีมากเลยทีเดียวครับ

 

แหล่งที่แจก indicator free: Click

ทีมงาน eaforexcenter.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *