สรุปโดยย่อ วิธีการใช้งานบล็อก Pending order in grids
- Base Price คือ ราคาที่เราจะออกไม้แรก
- Grid Size คือ ระยะห่างระหว่างไม้
- Order to Place คือ จำนวนไม้ที่เราต้องการ
- (every next) คือ การเพิ่มหรือลดค่า (ระยะห่างระหว่างไม้, Lot, TP, SL) เป็น % ในทุกไม้ถัดไป
บทความนี้ก็เป็นบทความ Pending Order in Grid ที่ต่อจากบทความที่แล้วนะครับ ท่านใดอยากลองอ่านบทความก่อนหน้าดู ที่ได้อธิบายการใช้งานต่าง ๆ ของ Buy Sell และ Pending Order ไว้แล้ว ผมแปะลิ้งก์ไว้ให้ตรงนี้นะครับ >>> วิธีการใช้งานบล็อก Buy Sell และ Pending Order บน fxDreema (1) สามารถไปลองอ่านกันได้เลยครับ !
หลาย ๆ ท่านอาจจะคุ้นหน้าคุ้นตากับ ตระกูล Pending Order in Grid กันมาบ้างแล้วครับ ซึ่งก็ทำมาเพื่ออำนวยความสะดวก และเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ที่กำลังสร้าง EA ประเภท Grid นั่นเองครับ และในบทความนี้เราจะมาเรียนรู้ไปด้วยกันครับ ว่า Pending Order in Grid บน fxDreema นั้นทำงานอย่างไร และมีอะไรให้เราน่าจับมาลองเล่นกันบ้าง ติดตามชมกันได้เลยครับ ฮ่า ๆ
และแน่นอนครับว่า Sell Pending Order in Grid ช่องที่ใช้ใส่ค่าต่าง ๆ ก็เหมือนกันกับฝั่ง Buy เลยครับ เพราะฉะนั้นเรามาลงดีเทล (รายละเอียด) กันดีกว่าครับ ว่าแต่ละช่องใส่ Input มันทำงานยังไงกันแน่ – –
อธิบาย Input ของ Buy Pending Order in Grid และ Sell Pending Order in Grid โดยละเอียด
หัวข้อ | คำอธิบาย |
Group # | ใช้สำหรับกำหนดกลุ่มการทำงานของ EA เรา |
Symbol | ใช้สำหรับใส่ชื่อสินค้าที่เราต้องการเทรด(ใส่ได้หลายคู่โดยใช้ , เป็นตัวเว้นครับ) โดยใช้ตัวแปรประเภท String ค่าว่าง นั่นหมายถึง EA จะเทรดคู่ หรือ Symbol ที่เราลาก EA ไปวางใส่นั่นเองครับ |
Order to place (grid levels) | จำนวนไม้ที่ต้องการเปิด Grid ครับ |
Base Price | ราคาอ้างอิงในการเปิดไม้แรกครับ |
Base Price Offset | ใช้ปรับราคา Base Price ให้เลื่อนไปกี่ Pips มีค่า + หมายถึงราคาจะเป็นแบบ Buy Stop และ Sell Stop มากขึ้น (หน่วยเป็น Pips) |
Base Price: Round Number | เป็นการขยับราคา Base Price ให้ชิดกับ Round Number มากที่สุด (ผมก็ไมแน่ใจเหมือนครับว่าเป็น เลข 0 หลักไหน เสิร์ชข้อมูลเพิ่มเติมยังไม่เจอเลยครับ) |
Grid size | ความห่างของระยะไม้ในแต่ละไม้ครับ (หน่วยเป็น Pips) |
Money Management | เลือกวิธีการออกล็อตครับ |
How much? | จำนวนที่เราต้องการ |
Volume Upper Limit | Max Lot หรือล็อตที่ออกได้สูงสุดของไม้เทรดนั้น ๆ ครับ (Max Lot โบรกเกอร์จะเป็นคนกำหนดอีกทีครับ ว่าเราออกล็อตได้สูงสุดได้เท่าไหร่) |
Stop-Loss mode | ใช้สำหรับเลือกรูปแบบการ SL ที่เราต้องการ |
Take-Profit mode | ใช้สำหรับเลือกรูปแบบการ TP ที่เราต้องการ |
(every next) Open Price | ใช้สำหรับตั้งค่าระยะของไม้ถัดไป (เป็น %) |
(every next) Volume | ใช้สำหรับตั้งค่าล็อตของไม้ถัดไป (เป็น %) |
(every next) Stop Loss | ใช้สำหรับตั้งค่า Stop Loss ของไม้ถัดไป (เป็น %) |
(every next) Take Profit | ใช้สำหรับตั้งค่า Take Profitของไม้ถัดไป (เป็น %) |
Expiration mode | ใช้สำหรับตั้งระยะเวลาการหมดเวลาของไม้เทรดครับ |
Slippage | ใช้สำหรับตั้ง Max Slippage ที่ EA จะออกไม้ได้ครับ |
Comment | ใช้สำหรับใส่คอมเม้นท์ ติดไว้กับไม้เทรดครับ |
Arrow Color | สีของลูกศรเวลาออกไม้เทรดครับ |
วิธีการทำงานของบล็อค Pending Order in Grid ในแบบฉบับย่อ
เนื่องจากมีค่า input ให้ใส่เยอะมาก ผมจึงขอย่อเนื้อหาให้กระชับตรงนี้ครับ ว่าบล็อกนี้มันทำงานยังไงกันแน่
- ไม้แรก = จะเปิดที่ราคา Base Price รวมกับ Base Price Offset รวมกับ Base Price : Round Number แล้ว จะได้เป็นตำแหน่งราคาของไม้แรกครับ
- ไม้ถัดไป = เราจะสามารถเพิ่มหรือลด (ระยะห่างระหว่างไม้, Lot, TP, SL) ไปได้เรื่อย ๆ ครับ และจะคิดเป็น % โดย 100% หมายความว่าให้มีค่าเท่าเดิมของไม้ก่อนหน้าครับ และแน่นอนว่าถ้าผมตั้ง Volume Size (Lot) ที่ 50% นั่นหมายถึง ไม้ถัดไปล็อตจะเท่ากับครึ่งนึงของล็อตไม้ก่อนหน้านั่นเองครับ เช่น 1.00 > 0.50 > 0.25 > 0.125
สรุป วิธีการใช้งานบล็อก Pending order in grids
Buy Pending Order in Grid และ Sell Pending Order in Grid เป็นการเปิดออเดอร์แบบ Grid ซึ่งใช้ง่ายมากและสามารถปรับแต่งอะไรได้หลากหลาย เช่น ปรับระยะของไม้ให้ห่างขึ้นเรื่อย ๆ เป็น 200% (ระยะเพิ่ม 2 เท่าทุกไม้) หรือ ทบ martingale lot ก็ทำได้เช่นเดียวกันครับ
ทีมงาน eaforexcenter
คลิกเพื่อกลับสู่สารบัญเพื่อเลือกเรียนบทอื่น ๆ
"เริ่มต้นอย่างช้าๆ แต่ชัดเจน"
ให้เราได้ดูแลคุณ...
eaforexcenter.com