นักลงทุน Crypto แบบไหนที่เป็นคุณ

นักลงทุน Crypto แบบไหนที่เป็นคุณ

ในโลกของการลงทุนใน Cryptocurrency เต็มไปนักลงทุนหลายล้านคน   ถึงแม้ว่าแต่ละคนจะมีลักษณะหลายๆอย่างที่ไม่มีเหมือนกัน แต่เราสามารถแบ่งประเภทของนักลงทุนเป็นกลุ่มๆได้ แล้วอยากรู้ไหมว่า นักลงทุน Crypto แบบไหนที่เป็นคุณ ถ้าอยากรู้แล้ว ไปตามอ่านกันในบทความนี้ได้เลย

นกไม่กลัวกิ่งไม้หัก ไม่ใช่มันมั่นใจในกิ่งไม้ แต่มันมั่นใจในปีกของมัน


การแบ่งประเภทของนักลงทุนในบทความนี้เราขอใช้เกณฑ์ 2อย่าง คือ

  1. แบ่งตามขนาดของพอร์ทการลงทุน
  2. แบ่งตามและรูปแบบการลงทุน

หมายเหตุ : ทั้งสองเกณฑ์ไม่ได้บ่งบอกถึงความสามารถในการลงทุนของนักลงทุนแต่อย่างใด

แบ่งตามขนาดของพอร์ทการลงทุน

หมายถึงประมาณเงินที่มีอยู่พอร์ทหรือกระเป๋าของนักลงทุน โดยนับเป็นจำนวนเหรียญสกุล BTC (Bitcoin) เหตุผลที่ใช้จำนวน BTC เป็นตัวเกณฑ์การแบ่งเพราะว่า BTC มีสัดส่วน MarketCap ใหญที่สุดในตลาด ส่วนกระเป๋าจะแบ่งตามประเภทสัตว์น้ำในมหาสมุทร ไล่ไปตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่

ระดับ 1 แพลงตอน น้อยกว่า 0.05 BTC

ระดับ 2 กุ้ง : น้อยกว่า 1 BTC

ระดับ 3 ปู : 1-10 BTC

ระดับ 4 ล็อบสเตอร์ : 10-50 BTC

ระดับ 5 ปลาดาบ : 50-100 BTC

ระดับ 6 หมึกยักษ์ : 100-500 BTC

ระดับ 7 ฉลามขาว : 500-1,000 BTC

ระดับ 8 วาฬเพชฌฆาต : 1,000-5,000 BTC

ระดับ 9 วาฬสีน้ำเงิน : 5,000 BTC ขึ้นไป

ถ้าใครที่มีเหรียญ BTC ในกระเป๋าไม่เยอะ แต่เมีเหรียญอื่นๆอยู่เยอะก็ลองตีมูลค่าพอร์ททั้งหมดเป็น USDT และลองเทียบมูลค่า BTC ดูว่าพอทร์ทของเราจะมีมูลค่าเท่ากับกี่ BTC ใครที่ยังน้อยอยู่ก็อย่าได้น้อยใจตัวเองหรืออิจฉาคนอื่น แต่ละคนเริ่มต้นเดินทางลงทุนไม่เท่ากัน คนที่เริ่มก่อน อาจจะหลายๆปีที่แล้ว ก็มีโอกาสได้ซื้อ Bitcoin ในราคาถูกและได้ปริมาณเยอะกว่า

การจะมีสัก 1BTC ในปัจจุบันอาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับบางคน แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ หากเราตัดสินใจเริ่มต้นลงทุนตั้งแต่ตอนนี้ ถึงแม้จะด้วยเงินทุนไม่เยอะ ก็สามารถมี 1BTC แรกได้ด้วยการศึกษาและฝึกฝนด้านการลงทุน เก็บประสบการณ์และเงินไปพร้อมกัน

รูปที่ 1 จำนวนเหรียญ BTC ในกระเป๋าจะเป็นตัวแบ่งระดับของนักลงทุนของนักลงทุน โดยมีตั้งแต่ระดับแพลงตอน 0.05BTC ไปจนถึงระดับวาฬสีน้ำเงิน 5000BTC
รูปที่ 1 จำนวนเหรียญ BTC ในกระเป๋าจะเป็นตัวแบ่งระดับของนักลงทุนของนักลงทุน โดยมีตั้งแต่ระดับแพลงตอน 0.05BTC ไปจนถึงระดับวาฬสีน้ำเงิน 5000BTC

แบ่งตามรูปแบบการลงทุน

บางคนอาจจะกำลังเพิ่งเริ่มลงทุน ยังไม่มีรูปแบบหรือสไตล์การลงทุนเป็นของตัวเอง ซึ่งไม่เป็นไร แต่เชื่อหรือไม่ว่า หากเราค้นพบรูปแบบการลงทุนที่ใช่ตามนิสัยของตัวเอง จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุนได้มาก รวมถึงเพิ่มกำไรของเราได้ด้วย จะมีรูปแบบไหนบ้าง ไปตามอ่านกันต่อได้เลย

1.นักลงทุนสายปัจจัยพื้นฐาน (Valued Investor)

ส่วนใหญ่แล้วจะเรียกว่า นักลงทุนสาย VI ถึงเหรียญ Crypto จะไม่มี PE Ratio ไม่มีตัวเลขทางการเงินที่เป็นผลประกอบการหรือรายรับรายจ่ายเหมือนกับหุ้น แต่ก็มีปัจจัยพื้นฐานอื่นๆ เช่น เหรียญนี้สร้างมาเพื่ออะไร การใช้งานเป็นอย่างไร มีระบบนิเวศของเหรียญเป็นอย่างไร ในอนาคตมีโอกาสเติบโตหรือไม่ Rodmap มีอะไรบ้าง ทีมผู้พัฒนาเป็นใคร ที่กล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งของอีกหลายๆเรื่องที่นักลงทุนสายปัจจัยพื้นฐานต้องหาข้อมูลแล้วเอามาวิเคราะห์

ตัวอย่างนักลงทุนสาย VI เช่น วอร์เรน บัฟเฟต์ หรือในประเทศไทย เช่น คุณพรศักดิ์ อุรัจฉัทชัยรัตน์ และ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ที่ถึงแม้ท่านเหล่านี้จะอยู่ในวงการหุ้น แต่เราสามารถนำแนวคิดต่างๆมาปรับใช้กับการลงทุนใน Cryptocurrency ได้

2.นักลงทุนสายเทคนิค (Technical Analysis)

ในการลงทุนสายเทคนิค จะเป็นการใช้กราฟราคาเป็นตัวกำหนดการลงทุน โดยจะดูจากรูปแบบของกราฟที่ปรากฏออกมา และทำการวิเคราะห์ด้วยตัวชี้วัดค่าต่างๆ (Indicator) ผสมกันเพื่อหาแนวโน้มของราคาว่าจะขึ้นไปที่เท่าไหร่ หรือลงไปที่เท่าไหร่ โดยจะมีนำปัจจัยพื้นฐานต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้อง

หลายคนให้ความสนใจกับการลงทุนสายเทคนิคเพราะส่วนใหญ่แล้วการลงทุนสายเทคนิคจะเป็นการลงทุนระยะสั้น สามารถทำกำไรได้ในระยะเวลาตั้งแต่ 1นาที ขึ้นไปเลย แต่แน่นอนว่าไม่ได้ง่ายอย่างนั้น เพราะเราจำเป็นต้องศึกษาตลาด และรูปแบบกราฟต่างๆอย่างจริงจัง เพราะอย่างที่บอกว่ากราฟและ Indicator ต่างๆบอกแค่สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเกิดขึ้นจริงเสมอไป ต้องอาศัยประสบการณ์และการจัดการความเสี่ยงที่ดี

รูปที่ 2 ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนแบบปัจจัยพื้นฐาน แบบเทคนิค หรือแบบอื่นๆมีทั้งข้อดีและความเสี่ยงที่แตกต่างกัน สิ่งสำคัญคือศึกษาตัวเอง และศึกษาแต่ละรูปแบบให้ละเอียด
รูปที่ 2 ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนแบบปัจจัยพื้นฐาน แบบเทคนิค หรือแบบอื่นๆมีทั้งข้อดีและความเสี่ยงที่แตกต่างกัน สิ่งสำคัญคือศึกษาตัวเอง และศึกษาแต่ละรูปแบบให้ละเอียด

3.นักลงทุนสายผสม (Hybrid)

จะเป็นการผสมระหว่างแบบ VI และแบบเทคนิคดูกราฟ โดยจะดูจากปัจจัยพื้นฐานก่อนว่าเหรียญมีศักยภาพหรือปัจจัยอะไรบ้างที่สามารถทำให้ราคาสูงขึ้นไปอีกได้ หรืออาจจะใช้ข่าวต่างๆเข้ามาประกอบ และวิเคราะห์ต่อด้วยเทคนิคกราฟในเวลานั้นเพื่อหาความเป็นไปได้ของราคา ฟังดูแล้วเหมือนจะเป็นอะไรที่ลงตัว แต่เราก็ต้องทำการบ้านหนักกว่าสองเท่า เพราะต้องศึกษาทั้งเรื่องปัจจัยพื้นฐานและเทคนิค เพื่อนำสองอย่างมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการเลือกซื้อเหรียญที่ดีในเวลาที่เหมาะสม

4.นักลงทุนสาย DCA (Data Cost Average)

นักลงทุนทุนสาย DCA จะเป็นการลงทุนแบบ Passive Invesment คือการที่จะลงทุนในเหรียญที่เราเลือกไว้ ในระยะเวลาที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ ในจำนวนเงินที่เท่าเดิมทุกครั้ง โดยไม่สนใจว่าราคา ณ วันที่เราจะทำการ DCA นั้นจะเป็นอย่างไร ตัวอย่างเช่น เราเลือก DCA ในเหรียญ BTC ทุกเดือน เดือนละ $100 สมมุติว่าเดือนที่แล้ว 1BTC = $19,000 เดือนนี้อยู่ที่ 25,000 ก็ต้องซื้อ

โดยส่วนใหญ่แล้วการลงทุนแบบ DCA จะเหมาะกับคนที่ไม่มีเวลาในการลงทุน ซึ่งวิธีนี้จะช่วยเพิ่มวินัยในการลงทุนได้ดี ระหว่างทางอาจมีการขาดทุนบ้างกำไรบ้าง แต่ในระยะยาวแล้วจะเป็นกำไร แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยการศึกษาเรื่องปัจจัยพื้นฐานเข้ามาด้วย ไม่งั้นการ DCA ของเราอาจกัดกินเราไปเรื่อยๆ

5.นัลงทุนสายตามกระแส

พูดง่ายคือจะลงทุนตามอะไรก็ตามแต่ที่ “เขาบอกว่าดี” โดยไม่มีการนำข้อมูลปัจจัยพื้นฐานและไม่ใช้เทคนิคการวิเคราะห์กราฟเข้ามาช่วย โดยอาจจะได้ยินจากเพื่อนบอกว่าให้ลงทุนตัวนี้สิ หรือ มีการพูดถึงเหรียญตัวนี้บ่อยๆในโซเชียลเราเลยซื้อตามเพราะคิดว่ามันจะราคาขึ้น หรืออาจจะเป็นช่องทางไหนก็ตามแต่ แต่เราไม่ได้นำสารที่ได้มานั้นไปหาข้อมูลต่อ

ฟังดูแล้วเหมือนเป็นรูปแบบการลงทุนที่ไม่ดีเท่าไหร่ ซึ่งมันก็ไม่ดีจริงๆนั่นแหละ การได้ยินข่าวสารมาและลงทุนเลยโดยไม่มีการหาข้อมูลต่อเป็นนิสัยที่นักลงทุนที่ดีไม่ควรทำ หากใครที่ยังอยู่ในรูปแบบนี้ หรือมีแนวโน้มการลงทุนแบบนี้เราแนะนำให้ค่อยๆใช้วิธีแบบอื่นที่กล่าวไปเข้ามาช่วย โดยเฉพาะการนำการลงทุนแบบ VI มาใช้

สรุป

นักลงทุนหนึ่งคนสามารถมีรูปแบบการลงทุนได้หลายแบบ แต่ก่อนอาจจะเป็นแบบใช้เทคนิคดูกราฟ แต่ตอนนี้มาใช้แบบ VI หรือแต่ก่อนเคยเป็น VI ตอนนี้เปลี่ยนเป็นดูกราฟ หรือตอนนี้เป็นดูกราฟและ DCA ไปด้วยก็ได้ แต่ไม่ว่าเราจะเป็นนักลงทุนสายไหนก็ตาม การมีความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยง และการบริหารการเงิน เป็นทักษะจำเป็นที่นักลงทุนที่ดีต้องมีติดตัว เมื่อที่พบสไลต์การลงทุนของตัวเองแล้ว มีการจัดการความเสี่ยงแล้ว เราก็พร้อมสำหรับการสร้างกำไรอย่างมั่นคงให้กับตัวเอง

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *