นวัตกรรมที่ค่อนข้างใหม่ในโลกของสกุลเงินดิจิทัล!!…. Stablecoins คือ การรวมประโยชน์ของสกุลเงินดิจิทัล เข้ากับความเสถียรของสกุลเงินทั่วไป ในบทความนี้ เราจะนำเสนอข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ Stablecoin ว่ามันคืออะไร ทำงานอย่างไร สำคัญอย่างไร และทำไมมันถึงกลายเป็นวิธีที่นิยมมากขึ้นในการทำธุรกรรม และจัดเก็บมูลค่าในโลกของการเงิน
Stablecoins คืออะไร
Stablecoins คือ สกุลเงินดิจิทัลประเภทหนึ่ง ที่ออกแบบมาเพื่อรักษามูลค่าให้คงที่ โดยจะอ้างอิงและตรึงมูลค่าไว้กับสินทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งปกติแล้วจะเป็นสกุล fiat เช่น ดอลลาร์สหรัฐ หรือกลุ่มสินทรัพย์บางอย่าง และใช้วิธีการที่หลากหลายเพื่อรักษาเสถียรภาพทางมูลค่าของตัวเอง ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีความผันผวนอยู่ที่ไม่เกิน 1%
ประโยชน์หลักประการหนึ่งของ Stablecoins คือ ให้การจัดเก็บมูลค่าที่เชื่อถือได้ ช่วยให้ผู้ใช้ผู้ใช้งานสามารถแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ หรือเหรียญทั่วไปที่มีความผันผวนของมูลค่าอยู่ตลอดเวลา มารักษาไว้ในมูลที่คงที่ ณ วันที่แลกมา นอกจากเก็บมูลค่าคงที่แล้ว ยังมีประโยชน์ในการใช้งานที่หลากหลาย เข่น การส่งเงิน การชำระเงิน และการทำธุรกรรมข้ามพรมแดน
การทำงานของ Stablecoins
อย่างที่ได้บอกไปว่า ในการรักษามูลค่าของ stablecoins นั้นมีหลายวิธี แต่ที่พบมากที่สุดจะถูกแบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ แบบมีสินทรัพย์รองรับ(reserve-backed stablecoins) และแบบใช้อัลกอริทึม(algorithmic stablecoins) แล้วแต่ละแบบมันทำงานกันอย่างไร? เราจะมาอธิบายอย่างง่าย ๆ ให้ฟัง
แบบมีสินทรัพย์รองรับ (Reserve-backed stablecoins)
ทรัพย์สินที่จะมารองรับ Stablecoins นั้นก็มีแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นแล้วก็จะถูกแบ่งย่อยออกมาอีก 3 ประเภทดังนี้คือ
ประเภทที่รองรับด้วยเงินเฟียต (Fiat – collateralized)
เป็นประเภทที่รู้จักกันมากที่สุด และมีการใช้งานที่เยอะที่สุดในเหล่าบรรดา Stablecoins ทั้งหมด หลักการง่าย ๆ คือ การอ้างอิงราคาจากเงินเฟียต ในอัตราส่วน 1:1 ซึ่งในโลกคริปโท และ Defi ยอมรับให้ใช้เงิน USD หรือ ดอลลาร์สหรัฐ เป็นสกุลที่ใช้อ้างอิงราคา ดังนั้นล้ว 1 stablecoin จะมีค่า เท่ากับ 1 USD และหากอุปทานของดอลลาร์สหรัฐมีการขึ้นหรือลง ก็จะส่งผลต่อเหรียญ USDT ไปในทางเดียวกันด้วย
ตัวอย่างเหรียญ Stablecoin แบบ Fiat – collateralized ได้แก่ tether (USDT), USD Coin (USDC), Binanace USD (BUSD)
ประเภทที่รองรับด้วยเหรียญ Cryptocurrencies ตัวอื่น (Crypto – collateralized)
คือใช้เหรียญอีกสกุลใส่เข้าไปเพื่อเป็นหลักประกันในการปล่อยเหรียญ Stablecoin ใหม่ออกมา แต่เหรียญที่จะนำไปใส่เป็นหลักประกันต้องมีมูลค่าสูงกว่าที่จะปล่อยออกมาในอัตราส่วน 50% – 150% อาจมากหรือน้อยกว่านั้นก็ได้ ตัวอย่างเช่น
สมมุติว่าถ้าเราเอา 1 Ethereum (ETH) มูลค่า 1,000$ มาทำการค้ำประกัน เพื่อเอา Stabecoin ตัวใหม่ออกมาได้ในสัดส่วน 50% หมายความว่าเราจะได้เหรียญ DAI ออกมามูลค่า 500$
สิ่งสำคัญคือเหรียญที่จะใช้เป็นตัวริงรับนั้น ต้องเป็นเหรียญที่มีปริมาณการใช้งานเยอะและกว้าง อย่างเช่น Ethereum (ETH) เป็นต้น
ตัวอย่างเหรียญ Stablecoin แบบ Crypto – collateralized ได้แก่ DAI
ประเภทที่รองรับด้วยสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity – collateralized)
หลักการเหมือนกับประเภท ที่รองรับด้วยเงินเฟียต แต่แตกต่างกันตรงที่สินทรัพย์ที่เอาไว้ตรึงราคานั้นจะเป็นแร่หายาก เช่น เงิน น้ำมัน หรือแม้กระทั่ง อสังหาริมทรัพย์ แต่ที่พบบ่อยที่สุดจะใช้ทองคำ
ซึ่งทองคำเองก็มีแนวโน้มที่ราคาค่อยปรับตัวขึ้นมาตลอด เป็นเหมือนแรงจูงใจอย่างหนึ่งให้คนหันมาถือเหรียญ Stablecoin ที่มีทองคำรองรับกัน และเป็นการช่วยกระจายให้คนเข้ามาลงทุนในทองคำได้ด้วย
ตัวอย่างเหรียญ Stablecoin แบบ Commodity – collateralized ได้แก่ Tether Gold (XAUT) และ Paxos Gold (PAXG)
แบบใช้อัลกอริทึม (algorithmic stablecoins)
หรือที่บางคนอาจจะรู้จักกันอีกชื่อว่า Non – collateralized เพราะไม่ได้มีสินทรัพย์อะไรมารองรับ แต่จะใช้ระบบอัลกอริทึม อุปสงค์-อุปทาน และ Smart contract ในการควบคุมราคาและการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ให้เสถียรแทน
หลักการในการทำงานอย่างง่าย คือ ให้อัลกอริทึมตั้งค่าให้เหรียญมีมูลค่าอยู่ที่ 1$ เมื่อมีการซื้อเหรียญมากขึ้น อุปสงค์มากขึ้น ราคาสูงขึ้นมากกว่า 1$ ตอนนั้นเองที่ระบบจะสร้างเหรียญเข้ามาในตลาดเพิ่มขึ้นเพื่อให้มีอุปทานมากขึ้น และให้ราคาลดลงกลับมาอยู่ที่ 1$ เหมือนเดิม ในทางตรงกันข้าม ถ้าราคาลดลงต่ำกว่า 1$ ระบบจะทำลายเหรียญที่ค้างอยู่ในตลาดเพื่อให้มีอุปทานน้อยลง และให้ราคากลับมาอยู่ที่ 1$ เหมือนเดิม
ตัวอย่างเหรียญ Stablecoin แบบ None – collateralized ได้แก่ TerraUSD (UST), sUSD (SUSD)
ความสำคัญของ Stablecoins
นอกจากจะเอาไว้ใช้อ้างอิงมูลค่าของเหรียญคริปโทสกุลต่าง ๆ ยังเอาไว้เป็นที่พักเงินสำหรับนักลงทุนด้วย เพราะอย่างที่เราทราบกันดีว่าเหรียญต่าง ๆ นั้นมีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา สมมุติให้เราลองนึกภาพว่าเราเทรดเหรียญมาได้ 1 ETH ณ ราคา $1,000 แต่พอเวลาผ่านไปราคาตกลงไปที่ $800 แปลว่าเราขาดทุนไปแล้ว $200
แต่ถ้าเราเอา 1 ETH ที่ราคา $1,000 ไปพักเงินไว้ก่อนโดยการแลกเป็น stablecoin แม้ราคา ETH จะตกลงไปที่ $800 แต่มูลค่าพอร์ท และเงินของเราจะยังคงอยู่ที่ $1,000 เหมือนเดิม เราจะไม่มีการขาดทุน
แต่ในทางตรงกันข้าม การราคา ETH เพิ่มขึ้นมากกว่า $1,000 มูลค่าพอร์ท และเงินของเราจะยังคงอยู่ที่เดิม ไม่ได้เพิ่มขึ้นตาม แปลว่าเราเสียโอกาสในการทำกำไร แต่ยังดีกว่าการขาดทุน เพราะอย่าลืมว่าสิ่งสำคัญในการลงทุนนั้นคือ การรักษาเงินต้นไว้ให้ได้
สรุป
Stablecoins เป็นตัวช่วยให้การรทำธุรกรรมต่าง ๆ ในโลก Defi นั้นง่ายขึ้น เข้าใจง่ายขึ้น มองเห็นมูลค่าของเหรียญสกุลต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น และด้วยเหตุนั้นเอง ช่วยเพิ่มการกระจายอำนาจที่เป็นหัวใจหลักของ Defi และช่วยเพิ่มการเข้าถึงให้กับคนทั่วไปได้เข้ามาสู่โลกคริโทได้มากขึ้น
ต้องติดตามกันต่อไปว่าการใช้งานของ Stablecoins จะมีอะไรเพิ่มเติมขึ้นมากกว่านี้อีกหรือไม่? จะมีการเชื่อมเข้ากับการใช้จ่ายในโลกจริงมากกว่าเดิมหรือไม่? และจะเปลี่ยนแปลงโลกนี้ไปในทางไหนได้บ้าง?
อ้างอิง
https://www.gemini.com/cryptopedia/what-are-stablecoins-how-do-they-work
Pingback: กรณีศึกษาวิกฤต เหรียญ LUNA Last 2023 - EaForexCenter