ในโลกของการลงทุนและการเทรดนั้น การวัดความผันผวนของสินทรัพย์เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เราตัดสินใจเลือกสินทรัพย์ที่จะเทรดได้ง่ายขึ้น หนึ่งในเครื่องมือที่นิยมใช้ในการวัดความผันผวนคือ Average True Range (ATR) และเมื่อปรับเป็นเปอร์เซ็นต์ของราคาปัจจุบัน จะเรียกว่า ATR Percent (ATRP) ซึ่งช่วยให้สามารถเปรียบเทียบความผันผวนระหว่างสินทรัพย์ที่มีราคาต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากๆ ครับ
ATR และ ATR Percent คืออะไร?
ATR เป็นอินดิเคเตอร์ที่พัฒนาโดย J. Welles Wilder Jr. ในปี 1978 เพื่อวัดความผันผวนของราคาสินทรัพย์ โดยคำนวณจากค่าเฉลี่ยของช่วงการเคลื่อนไหวที่แท้จริงของราคาในช่วงเวลาที่กำหนด เช่น 14 วัน
ATR Percent (ATRP) คือ การนำค่า ATR มาหารด้วยราคาปัจจุบันของสินทรัพย์ แล้วคูณด้วย 100 เพื่อให้ได้ค่าความผันผวนในรูปแบบเปอร์เซ็นต์ ซึ่งช่วยให้สามารถเปรียบเทียบความผันผวนระหว่างสินทรัพย์ที่มีราคาต่างกันได้ดี
ATR percent คำนวณยังไง
ก่อนอื่น เราต้องมาคำนวณหาค่า ATR กันก่อนครับ โดยเราจะหาค่า Ture Range หรือ TR โดยให้คำนวณหา TR 1 ถึง TR 3 ก่อนดังนี้ครับ
-
- TR1 = Current High price – Previously Low price
- TR2 = Abs(Current High price - Previous Close price)
- TR3 = Abs(Current Low price - Previous Close price)
จากนั้นให้เราหาค่า TR อีกที โดยให้นำค่า TR 1 – 3 มาหาค่า Max นั่นเองครับ เมื่อเราได้ค่า TR มาแล้ว เราก็จะไปคำนวณหา ATR ตามสมการด้านล่างนี้
-
- ATRfirst = Average of TR (period n)
- ATR = [(Previous ATR * (n - 1) + TR] / n
ยกตัวอย่างอย่างเช่น ถ้าเราจะใช้ระยะ 14 แท่งเทียนย้อนหลัง ให้เรากำหนดค่า n = 14 ดังนั้นสมการก็จะเป็นแบบนี้ครับ
-
- ATRfirst = Sum of TR (period 14)
- ATR = [(Previous ATR * (14 - 1) + TR] / 14
เมื่อเราได้ค่า ATR แล้ว ให้เรามาคำนวณหา ATR percent ได้ง่ายๆ จากสมการด้านล่างเลยครับ
-
- ATR percent = (ATR / Close price) * 100
หมายเหตุ : เราจะใช้ราคาปิดของแท่งเทียนก่อนก็ได้ หรือ จะใช้ค่าราคาปัจจุบันก็ได้ ซึ่งผมแนะนำอันหลังมากกว่า เพราะเป็นค่าที่ Update สดใหม่ครับ
การเทียบความผันผวนระหว่างสินทรัพย์ด้วย ATR Percent
การใช้ ATR Percent ช่วยให้นักลงทุนสามารถเปรียบเทียบความผันผวนระหว่างสินทรัพย์ที่มีราคาต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น
-
- หุ้น A: ราคา 50 บาท, ATR = 5 เมื่อคำนวณแล้ว ATR% = (2.5 / 50) × 100 = 5%
- หุ้น B: ราคา 200 บาท, ATR = 8 เมื่อคำนวณแล้ว ATR% = (8 / 200) × 100 = 4%
แม้ว่า ATR ของหุ้น B จะสูงกว่าหุ้น A แต่เมื่อพิจารณาเป็นเปอร์เซ็นต์ของราคา หุ้น A กลับมีความผันผวนมากกว่าหุ้น B
ประโยชน์ของการใช้ ATRp
- การเปรียบเทียบความผันผวนระหว่างสินทรัพย์: ช่วยให้นักลงทุนสามารถเปรียบเทียบความผันผวนระหว่างสินทรัพย์ที่มีราคาต่างกัน
- การจัดการความเสี่ยง: ช่วยในการกำหนดขนาดการลงทุน และ Stop Loss ที่เหมาะสมตามความผันผวนของสินทรัพย์
- การวางกลยุทธ์การเทรด: ช่วยให้เราปรับกลยุทธ์การเทรดให้สอดคล้องกับระดับความผันผวนของตลาด
วิธีนำ ATRp เขียนลงใน fxDreema
- สร้าง Constants และ variables ตามรูปที่ 4
- สร้าง Block formula มาจำนวน 2 blocks เพื่อใส่สมการ ATRp (รูปที่ 4)
- ทำ Comment เพื่อโชว์ค่า ATRp
สรุป
การใช้ ATRp เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการวัดและเปรียบเทียบความผันผวนระหว่างสินทรัพย์ต่างๆ โดยไม่คำนึงถึงราคาของสินทรัพย์นั้นๆ ช่วยให้เราสามารถตัดสินใจและจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อ้างอิง
- StockCharts.com. (n.d.). Average True Range (ATR) and Average True Range Percent (ATRP). ChartSchool. Retrieved February 25, 2025, from https://chartschool.stockcharts.com/table-of-contents/technical-indicators-and-overlays/technical-indicators/average-true-range-atr-and-average-true-range-percent-atrp
- StrategyQuant. (n.d.). ATR percent. Retrieved February 25, 2025, from https://strategyquant.com/codebase/atr-percent/#description
- EaForexCenter. (n.d.). Average True Range (ATR) Forex. Retrieved February 25, 2025, from https://eaforexcenter.com/product/average-true-range-atr-forex/
- Dedicated Excel. (2024, March 28). Excel ATR Calculator. Retrieved February 25, 2025, from https://dedicatedexcel.com/2024/03/28/excel-atr-calculator/
"เริ่มต้นอย่างช้าๆ แต่ชัดเจน"
ให้เราได้ดูแลคุณ...
eaforexcenter.com