Average Directional Index (ADX) คืออะไร? วัดความแข็งแกร่งของแนวโน้ม

Average Directional Index (ADX) คืออะไร? วัดความแข็งแกร่งของแนวโน้ม
  • ตลาด Forex หรือหุ้น มักจะมีปัญหาใหญ่อยู่อย่างหนึ่งคือ "กราฟนี้มีแนวโน้มหรือเปล่า?" หรือถ้ามีแนวโน้ม "มันแข็งแกร่งพอให้เข้าเทรดไหม?"
  • ตรงนี้แหละที่ Average Directional Index (ADX) จะเข้ามาช่วยตอบคำถาม
  • ADX เป็นอินดิเคเตอร์ที่ ไม่ได้บอกทิศทางของราคา แต่จะบอกว่าแนวโน้มในปัจจุบัน แข็งแกร่งหรืออ่อนแอ เท่านั้น ซึ่งเป็นประโยชน์มากสำหรับเทรดเดอร์ที่ใช้กลยุทธ์ Trend Following หรือ Trend Trading

ที่มาของ ADX

  • ADX ถูกคิดค้นโดย Welles Wilder Jr. นักวิเคราะห์เทคนิคชื่อดัง ซึ่งเป็นคนเดียวกับที่พัฒนา Relative Strength Index (RSI), Average True Range (ATR), และ Parabolic SAR
  • Wilder ออกแบบ ADX ขึ้นมาเพื่อช่วยให้เทรดเดอร์สามารถแยกแยะได้ว่าแนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้นนั้น "จริง" หรือเป็นเพียงการแกว่งตัวแบบไม่มีทิศทาง (Sideway)

วิธีใช้งาน Average Directional Index (ADX)

รูปที่ 1 วิธีใช้งาน ADX ในการดูเทรนด์หรือแนวโน้ม
รูปที่ 1 วิธีใช้งาน ADX ในการดูเทรนด์หรือแนวโน้ม
  1. การใช้ ADX เพื่อหาความแข็งแกร่งของแนวโน้ม
  • ถ้า ADX < 20 → ตลาดไม่มีแนวโน้ม (Sideway)
  • ADX 20-25 → เรียกว่า Grey Zone
  • ถ้า ADX > 25 → ตลาดมีแนวโน้มที่แข็งแกร่ง

หมายเหตุ : เนื่องจากคำแนะนำนี้มีช่วง Wilder ไม่ได้ให้ความหมาย (20-25) หรือที่เรียกกันว่า Grey Zone ดังนั้น นักเทคนิคส่วนมากจึงปรับมาใช้ระดับที่ 20 เป็น Key level แทน

รูปที่ 2 วิธีใช้งาน ADX ในการดูทิศทางของราคา +DI / -DI (DMI)
รูปที่ 2 วิธีใช้งาน ADX ในการดูทิศทางของราคา +DI / -DI (DMI)
  1. การใช้ ADX + DI Crossover เพื่อเข้าเทรด
  • สัญญาณ Buy → เมื่อ +DI มากกว่า -DI และ ADX > 20 ขึ้นไป
  • สัญญาณ Sell → เมื่อ -DI มากกว่า +DI และ ADX > 20 ขึ้นไป
  • ตัวอย่างเงื่อนไข Buy
    • รอให้ +DI (เส้นสีเขียว) มากกว่า -DI (เส้นแดง)
    • ตรวจสอบว่า ADX มีค่ามากกว่า 30
    • ตั้ง Stop Loss และ Take profit ไว้ตามความเหมาะสม
  • ตัวอย่างเงื่อนไข Sell
    • รอให้ -DI (เส้นแดง) มากกว่า +DI (เส้นเขียว)
    • ตรวจสอบว่า ADX มีค่ามากกว่า 30
    • ตั้ง Stop Loss และ Take profit ไว้ตามความเหมาะสม

อ่านค่า ADX อย่างไร?

ค่า ADX และการตีความ

  • 0 - 20 : ตลาดไม่มีแนวโน้ม (Sideway)
  • 20 - 25 : แนวโน้มเริ่มก่อตัว
  • 25 - 50 : แนวโน้มแข็งแกร่ง (Trending)
  • 50 - 75 : แนวโน้มแข็งแกร่งมาก
  • 75 - 100 : แนวโน้มรุนแรง (อาจเกิดการกลับตัวเร็ว)

ใช้ ADX อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ?

  1. ถ้า ADX ต่ำกว่า 20 → หลีกเลี่ยงการเทรดแนวโน้ม รอให้ตลาดมีทิศทางชัดเจน
  2. ถ้า ADX สูงกว่า 25 → เทรดตามแนวโน้ม (ใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์อื่น เช่น Moving Average)
  3. ถ้า ADX สูงเกิน 50 → ระวังแรงซื้อ หรือ ขายทำกำไร อาจเกิดการกลับตัว

สูตรการคำนวณ Average Directional Index (ADX)

รูปที่ 3 ตัวอย่างการคำนวน ADX ผ่าน Excell โดย้างอิงจาก chartschool.stockcharts และ litefinance
รูปที่ 3 ตัวอย่างการคำนวน ADX ผ่าน Excell โดย้างอิงจาก chartschool.stockcharts และ litefinance

ขั้นตอนการคำนวณ ADX

  • TR (True Range) = ค่าสูงสุดระหว่าง
    • High วันนี้ - Low วันนี้
    • High วันนี้ – Close เมื่อวาน
    • Low วันนี้ – Close เมื่อวาน

โดยที่

  • First TR14 = Sum of first 14 periods of TR1
  • Second TR14 = First TR14 - (First TR14/14) + Current TR1
  • Subsequent Values = Prior TR14 - (Prior TR14/14) + Current TR1
รูปที่ 4 ตัวอย่างการคำนวน DM โดย้างอิงจาก chartschool.stockcharts
รูปที่ 4 ตัวอย่างการคำนวน DM โดย้างอิงจาก chartschool.stockcharts
  • คำนวณ DM (Directional Movement) เพื่อเอา DI
  • +DM (Positive Directional Movement)
    • Current High - Prior High มากกว่า Prior Low - Current Low
    • นำมาพิจารณาคือ เมื่อ Current High - Prior High มีค่าเป็นบวก จะนำไปใช้ในการคำนวน แต่ถ้าเป็นลบจะให้ค่า = 0
  • -DM (Negative Directional Movement)
    • Prior Low - Current Low มากกว่า Current High - Prior High
    • นำมาพิจารณาคือ เมื่อ Prior Low - Current Low ค่าเป็นบวก จะนำไปใช้ในการคำนวน แต่ถ้าเป็นลบจะให้ค่า = 0
  • First DM14 = Sum of first 14 periods of DM1
  • Second TR14 = First DM14 - (First DM14/14) + Current DM1
  • Subsequent Values = Prior DM14 - (Prior DM14/14) + Current DM1

หมายเหตุ: ถ้า +DM และ -DM เป็นค่าบวกทั้งคู่ ให้ใช้ค่าที่มากกว่าเพียงตัวเดียว และให้ค่าเป็นฝั่งนึงเป็น 0

หมายเหตุ: ถ้าเกิดกรณี +DM และ -DM ให้ค่าเป็นลบทั้งคู่ จะตีค่าเป็น 0 ทั้งคู่

  • คำนวณค่า +DI , -DI หรือ Directional Movement Indicator (DMI) ของ 14 วัน
    • +DI(14) = +DM (14) / TR (14) โดยที่ 14 คือค่ามาตรฐานในการรวมอยู่ที่ 14 วัน
    • -DI(14) = -DM (14) / TR (14) โดยที่ 14 คือค่ามาตรฐานในการรวมอยู่ที่ 14 วัน
    • ค่า n หมายถึงจำนวนวันที่ใช้คำนวณ (มักใช้ค่า 14 วัน)
  • คำนวณ DX (Directional Index)
    • DX=(∣ผลต่างของ+DI และ -DI∣/ ผลรวมของ+DI และ -DI)×100
  • คำนวณ ADX
    • First ADX14 = 14 period Average of DX
    • Second ADX14 = ((First ADX14 x 13) + Current DX Value)/14
    • Subsequent ADX14 = ((Prior ADX14 x 13) + Current DX Value)/14

ข้อควรระวังในการใช้ ADX

  • ADX ไม่ได้บอกทิศทางของแนวโน้ม → แค่บอกว่าแนวโน้มแข็งแกร่งแค่ไหน
  • ADX สูงมากเกินไป อาจเป็นสัญญาณกลับตัว → ถ้า ADX สูงกว่า 50 ควรระวังแรงขายทำกำไร
  • ADX ไม่เหมาะกับการเทรดไซด์เวย์ → ถ้า ADX ต่ำกว่า 20 ควรใช้กลยุทธ์อื่น เช่น RSI หรือ Bollinger Bands

ตัวอย่างการนำ adx เขียนลงใน fxDreema

รูปที่ 5 วิธีใช้งาน ADX ในการเขียน EA บน FXdreema
รูปที่ 5 วิธีใช้งาน ADX ในการเขียน EA บน FXdreema
รูปที่ 6 ผล Backtest ของการทำ ADX มาเขียน EA 1 ปีในคู่เงืน EURUSD
รูปที่ 6 ผล Backtest ของการทำ ADX มาเขียน EA 1 ปีในคู่เงืน EURUSD

สรุป

  • ADX เป็นอินดิเคเตอร์วัดความแข็งแกร่งของแนวโน้ม แต่ไม่ได้บอกทิศทางของแนวโน้ม
  • ADX > 25 หมายถึงแนวโน้มแข็งแกร่ง → ใช้เทรดตามแนวโน้ม
  • ADX < 20 หมายถึงตลาดไม่มีแนวโน้ม → หลีกเลี่ยงการเทรดแนวโน้ม
  • สามารถใช้งานร่วมกับ +DI และ -DI เพื่อหาจังหวะเข้าเทรด
  • ควรใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์อื่น เช่น Moving Average หรือ RSI เพื่อเพิ่มความแม่นยำ

อ้างอิง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *