Bollinger Bands คืออะไร ใน 15 นาที [รวมพื้นฐานทั้งหมด]

Bollinger Bands คืออะไร ใน 15 นาที [รวมพื้นฐานทั้งหมด]
  • Bollinger Bands (BB) คือ อินดิเคเตอร์ยอดนิยมที่ใช้วิเคราะห์แนวโน้มของตลาด
  • Bollinger Bands สามารถใช้วัดระดับความผันผวน และ บอกสัญญาณการซื้อ-ขายได้
  • ถูกพัฒนาโดย John Bollinger ในปี 1980 และได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย

ประวัติของ Bollinger Bands คือ

  • 1980: John Bollinger พัฒนา Bollinger Bands
  • 1983: นำเสนอเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ตลาด
  • 1990: ได้รับความนิยมจากรายการและบทความด้านการเงิน
  • 2011: 'Bollinger Bands' ถูกจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้า
  • ปัจจุบัน: ถูกใช้ในตลาดหุ้น ฟอเร็กซ์ และคริปโตเคอร์เรนซี

สูตรคำนวน Bollinger Bands คือ

รูปที่ 1 การอธิบายองค์ประกอบหลักของและสูตรคำนวน Bollinger Band
รูปที่ 1 การอธิบายองค์ประกอบหลักของและสูตรคำนวน Bollinger Band
  • Middle Band (เส้นกลาง): ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเรียบ (SMA)
    • Middle Band = SMA(n)
  • Upper Band (เส้นบน): SMA + [ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) x 2]
    • Upper Band = SMA(n) + (SD x 2)
  • Lower Band (เส้นล่าง): SMA - [ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) x 2]
    • Lower Band = SMA(n) - (SD x 2)
  • N คือจำนวนวันที่ใช้ในการคำนวน โดยจะมี ค่ามาตรฐาน 20 วัน
  • SD ค่าเท่ากับ (∑(x-xbar)^2)/n-1)

การตั้งค่า Bollinger Bands ให้เหมาะสม

รูปที่ 2 การตั้งค่า Bollinger Bands ให้เหมาะสมและการปรับค่า Standard Deviation
รูปที่ 2 การตั้งค่า Bollinger Bands ให้เหมาะสมและการปรับค่า Standard Deviation
  • ค่า Period ที่แนะนำ
    • Scalping (เทรดสั้น): Period 9-12 และ SD 2
    • Day Trading (รายวัน): Period 20 และ  SD 2
    • Swing Trading (ระยะกลาง): Period 20-30 และ SD 2
  • ปรับค่า Standard Deviation
    • ค่า SD 2 [แนะนำ] ครอบคลุม 95.45% ของการเคลื่อนไหวของราคา
    • ค่า SD 1 ใช้สำหรับตลาดที่มีความผันผวนต่ำ ครอบคลุม 68.27%
    • ค่า SD 3 ใช้สำหรับตลาดที่มีการแกว่งตัวรุนแรง ครอบคลุม  99.73%

 

ขั้นตอนการใช้งาน Bollinger Bands ขั้นพื้นฐาน

รูปที่ 3 รูปภาพขั้นตอนการใช้งาน Bollinger Bands ขั้นพื้นฐาน
รูปที่ 3 รูปภาพขั้นตอนการใช้งาน Bollinger Bands ขั้นพื้นฐาน
  1. ใช้วัดความผันผวนของตลาด
  • แถบกว้างขึ้น = ความผันผวนสูง
  • แถบแคบลง = ความผันผวนต่ำ (Bollinger Squeeze)
  1. ระบุจุด Overbought และ Oversold
  • ราคาชน Upper Band = Overbought (มีโอกาสปรับตัวลง)
  • ราคาชน Lower Band = Oversold (มีโอกาสปรับตัวขึ้น)
  1. ใช้ Middle Band เป็นแนวรับ-แนวต้าน หรือ ดูแนวโน้มของราคา
  • Middle Band = SMA ซึ่งช่วยระบุแนวโน้มระยะสั้นได้ในกรณีที่เราปรับค่าตามมาตรฐานคือ 20 วัน
  • สามารถใช้เป็น เป็นแนวรับ-แนวต้าน ได้เช่นเดียวกัน

ข้อควรระวังในการใช้ Bollinger Bands

รูปที่ 4 รูปภาพแสดงถึงข้อควรระวังในการใช้ Bollinger Bands
รูปที่ 4 รูปภาพแสดงถึงข้อควรระวังในการใช้ Bollinger Bands
  • False Breakouts: ราคาทะลุกรอบ BB ไม่ได้หมายถึงการกลับตัวเสมอไป
  • ต้องใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์อื่น: RSI, MACD, Volume ช่วยเพิ่มความแม่นยำ
  • ระวังการตั้งค่าที่ไม่เหมาะสม: ค่าพารามิเตอร์ที่ผิดอาจนำไปสู่การวิเคราะห์ที่ผิดพลาด

การเทรดด้วย Bollinger Bands ควบคู่กับ Breakout

รูปที่ 5 กลยุทธิ์การใช้งาน Bollinger Bands ควบคู่กับ Breakout ในการออกออเดอรฺประเภท Buy
รูปที่ 5 กลยุทธิ์การใช้งาน Bollinger Bands ควบคู่กับ Breakout ในการออกออเดอรฺประเภท Buy

กลยุทธ์ Breakout Bollinger Bands

  1. ราคาทะลุ Upper Band หรือ Lower Band อาจบ่งบอกได้ถึงการเคลื่อนไหวที่รุนแรง ทำให้สามารถ ออกออเดอร์ Buy / Sell ได้ตามตัวอย่าง
  2. คำนวนผลต่างของเส้น Upper และ Lower Band เพื่อนำไปใช้เป็นจุด SL
  3. เมื่อได้ค่า SL แล้วเราจะนำมาคำนวนหา TP โดยจะใช้ที่ 2 เท่าของระยะ SL
  4. ถ้าชนะให้ปิดออเดอร์ แต่ ถ้าแพ้ให้ทำการมาติงเกล 2 เท่า

การเขียน EA โดยการใช้พื้นฐาน Bollinger Bands

รูปที่ 6 อธิบายขั้นตอนการเขียน EA โดยการใช้พื้นฐาน Bollinger Bands ของออเดอร์ประเภท Buy
รูปที่ 6 อธิบายขั้นตอนการเขียน EA โดยการใช้พื้นฐาน Bollinger Bands ของออเดอร์ประเภท Buy
  • การออกออเดอร์ Buy
    • เริ่มต้นใช้ บล็อก No trade Buy/Sell
    • ใช้บล็อก Condition กำหนดให้ Candle ID X> Upper Bollinger Bands
    • ใช้บล็อก Formula คำนวนผลต่าง Upper และ Lower Band เก็บค่าลงตัวแปร
    • ใช้บล็อก Buy ออกออเดอร์แบบมาติงเกล
  • การออกออเดอร์ Sell ทำตรงข้ามกับ ออเดอร์ Buy
รูปที่ 7 ผลการ Backtest ของ EA โดยการใช้พื้นฐาน Bollinger Bands คู่เงิน EURUSD H1 ระยะเวลา 1 ปี real tick 100%
รูปที่ 7 ผลการ Backtest ของ EA โดยการใช้พื้นฐาน Bollinger Bands คู่เงิน EURUSD H1 ระยะเวลา 1 ปี real tick 100%

สรุป

  • Bollinger Bands เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด
  • สามารถช่วยระบุจุดกลับตัว จุด Breakout และความผันผวนของราคา
  • ควรใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์อื่นและปรับค่าให้เหมาะสมกับตลาด

อ้างอิง

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *