Crypto พื้นฐาน สำหรับมือใหม่ที่อยากเริ่มการลงทุน

Crypto พื้นฐาน สำหรับมือใหม่ที่อยากเริ่มการลงทุน

การลงทุนใน Cryptocurrency ถือเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆตั้งแต่การเกิดวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด แต่ก็ได้มีบางคนที่ต้องออกจากการลงทุนประเภทนี้ไปด้วยปัจจัยหลายๆอย่าง ถึงแม้สถานการณ์ตลาดคริปโทโลกในปัจจุบันนี้อาจจะไม่ได้คึกคักเหมือนเมื่อก่อน แต่ก็เป็นธรรมดาของวัฏจักรของการลงทุน

บทความนี้เหมาะกับคนนักลงทุนมือใหม่ ที่มองเห็นโอกาสที่จะเริ่มต้นในจุดที่เหมาะสม และเหมาะกับคนที่อยากทบทวนตัวเอง และกลับมาลงทุนในคริปโตอีกครั้งหนึ่ง โดยเริ่มจากสิ่งพื้นฐานสุดที่ควรรู้ก่อนเริ่มลงทุน รับรองว่าได้อะไรกลับไปต่อยอดได้อย่างแน่นอน

ผู้ที่แข็งแกร่งคือผู้ที่กล้ายิ้มให้ความทุกข์ ผู้ที่มีความสุขคือผู้ที่หัวเราะให้อุปสรรค


สำรวจตัวเอง

ก่อนที่จะเข้าเรื่องคริปโต เราต้องสำรวจ และตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่า ทำไมเลือกที่จะลงทุนใน Crypto และ เรามีเป้าหมาย หรือ คาดหวังอะไรกับการลงทุนใน Crypto เพราะการลงทุนบนโลกนี้นั้นมีหลายรูปแบบ แต่การลงทุนบางอย่างอาจไม่เหมาะกับคนบางกลุ่ม เพราะฉะนั้นแล้ว เราต้องเลือกการลงทุนให้เหมาะกับการใช้ชีวิต และนิสัยของเราด้วย

ปัจจัยที่เราควรสำรวจตัวเองในการลงทุน เช่น ตัวเลขผลตอบแทน ระยะเวลาที่สามารถทำกำไร ความเสี่ยง เงินทุน เป็นต้น ซึ่งปัจจัยต่างๆ หากมองในเชิงการลงทุนใน Cryotocurrency แล้ว ตัวเลขผลตอบแทนมีตั้งแต่ 0 ไปจนถึงไม่มีเพดาน ระยะเวลาที่สามารถทำกำไรมีได้ตั้งแต่ 1ชั่วโมง ไปจนถึงหลายปี มีความเสี่ยงมากมายรอบด้าน เงินทุนแล้วแต่ใจเรา ไม่มีขั้นต่ำ ไม่มีขั้นสุด

หากเรายอมรับกับเงื่อนไขและภาพรวมของการลงทุน Cryptocurrency ได้แล้ว ก็ไปกันต่อกับหัวข้อต่อไปได้เลย

นิสัยการลงทุนของตัวเอง

นักลงทุนใน Cryptocurrency ในนั้นมีมากมาย แต่ละคนมีรูปแบบและสไตล์การลงทุนเป็นของตัวเอง แต่เราก็สามารถแบ่งรูปแบบการลงทุนตามนิสัยของนักลงทุนหลักๆได้ดังนี้

1.นักลงทุนสายพื้นฐาน (Valied Investor)

เป็นคนที่ติดตามข่าวสาร และอ่านเอกสารต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับข้อมูลที่อยู่เบื้องหลังเหรียญนั้น การทำงาน แนวโน้มการเติบโต

2.นักลงทุนสายเทคนิค (Technical Analysis)

เป็นคนที่ต้องศึกษารูปแบบกราฟในสถานการณ์ต่าง ๆ ควบคู่กับการศึกษาการใช้ Indicator ต่างๆในการวิเคราะห์ จุดเข้าออกเพื่อทำกำไร

3.นักลงทุนสายผสม (Hybrid)

เป็นการใช้ทักษะของสายพื้นฐาน กับ สายเทคนิคเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจช่วยให้การคาดการราคา และจังหวะเข้าทำกำไรได้มีความแม่นยำมากขึ้น

4.นักลงทุนสาย DCA (Data Coat Average)

สำหรับคนที่ไม่มีเวลา หรือ ต้องการใช้เป็นพอร์ทสำหรับการออมเงิน DCA คือการแบ่งเงินจำนวนหนึ่งมาลงทุนในทุกๆเดือน ในจำนวนเงินเท่าเดิม โดยไม่สนใจราคา ณ ขณะนั้นว่าจะอยู่ที่เท่าไหร่

รูปที่ 1 กาสำรวจความต้องการ เป้าหมาย และนิสัยการลงทุนของตัวเอง สามารถช่วยให้การลงทุนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
รูปที่ 1 กาสำรวจความต้องการ เป้าหมาย และนิสัยการลงทุนของตัวเอง สามารถช่วยให้การลงทุนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Cryptocurrency คืออะไร?

“Cryptocurrency” หรือ สกุลเงินดิจิทัล ทำหน้าที่เหมือนกับ เงินเฟียต (ค่าเงินปกติที่ใช้นแต่ละประเทศ เช่น เงินบาท เงินดอล์ล่า) บุคคลทั่วไป หรือเอกชนสามารถเป็นผู้ผลิตสกุลเงินเองได้ อยู่ในรูปแบบดิจิทัล ไม่สามารถจับต้องได้ มูลค่าของสกุลเงินนั้นๆ จะขึ้นอยู่กับจำนวนคนที่เข้ามาใช้เงินสกุลนั้น ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะยังไม่สามารถใช้ Crypto ในการซื้อสินค้าและบริการ หรือ ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายได้ ยังจำกัดวงการใช้อยู่ในแค่เชิงการลงทุนแค่อย่างเดียว

Cryptocurrency ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นภายใต้เครือข่ายระบบจัดเก็บข้อมูลที่เรียกว่า Blockchain ซึ่งแต่ละ Blockchain จะมีสกุลเงินเป็นของตัวเอง เช่น blockchain ของ Bitcoin ก็จะมีเหรียญ BTC, blockchain ของ Ethereum มีเหรียญ ETH, blockchain ของ Binance มีเหรียญ BNB เป็นต้น

Blockchain คืออะไร?

Blockchain คือ ระบบการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ ที่ทำงานอยู่เบื้องหลังความเคลื่อนไหวทุกอย่างของ Cryptocurrency ซึ่งมีหลักการทำงานที่เอกลักษณ์คือ กระจายศูนย์ หมายถึงว่าไม่มีเซิร์ฟเวอร์หลักในการเก็บข้อมูลเหมือนองค์กรหรือการจัดเก็บข้อมูลแบบทั่วไป คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่อยู่ในระบบสามารถเป็น hub ในการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูลได้หมด เป็นสำเนาซึ่งกันและกัน ซึ่งทุกธุรกรรมที่เกิดขึ้น ทุกคนสามารถรับรู้ และตรวจสอบได้  เข้าถึงได้ทุก Wallet

เมื่อไม่มีศูนย์กลางแล้ว การแฮกข้อมูลเพื่อแก้ไข หรือเปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ จึงทำได้ยากมาก ๆ ในทางทฤษฎีแล้วเราสามารถแฮกได้ก็จริง โดยการเข้าควบคุมคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระบบ blockchain ให้ได้มากกว่า 50% เพื่อทำการโหวตอนุมัติการแก้ไขข้อมูล แต่นั่นก็เป็นแค่ทฤษฎี ในความเป็นจริงเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าคอมพิวเตอร์ในระบบมีเท่าไหร่ และต้องแฮกกี่เครื่อง

ดังนั้นแล้ว ด้วยเหตุผลที่เราได้เล่าให้ฟัง ทำให้ blockchain ได้ขึ้นชื่อว่ามีความปลอดภัย ไม่สามารถปกปิด ซ่อน แก้ไข ลบ ข้อมูลใดๆที่ถูกบันทึกลงไปแล้วได้ ทำให้มีความน่าเชื่อถือมากๆ

รูปที่ 2 เทคโนโลยี Blockchain เป็นระบบการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ที่ทำงานอยู่เบื้องหลัง Cryptocurrency
รูปที่ 2 เทคโนโลยี Blockchain เป็นระบบการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ที่ทำงานอยู่เบื้องหลัง Cryptocurrency

ประเภทของเหรียญ Cryptocurrency

เหรียญก็เช่นเดียวกันกับนะกลงทุนที่มีหลายประเภท ซึ่งเราแบ่งประเภทใหญ่ๆออกมาได้ ดังนี้

1.Stablecoin

เป็นเหรียญที่มีความผันผวนน้อยมาก (ไม่เกิน 1%) ทำหน้าที่เป็นเหมือนตัวกลางในการเทียบมูลค่าของเหรียญต่างๆ โดยส่วนมากแล้ว Stablecoin มักอิงราคาจากค่าเงินดอลล์ล่าสหรัฐ ตัวอย่างเหรียญ เช่น USDT, USDC, DAI

2.Smart Contract

เป็นเหรียญที่มาพร้อมกับ Blockchain ของมัน หรือ เป็นเหรียญประจำ Blockchain นั้น ๆ มีหน้าที่ เช่น ใช้เป็นค่าแก๊ส ใช้ในการ stake ตัวอย่างเหรียญได้แก่ BNB, ETH, SOL

3.Defi (Decentralized)

เป็นเหรียญประจำแพลตฟอร์มของ Dex ต่าง ๆ มีหน้าที่คล้ายๆกับเหรียญ Smart contract แต่ไม่ได้ถูกใช้เป็นค่าแก๊ส ตัวอย่างเหรียญ เช่น UNI, CAKE, 1INCH

4.Game-Fi (Game-Finance)

เป็นเหรียญที่ใช้ในเกมที่อยู่ใน Defi ส่วนใหญ่แล้วใช้ซื้อของต่าง ๆ ภายในเกม แต่ก็สามารถนำไปขายในตลาดได้ด้วย

5.Meme Coin

เป็นเหรียญที่ไม่มีพื้นฐานหรือการใช้งานใด มูลค่าค่อนข้างผันผวนสูง แต่ก็สามารถสร้างกำไรได้หากรู้จุดและจังหวะที่เหมาะสม

หากเลือกประเภทของเหรียญให้เข้ากับนิสัยการลงทุนของตัวเอง ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุนได้ เช่น การ DCA ในเหรียญ ประเภท Smart Contract หรือ การใช้กราฟเทคนิดในการเทรด Meme Coin

คำศัพท์น่ารู้ของ Crypto

ศัพท์ในวงการ Crypto บางคำก็คล้ายๆกับวงการลงทุนทั่วไป แต่บางคำก็ใช้เฉพาะในวงการ Crypto เท่านั้น ศัพท์ที่เราจะมาแนะนำในวันนี้อาจจะไม่ได้เยอะมากเพราะมันจะยาวจนเกินไป แต่จะยกตัวอย่างศัพท์ที่พบเจอและมีการใช้บ่อยๆมาให้ทุกคน ส่วนใครอยากรู้มากกว่านี้ ไปตามอ่านกันต่อได้ที่ คำศัพท์ Defi  ของเราได้เลย

Airdrop : คือรางวัลที่ผู้ใช้งานได้รับจากแพลตฟอร์มจากการร่วมกิจกรรมหรือทำเงื่อนไขต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ อาจมาในรูปแบบ Token หรือ NFT ก็ได้

APY : Annual Percentage Yeild คือ ผลตอบแทนที่จะได้รับ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อปีแบบ “ดอกเบี้ยทบต้น”

APR : Annual Percentage Rate คือ ผลตอบแทนที่จะได้รับ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อปีแบบ “ดอกเบี้ยไม่ทบต้น”

Dex : Decentralized Exchange คือ กระดานซื้อขายเหรียญ หรือแพลตฟอร์มที่เอาไว้แลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลที่ไร้ตัวกลาง

FOMO : การเข้าซื้อแบบอุปทานหมู่ หรือพูดง่ายๆคือ เห็นคนอื่นซื้อ คนอื่นว่าดีเลยซื้อตามแบบไม่คิดมาก

Gass fee : ค่าธรรมเนียมที่ใช้ในการทำธุรกรรมต่าง ๆ

ICO : Innucial Coin Offering เหมือนกับ IPO ของหุ้น แต่อันนี้อยู่ในรูปแบบเหรียญ Crypto

Laverage : การยืมเงินโบรกเกอร์มาช่วยในการลงทุน ทำให้นักลงทุนใช้เงินจำนวนน้อย แต่ได้ผลตอบแทนจำนวนมาก เปรียบเสมือน เครื่องทุ่นแรง

Staking : การตรวจสอบธุรกรรมโดยการวางเงินประกัน คือการที่oeเหรียญไป Stake หรือวางค้ำประกันไว้บน Dex ต่างๆ เพื่อรับผลตอบแทนจากการตรวจสอบธุรกรรมได้

รูปที่ 3 คำศัพท์ที่ใช้ในวงการ Crypto บางคำเป็นคำเฉพาะ บางคำเป็นคำที่ยืมมาจากวงการหุ้น หรือวงการใกล้เคียง
รูปที่ 3 คำศัพท์ที่ใช้ในวงการ Crypto บางคำเป็นคำเฉพาะ บางคำเป็นคำที่ยืมมาจากวงการหุ้น หรือวงการใกล้เคียง

ความเสี่ยงที่ต้องระวัง

ถึงแม่ตัว Blockchain จะมีความปลอดภัยในตัวของมันเอง แต่ในมิติอื่น ๆ แล้วยังมีความเสี่ยงที่สามารถทำให้เราสูญเสียเงินทุนของเราได้อยู่ จะมีเรื่องอะไรบ้าง ไปดูกันต่อได้เลย

ความเสี่ยงโดน Scam

เสี่ยงโดน Scam หรือเปล่ามิจฉาชีพที่เป็นบุคคลที่ 2 อย่างตัวแพลตฟอร์มหรือตัวโปรเจกต์เอง หรือบุคคลที่ 3 ที่เป็นคนที่เราไม่รู้จัก ซึ่งเราก็ต้องศึกษาให้รอบด้านว่า เหล่า Scam นั้นมีกี่แบบ  และจะมาไหนรูปแบบไหนบ้าง และเมื่อเรารู้แล้ว ก็ต้องหาวิธีป้องกัน ตัวเองไว้ด้วย

ความเสี่ยงด้านราคา

ราคาของเหรียญ Crypto ได้ขึ้นชื่อว่ามีความผันผวนมาก ๆ (ไม่ทุกเหรียญ) ด้วยปัจจัยหลายๆอย่างที่มีความเกี่ยวข้องกับราคา เช่น เศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับเหรียญในอุตสาหกรรมนั้น แนวทางและการทำงานของผู้สร้างเหรียญนั้น ความนิยมในเหรียญ การปั่นราคา และอื่น ๆ

ความเสี่ยงในตัวเอง

หลายคนคงสงสัยว่า ตัวเราเองมีความเสี่ยงยังไง? มีแน่นอนหากว่าเราไม่มีความรู้ในการลงทุนนั่นเอง การลงทุนแบบหลังหูหลับตา หรือ ฟังจากคนอื่นเพียงอย่างเดียวไม่เรียกว่าการลงทุน การที่เรามีความรู้ในการลงทุนจะช่วยลดความเสี่ยงได้ในอื่น ๆ มาก เช่น ป้องกันและรู้ทันเหล่ามิจฉาชีพได้ หรือ คาดการราคา และรับมือกับความผันผวนได้

รูปที่ 4 การลงทุนที่ดีควรมีการจัดการความเสี่ยง เพื่อรักษาเงินต้นไว้ให้ได้ และเสียเงินให้น้อยที่สุด
รูปที่ 4 การลงทุนที่ดีควรมีการจัดการความเสี่ยง เพื่อรักษาเงินต้นไว้ให้ได้ และเสียเงินให้น้อยที่สุด

ภาษี Crypto

หลายคนอาจจะไม่ได้คำนึงถึงการที่เราต้องจ่ายภาษี Crypro  จะรู้ตัวอีกทีก็ตอนที่จะถูกตรวจสอบ ทำให้เราอาจจะโดนภาษีย้อนหลังได้ ภาษีเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และต้องทำความเข้าใจ แต่ว่ามันจะเป็นผลประโยชน์กับตัวเรา

ในกรณีของภาษี Crypto นั้นก็ถือว่าค่อนข้างมีความซับซ้อนอยู่เล็กน้อย โดยกำไรที่เราได้นั้น จะแบ่งเป็นเงินได้มาตราต่าง ๆ ตามกิจกรรมที่ได้ถูกแบ่งเอาไว้ แต่ก็ยังมีเงื่อนไขของแต่ละประเภทอีก เป็นเรื่องที่เราต้องไปศึกษาต่อ

ข้อแนะนำถึงผู้เริ่มต้นใหม่

ให้เวลาตัวเองในการศึกษาสิ่งต่าง ๆ ก่อน อย่ารีบเพราะกลัวว่าจะไม่ทันคนอื่น อย่าลืมว่ามันคือการลงทุน ไม่ใช่การแข่งขัน เมื่อมีความรู้ในระดับหนึ่งแล้ว ค่อยเริ่มใช้เงินส่วนน้อยที่สุดจะเสียได้เริ่มต้นในการลงทุน เพื่อเป็นการลองตลาดของจริง และให้เราได้ลองใช้ความรู้ที่ได้มา หากว่าเสีย ก็จะได้เสียในจำนวนที่เราไม่เสียดาย

อย่าลงในตัวเลขกำไรที่คนอื่น ๆ ได้โชว์ให้เราเห็น อย่ายุ่งกับเหรียญซิ่งทั้งหลาย อย่าคิดว่าตัวเองรู้มากแล้ว อย่าคิดว่าการที่เราทำกำไรได้ในครั้งนี้ จะสามารถทำได้อีกในครั้งหน้า มีการจัดการความเสี่ยงที่ดี (Risk Management) มีการจัดการการเงินที่ดี (Money Management)

เราอยากเน้นย้ำในเรื่องของการจัดการความโลภของตัวเอง เพราะแน่นอนว่าสำหรับมือใหม่แล้ว ส่วนใหญ่ต้องการอะไรที่เห็นผลได้ชัด และรวดเร็วๆ เลยใช้เงินเยอะกว่าความรู้ ขาดการวางแผนที่ดี ซึ่งเป็นสาเหตุให้ต้องพ่ายแพ้และออกจากตลาดไปอย่างน่าเสียดาย ต่อให้เป็นนักลงทุนหน้าเก่าเอง ในบางครั้งพวกเขาก็ต้องแพ้ให้กับตลาดเช่นกัน

สรุป

หัวข้อที่ได้อ่านไปนั้นเป็นแค่พื้นฐานแรกสุดที่นักลงทุนมือใหม่ควรจะรู้ไว้ แต่ก็ยังไม่ใช่ทั้งหมด ยังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องไปศึกษาต่อให้กว้าง และลึกกว่านี้ ลงทุนกับตัวเองให้เพียงพอ แล้วค่อยนำไปต่อยอดเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับตัวเอง อาจจะมีช่วงเวลาที่ลำบากบ้าง Investplanet ขอเป็นกำลังใจให้กับนักลงทุนทุกคนสามารถไปถึงเป้าหมายที่ตัวเองตั้งไว้ได้

อ้างอิง

https://www.coindesk.com/learn/what-is-a-51-attack/

 

 

1 thoughts on “Crypto พื้นฐาน สำหรับมือใหม่ที่อยากเริ่มการลงทุน

  1. Pingback: 12 วิธีเลือกกระดานเทรด Cryptocurrency สำหรับมือใหม่ - EaForexCenter

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *