วิธีเขียน Basic Heiken Ashi EA

สอนเขียน ea heiken-ashi

วันนี้เรามา สอนเขียน EA Heiken Ashi ขั้นพื้นฐานด้วยการใช้ indicator ที่ชื่อว่า Heiken-Ashi กันครับ.. ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ Heiken-Ashi กันก่อนดีกว่า [ต่อจากนี้ไปผมจะขอย่อชื่อ Heiken-Ashi ว่า HA นะครับ]

Indicator HA ตัวนี้มาจากญี่ปุ่นครับ โดยรากศัพท์ของมันมาจากคำนว่า Heikin ที่มีความหมายในภาษาญี่ปุ่นว่า “ค่าเฉลี่ย” ส่วนคำว่า Ashi มาจากคำว่า “เท้า” ซึ่งคนญี่ปุ่นเขามักจะไม่แปลตรง ๆ ตัว ไม่งั้นจะกลายเป็นค่าเฉลี่ยเท้าไป….

ซึ่งผู้เขียนขอเดามั่ว ๆ เอาว่า เท้า คือวิ่งที่ทำให้คนเคลื่อนที่ได้ ในบริบทนี้มันน่าจะแปลว่า “เคลื่อนไหว” มากกว่า ดังนั้นผู้เขียนจึงขออนุมานเอาว่า Heikin-Ashi หรือ Heiken-Ashi แปลว่า “การเคลื่อนไหวของค่าเฉลี่ยราคา”

HA คือ รูปแบบแท่งเทียนที่ถูกสร้างขึ้นมาให้โดยการใช้ราคาเปิด ราคาปิด ราคาสูงสุด และราคาต่ำ มาคำนวณใหม่เพื่อให้เรามองเห็นบางสิ่งบางอย่างได้ชัดเจนขึ้น

จุดเด่นของ HA คือ ความสามารถลด Noise การแกว่างตัวของราคาได้ระดับหนึ่ง ซึ่งส่งผลให้เราสามารถมองเห็นแนวโน้มหรือเทรนได้ดีขึ้นนั่นเองครับ

HA จะสามารถคำนวณได้ 4 แบบหลัก ๆ ได้แก่ Heiken-Ashi Close, Heikin-Ashi Open, Heikin-Ashi High, Heikin-Ashi Low เป็นต้น โดยบทความนี้เราจะมาโฟกัสที่ Heiken-Ashi Close ครับ

สมการสำหรับ Heiken-Ashi Close

ก่อนอื่นให้เราทำความเข้าใจเกี่ยวกับนับแท่งเทียนเบื้องต้นแบบนี้ครับว่า 0 = แท่งปัจจุบัน ซึ่ง HA Close จะเป็นการนำค่าเฉลี่ยนของ open price, high price, low price, close price ของแท่งเทียนปัจจุบัน มาคำนวณตามสมการนี้ครับ

 

HA-Close = (Open(0) + High(0) + Low(0) + Close(0)) / 4

 

ระบบเทรด EUR/USD ด้วย Heiken Ashi

บทความนี้เราจะมาสอนเขียน EA ที่เทรดคู่เงิน EUR/USD บน Time Frame H1 ครับ โดยเราจะมีแจกไฟล์ .mq4 ให้ท้ายบทความ หากเพื่อน ๆ ท่านใดลองเขียนตามแล้วทำไม่ได้ก็สามารถเข้าไปโหลดไฟล์เพื่อเป็น Reference ได้ครับ

การเข้า Buy ด้วย Heiken Ashi
รูปที่ 1 ตัวอย่างการเข้า Buy ด้วย Heiken Ashi

เงื่อนไขการเข้า Buy

  1. ให้ HA indicator ระบุแท่งเทียน id 1 เป็น Bullish candle หรือ แท่งเทียนสีเขียว โดยให้แท่งเทียนก่อนหน้าเป็นแท่งเทียนสีแดง หรือ Bearish candle
  2. ตั้ง SL 20 pips
  3. ตั้ง TP 60 pips
  4. วิธีการออก Lot size จะเป็นแบบ Martingale x 1.5

เงื่อนไขการเข้า Sell

  1. ให้ HA indicator ระบุแท่งเทียน id 1 เป็น Bearish candle หรือ แท่งเทียนสีแดง โดยให้แท่งเทียนก่อนหน้าเป็นแท่งเทียนสีเขียว หรือ Bullish candle
  2. ตั้ง SL 20 pips
  3. ตั้ง TP 60 pips
  4. วิธีการออก Lot size จะเป็นแบบ Martingale x 1.5

Set up Constants (Inputs) และ Variables

เรามาดู Trading setup กันดีกว่า ว่าเราจะตั้งค่า Constants ยังไงดี และมี Variables ที่จำเป็นต้องใช้ไหม

ตารางที่ 1: แสดงค่า Constants และ Variables ที่ใช้กับ EA ตัวนี้

Constants (Inputs)

Type

Name

Value

string Money_management =================
double Multiply_loss 1.5
double Lot_size 0.01
double SL 20
double TP 60
string Markets_Time =================
string Start 01:00
string End 23:00
string Spread_Filter =================
double Spread_in_pips 1

Variables

Type

Name

Value

 

มาเริ่มเขียน EA กัน

ขั้นแรกเราจะให้ EA เริ่มเทรดในช่วงที่ตลาดเปิดแล้วเนื่องจากค่า Spread จะไม่ถ่างมาก ซึ่งปกติแล้วก็หลัง 01:00 เป็นต้นไปมันก็เริ่มเข้าที่เข้าทางละ แต่ใครใช้ GMT ไหนก็บวกลบไปแต่ละโบรกนะครับ ส่วนผู้เขียนทดสอบกับโบรก A-markets ที่ใช้ GMT+2 ครับ

จากนั้นให้เราใส่ block no trade เพื่อบอก EA ว่า ถ้ามีไม้ buy หรือ sell อยู่ ห้ามส่งคำสั่งลงไป block ข้างล่างต่อนะ

โดยการใช้ Heiken-Ashi ใน fxDreema จะพิเศษกว่าการใช้อินดี้อื่นไปซักหน่อยเพราะมันเป็นการวาด Candlestick ใหม่ทับลงไปบน Chart ของเรา

ดังนั้น block condition ทั่วไปจะมองไม่เห็นครับ เราจึงต้องใช้ block Indicator is visible เพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานนั่นเอง ส่วนวิธีตั้งนั้นเป็นยังไง ขออธิบายไปตามรูปเลยก็แล้วกันครับ

การเขียน EA ด้วยการใช้ Heiken-Ashi
รูปที่ 2 แสดงตัวอย่างการเขียน EA ด้วยการใช้ Heiken-Ashi

หากเพื่อน ๆ ท่านใดอยากเรียนรู้รายละเอียดการทำงานของแต่ละ Block ภายใน fxDreema และไอเดียการเขียน EA อื่น ๆ สามารถเข้ามาซื้อ e-book ได้ที่ [Click]

ลอง Backtest ดูการทำงานกัน

เราจะเห็นได้ว่าระบบเทรดนี้ส่วนมากจะชน SL บ่อย ซึ่งเราแก้ด้วยการบริการเงินแบบ Martingale และการปรับ TP ให้เป็น 3 เท่าของ SL นั่นหมายความว่า หากแพ้ติดต่อกัน 3 ครั้ง หากเทรดด้วย Lot size เท่าเดิม Balance ของเราก็จะอยู่ในระดับเดิม (ก่อนเทรดแพ้ครั้งแรก)

แต่ในกรณีนี้เราใช้ Martingale เข้ามาด้วย ต่อให้เราเทรดแพ้ 3 ครั้งติดต่อกันแล้วไปชนะครั้งที่ 4 เราจะได้กำไรในส่วนต่างของ lot size ที่โตขึ้นบวกกับระยะ TP ที่เป็นสามเท่าของ SL ส่งผลให้พอร์ตเราเติบโตตามลำดับครับ

การทำงานของ EA ที่ใช้ระบบเทรด Heiken-ashi
รูปที่ 3 ภาพ (เคลื่อนไหว) ตัวอย่างการทำงานของ EA ที่ใช้ระบบเทรดด้านบน

ผลการ Backtest

บทความนี้เราสามารถทำ Backtest ได้ประมาณ 2 ปีกว่า โดยเริ่มจากเดือนมกราคมปี 2022 ไปจนถึงเดือนพฤษภาคมปี 2024 ครับ ซึ่งถึงแม้ว่าจะเสี่ยงแบบเกือบหลับ แต่ก็ยังทำกำไรได้อยู่ (ในกรณีที่ไม่กดถอนเงินไปใช้เลย)

Backtest Heiken-ashi
รูปที่ 4 ภาพ (เคลื่อนไหว) Backtest แบบใช้ Tick data ครับ

เมื่อเรา Import ผล Backtest ลงบน myfxbook แล้วก็ยังพอไปวัดไปวากับเขาได้บ้าง (มั้ง) จริง ๆ แล้วก็ถือว่าเป็นอะไรที่ใช้ได้สำหรับการฝึกเขียน EA นะครับ เพราะหากอยากให้แม่นยำกว่านี้เราจำเป็นที่จะต้องใช้วิธีกรอง False signal ออก หรือ ปรับกลยุทธ์ให้ดียิ่งขึ้น

Backtest Heiken-ashi ที่นำเข้า myfxbook
รูปที่ 5 แสดงผล Backtest ที่นำเข้า myfxbook

สรุป

การ สอนเขียน EA Heiken ashi ครั้งนี้เราจะได้ EA ที่น่าจะพัฒนาไปต่อได้ โดยแนวทางการเพิ่มความสามารถของ EA อาจจะหาจุดเข้าซื้อขายที่ดีกว่านี้ มีการคำนวณระยะ SL TP ที่เหมาะสมกับช่วงตลาด รวมไปถึงการใช้เทคนิคอื่น ๆ เสริมด้วย เป็นต้น

 

หมายเหตุ

  • การซื้อขายสินทรัพย์เช่นคริปโตเคอร์เรนซี, ตลาดฟอเร็กซ์, และตลาดหุ้น, มีความผันผวนสูงและเต็มไปด้วยความเสี่ยง จึงควรให้นักลงทุนศึกษาข้อมูลและเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นก่อนตัดสินใจลงทุน
  • เนื้อหาที่ท่านได้รับชมถือเป็นเพียงแนวทางในการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีเขียนระบบเทรดอัตโนมัติ (EA) แต่ไม่ถือเป็นคำแนะนำสำหรับการลงทุน
  • ดังนั้น ก่อนที่จะนำไปปฏิบัติจริงในตลาด ผู้ลงทุนควรจะทำการศึกษาถึงโอกาสในการทำกำไรและความเสี่ยงสูงสุดที่อาจเกิดขึ้นได้ ทีมงานของเราไม่มีนโยบายในการรับประกันผลกำไรหรือความขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น

ทีมงาน eaforexcenter.com

กลับสู่สารบัญเพื่อเลือกเรียนบทอื่น ๆ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *