Money management คือ อะไร และมีความสำคัญอย่างไรในการเทรด Forex

Money management คือ การบริหารเงินทุน เพื่อใช้ในการลงทุนอย่างเป็นระบบ และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและมีความปลอดภัยในการลงทุน รวมไปถึงการควบคุมความเสี่ยงให้เหมาะสมกับการลงทุนในแต่ละครั้ง เพื่อรักษาพอร์ตให้มีความปลอดภัยสูง


ถ้าไม่มี Money management

ปัจจัยที่จะทำให้เทรดเดอร์หรือนักลงทุนอยู่รอดในตลาดได้ มากกว่าการมีระบบเทรดที่ดีนั่นก็คือ Money management เพราะจะทำให้ทุกการเทรด หรือการจัดการเงินทุนและความเสี่ยง อยู่ในจุดที่เหมาะสมและรับได้

โดยเริ่มจากเงินทุนที่เหมาะสม ซึ่งเงินทุนนั้นจะต้องเป็นเงินที่ หายไปไม่เดือนร้อน ไม่ใช่เงินที่เอาไว้เป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัว รวมถึงเงินที่กู้ยืมมา

 

เงินทุนคือปัจจัยหลักในการกำหนดความเสี่ยง

 

ต่อมาความเสี่ยงที่รับได้ เท่าไหร่ที่หายไปแล้วไม่เสียดาย สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อเนื่องไปจนถึงเรื่องของจิตวิทยา ที่อาจจะกระทบจิตใจเมื่อเสียให้ตลาด

ขนาดออเดอร์ในการเข้าเทรดแต่ละครั้ง ที่เหมาะสมกับเงินทุน ขนาดการลงทุน ผลลัพธ์กำไรขนาดทุน เท่าไหร่ที่ไม่กระทบกับพอร์ต มีโอกาสแก้ตัวเมื่อผิดพลาด แต่มีโอกาสทำกำไรเพิ่มเมื่อถูกทาง

ตัวอย่าง วิธีคำนวณ Lot size ง่าย ๆ

โดยกำหนดออกมาก่อนว่า พอร์ตนี้เทรดเดอร์สามารถเสี่ยงได้กี่เปอร์เซ็นต์ เช่น

  • มีเงินทุนอยู่ 1,000 USD ความเสี่ยงที่รับได้อยู่ที่ 3% เท่ากับว่าจะสามารถเสี่ยงได้อยู่ที่ 30 USD ต่อการเทรด
  • นำระยะจากจุดเข้า ไปจนถึง SL ว่ามีระยะกี่จัด แล้วนำ 30 USD ตั้งแล้วหารด้วยจำนวนจุด จะได้ขนาด Lot size ที่เหมาะสมและอยู่ในความเสี่ยงที่กำหนดไว้
  • สมมุติว่า SL อยู่ที่ 100 จุด นำ 30 หารด้วย 100 จะได้ Lot size3 แม้ผิดทางก็จะเสียไม่เกินจากความเสี่ยงที่กำหนดไว้

ทุกอย่างล้วนอยู่ภายใต้ Money management ทั้งสิ้น และถ้าไม่มีสิ่งนี้ การเทรดก็จะไม่เป็นระบบ แม้ได้กำไรมีเงินทุนเพิ่ม ก็ไม่สามารถใช้พลังของเงินทุนได้อย่างเต็มที่ รวมถึงเมื่อเสียเงินทุนลด จะเทรดอย่างไรให้ปลอดภัยเท่าที่เงินทุนมี

รูปที่ 1 ตัวอย่างการจัดการเงินทุนและความเสี่ยง

ตัวอย่างการจัดการเงินทุนและความเสี่ยง

1. มีเงินทุนที่เหมาะสม

ในการลงทุน ทุกคนล้วนที่จะหวังผลกำไรที่มากมายอยู่เสมอ กำไรที่ต้องการถ้าไม่เหมาะสมกับเงินทุนก็เป็นไปไม่ได้ จึงต้องมีการกำหนดความเสี่ยง ที่เป็นเปอร์เซ็นต์ของเงินทุนทั้งหมด เพราะการเทรดยิ่งเสี่ยงสูงก็สามารถหวังผลกำไรได้สูง แต่ถ้าเลือกความเสี่ยงต่ำ ผลกำไรก็อาจจะคาดหวังได้ต่ำเช่นเดียวกัน 3% ของพอร์ต 1000 เหรียญ กับ 3% ของพอร์ต 10000 เหรียญ ล้วนให้ผลตอบแทนที่แตกต่างเช่นเดียวกัน

2. โบรกเกอร์ที่มั่นคง

โบรกเกอร์ไหน ๆ ก็ล้วนแต่โฆษณาว่ามีความมั่นคง มีความน่าเชื่อถือ มีความปลอดภัย รวมถึงโบรกเกอร์เถื่อน หรือประกอบการอย่างไม่ถูกต้อง ไม่โปร่งใส ก็โฆษณาเช่นเดียวกัน การจัดการเงินทุนที่ดี ก็ไม่ควรที่จะมีเพียงโบรกเกอร์เดียว เมื่อได้กำไรก็ควรที่จะมีการกระจายออกไปเช่นเดียวกัน (คลิกเพื่อดูการจัดอันดับโบรกเกอร์ที่มีความน่าเชื่อถือได้ที่นี่)

3. กระจายความเสี่ยง

พื้นฐานที่สุดในการจัดการความเสี่ยง นั่นก็คือการกระจายความเสี่ยง สามารถนำไปใช้ได้กับทุกอย่างเช่น ระบบเทรด โดยการกระจายออกไปหลาย ๆ ระบบ โบรกเกอร์ คู่เงิน หรือใด ๆ ก็ตามที่จะสามารถกระจายได้ เพราะถ้าปล่อยไข่ไว้เพียงตะกร้าเดียว พลาดตกลงมาไข่อาจจะแตกทั้งหมด แต่ถ้ากระจายหลาย ๆ ที่ ก็จะยังมีสำรองไว้ให้สู้ต่อ ทุกอย่างสามารถกระจายได้หมด

รูปที่ 2 ไข่ควรอยู่หลาย ๆ ตะกร้า

4. กำไร ขาดทุน

ลงทุนก็หวังกำไร แต่มีกำไรก็ต้องมีขาดทุน ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเทรด การคาดหวังกำไรในการเทรด 1 ครั้ง มันคุ้มค่าน่าเสี่ยงกับการเสี่ยงขาดทุนแล้วหรือยังแน่นอนว่าถ้าไม่คุ้มค่า หรือไม่อยู่ในสถานะที่ได้เปรียบ การไม่เทรดเป็นสิ่งที่ได้เปรียบมากกว่า

ตัวอย่าง การประเมินกำไร/ขาดทุนจาก myfxbook

Myfxbook เป็นหนึ่งเครื่องมือที่เทรดเดอร์มืออาชีพส่วนใหญ่ใช้กัน เป็นการเก็บข้อมูลจากบัญชีเทรดจริงและสรุปผลการเทรดอย่างละเดียด มีตัวอย่างดังต่อไปนี้

รูปที่ 3 แสดงตัวอย่าง myfxbook และการวิเคราะห์เบื้องต้น

เทรดเดอร์ต้องการดูผลประกอบการของเทรดเดอร์คนอื่น ๆ หรือผลประกอบการจากระบบหรือ EA สามารถขอดูจาก myfxbook โดยวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เช่น

  • กำไร คือ ผลตอบแทนกำไรทั้งหมด
  • กำไรสัมบูรณ์ คือ ผลตอบแทนคิดเป็นเปอร์เซ็นของเงินฝากทั้งหมด
  • รายวัน คือ อัตราผลตอบแทนรายวัน
  • รายเดือน คือ อัตราผลตอบแทนรายเดือน
  • ขาดทุนสะสม คือ อัตราขาดทุนทั้งหมด

เป็นข้อมูลเบื้องต้น ที่จะใช้วิเคราะห์ระบบเทรด เครื่องมือที่ใช้เทรด หรือ EA สิ่งแรกเลยนั่นก็คือกำไรตั้งแต่ใช้ระบบนี้มีกำไรคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ รายวันเติบโตคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ รายเดือนสะสมคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ และอีกตัวเลขหนึ่งนั่นก็คือขาดทุนสะสม หมายความว่าที่เทรดมาทั้งหมดขาดทุนไปกี่เปอร์เซ็นต์

แน่นอนว่าจะขาดทุนมากกว่ากำไรไม่ได้ และกราฟที่อยู่ด้านข้างจะแสดงให้เห็นว่า พอร์ตที่ใช้เทรดนี้ กำลังเติบโตหรือไม่ มีช่วงเวลาใดบ้างที่กราฟย่อต่ำลง แต่นี่ไม่ใช่ประเด็นหลัก สำคัญที่สุดคือพอร์ตนี้จะพยุงตัวเองขึ้นไปได้หรือไม่ เพราะไม่มีใครเทรดได้ชนะทุกครั้ง เพียงแต่เมื่อแก้ จะลุกกลับขึ้นมาอีกครั้งได้หรือไม่นั่นเอง (คลิกเพื่อดูวิธีประเมินกำไร/ขาดทุนจาก myfxbook เพิ่มเติม)

5. เงินทุนกับเวลา

มีเงินทุนเก็บไว้ ไม่ทำให้งอกเงยนับว่าเสียโอกาส เพราะเวลาที่ไหลผ่านไปไม่สามารถที่จะย้อนกลับมา การมีระบบช่วยเทรด หรือมีการออกแบบการเทรดให้เต็มประสิทธิภาพของเงินทุน ไม่ปล่อยทิ้งไว้โดยที่ไม่ทำอะไร เพราะเงินทุนที่อยู่กับโบรกเกอร์ ยังไงก็ไว้ใจไม่ได้ แต่ไหน ๆ ก็อยู่ จะต้องใช้เพื่อทำกำไรเท่านั้น

เสมือนเทรดเดอร์มีเงินทุนเก็บไว้ แต่ไม่ใช้เทรด หรือเทรดโดยไม่เต็มประสิทธิภาพ มีห้องเช่าแต่ไม่ปล่อยเช่า มีแรงม้าแต่ไม่ยอมเร่ง ไม่ทำให้ดอกเบี้ยทบต้น นับเป็นการเสียโอกาสด้านเวลา ที่ประเมินค่าไม่ได้

6. ปกป้องเงินทุน

ก่อนเทรดทุกครั้ง ถามตัวเองก่อนว่าการเสี่ยงครั้งนี้คุ้มค่าที่จะเสี่ยงหรือไม่ ถ้าไม่ ก็ไม่ควรเทรด การไม่เทรดก็คือการปกป้องเงินทุนอย่างหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องเทรดทุกโอกาส ถ้าโอกาสนั้นไม่ชัวร์ว่าจะสามารถทำกำไรได้ ในตลาด Forex มีสัญญาณเพื่อให้เข้าเทรดมากมาย ปกป้องเงินทุนไว้ถ้าไม่แน่ใจในการเข้าเทรด

7. แพ้ให้เป็น ต่อยอดให้ได้

ทำกำไรได้ วางแผนการเทรดใช้ความเสี่ยงให้เหมาะสม เพื่อที่จะมีโอกาสได้กำไรเพิ่ม แพ้เมื่อไหร่ ก็ต้องวางแผนการเทรดใหม่ให้เหมาะสม กับเงินทุนที่มีอยู่ เพื่อรอโอกาสที่จะได้ดึงทุนกลับมา โดยค่อย ๆ เก็บกำไรทีละเล็ก ไม่คาดหวังจะได้กลับคืนมาในทันที เสียต้องเสียให้เป็น ได้กำไรจะต้องต่อยอดให้ได้เช่นกัน

รูปที่ 4 กลยุทธ์ที่เทรดเดอร์ทุกคนควรจะมี และเหมาะสมกับตัวเอง

กลยุทธ์ที่เทรดเดอร์ทุกคนควรจะมี และเหมาะกับตัวเอง

นี่คือตัวอย่างในการจัดการเงินทุนและความเสี่ยง เพียงเล็กน้อยแต่อาจจะเป็นประโยชน์ต่อพอร์ตเป็นอย่างมาก แน่นอนว่ามีกลยุทธ์มากมายในการจัดการ แต่ก็ไม่จำเป็นที่จะใช้ในทุกข้อ เพียงแค่เลือกเท่าที่เหมาะสมกับตัวเองเท่าที่จะทำได้เช่น

จะใช้วิธีกระจายความเสี่ยง แต่ทุนที่มียังไม่มากมาย ถ้าจะกระจายไปหลาย ๆ พอร์ต เมื่อเงินทุนน้อยความเสี่ยงของพอร์ตก็จะมากขึ้นเช่นเดียวกัน เท่ากับว่าวิธีนี้อาจจะใช้ไม่ได้ แต่ถ้ากระจายได้ปริมาณการซื้อขายเช่น ความเสี่ยงในการเปิดออเดอร์อยู่ที่ 0.03 ต่อไม้ ใช้วิธีกระจายเหลือเพียง 0.01 ต่อไม้ แต่เข้าเทรด 3 ไม้ แบบนี้ก็ทำได้ หรือจะกระจายไปในหลาย ๆ คู่เงินก็ทำได้เช่นเดียวกัน

 

การกระจายไม่อาจทำให้ความเสียงหายไป แต่ลดแรงกระแทกเท่านั้น

 

ทั้งนี้อยู่ที่จะเลือกใช้ โดยจะต้องมีการพลิกแพลงให้เหมาะสมกับตัวเอง เพื่อความเข้าใจสูงสุดและจะสามารถสร้างผลลัพธ์ได้สูงสุดเช่นเดียวกัน ไม่ใช่ว่าจะเอาแต่กระจายความเสี่ยงอย่างเดียว แต่ผู้ใช้ไม่เข้าใจจริง ๆ ว่า ทำไปเพื่ออะไร แบบนี้ก็ไม่เป็นประโยชน์อะไร

สรุป Money management คือ อะไร และมีความสำคัญอย่างไร

การลงทุนในตลาด Forex หรือตลาดอื่นใดก็ตาม การจัดการความเสี่ยงและเงินทุน ควรเป็นปัจจัยแรก ๆ ที่คำนึงถึง เพราะสิ่งเหล่านี้จะควบคุมการเทรด ให้ไม่เกินขอบเขตของเงินทุนหรือพอร์ตที่จะรับไหว เพื่อป้องกันพอร์ตให้อยู่รอดปลอดภัย

แม้ระบบเทรดจะมีอัตราชนะเพียง 50/50 การมีวิธีบริหารจัดการความเสี่ยงและเงินทุนที่ดี จะช่วยให้พอร์ตเติบโตได้ โดยเลือกที่จะไม่เทรดเมื่อไม่คุ้มค่าที่จะเสี่ยง หรือพ่ายแพ้เฉพาะเท่าที่รับได้ หรือการเพิ่มกำไรเมื่อทุนมีก้อนใหญ่ขึ้น… ทุกอย่างเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันทั้งหมด และจะนำมาอธิบายในบทต่อ ๆ ไป อย่าลืมติดตามกันด้วยนะ

 

มี Money management เหมือนมีเกราะป้องกันพอร์ต

 

ทีมงาน eaforexcenter

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *