สรุปโดยย่อ
- วิธีการใช้บล็อค Condition ใน fxDreema สีส้มนั้นเป็นทางเลือกของผู้ที่ต้องการเขียนโค้ด (Optional) และในหน้างานจริง ๆ แทบไม่ได้ใช้งานเลย
- มีบางบล็อกใน fxDreema ที่จำเป็นต้องวางเอาไว้เพื่อดึงค่า ถึงจะนำค่ามาใช้ในบล็อก Condition หรือบล็อกถัดไปได้ เช่น For Each Trade หรือ Bucket of Trades
- บล็อก Condition นั้นเปรียบเสมือนด่านตรวจคนเข้าเมือง ถ้าเงื่อนไขภายในบล็อค Condition นั้นเป็นจริง บล็อกต่อไปที่เชื่อมต่ออยู่ก็จะทำงานนั่นเอง เช่น 2 > 1 = บล็อคต่อไปทำงาน!!
หลายครั้งหลายคราเราก็อยากให้ EA ของเราออกไม้แม่นขึ้นบ้างใช่ไหมล่ะครับ? ซึ่ง EA ก็จะออกไม้เมื่อผ่านเงื่อนไขที่เราตั้งไว้เท่านั้น เช่น EMA 12 period ตัด EMA 26 period ขึ้น ซึ่งตัวที่จะมาทำหน้าที่ในการตั้งเงื่อนไขต่าง ๆ ภายใน EA ของเรา ก็คือเจ้าบล็อค Condition นั่นเอง
*บล็อค Condtion สีส้มเป็นทางเลือกของผู้ต้องการ Hard Code ครับ
และก่อนที่เราจะไปดูวิธีการใช้งานจริงของบล็อค Condition กันนะครับ พลาดไม่ได้เลยครับที่จะทบทวนวิธีการใช้เครื่องหมายเชิงเปรียบเทียบกันอีกครั้งนึง รัวกลองครับ!
เครื่องหมายที่ใช้ในการเปรียบเทียบ
- == หรือ เท่ากับเท่ากับ คือเครื่องหมายที่ใช้ในการตรวจสอบว่าสองสิ่งนั้นเท่ากันใช่หรือไม่ เช่น 2 == 2 จะได้ค่าจริง ( True ) และ 8 == 3 จะได้ค่าเท็จ ( False )
- != หรือ ไม่เท่ากับ คือเครื่องหมายที่ใช้ในการตรวจสอบว่าสองสิ่งนั้นไม่เท่ากันใช่ เช่น 2 != 1 จะได้ค่าจริง ( True ) และ 5 != 5 จะได้ค่าเท็จ ( False )
- > หรือ มากกว่า คือเครื่องหมายที่ใช้ในการตรวจสอบว่าตัวซ้ายมือมากกว่าตัวขวามือหรือไม่ เช่น 2 > 1 จะได้ค่าจริง ( True ) และ 5 > 9 จะได้ค่าเท็จ ( False )
- < หรือ น้อยกว่า คือเครื่องหมายที่ใช้ในการตรวจสอบว่าตัวซ้ายมือน้อยกว่าตัวขวามือหรือไม่ เช่น 2 < 9 จะได้ค่าจริง ( True ) และ 7 < 1 จะได้ค่าเท็จ ( False )
- >= หรือ มากกว่าหรือเท่ากับ คือเครื่องหมายที่ใช้ในการตรวจสอบว่าตัวซ้ายมือมากกว่าหรือมีค่าเท่ากับตัวขวามือหรือไม่ เช่น 10 >= 10 จะได้ค่าจริง ( True ) และ 9 >= 10 จะได้ค่าเท็จ ( False )
- <= หรือ น้อยกว่าหรือเท่ากับ คือเครื่องหมายที่ใช้ในการตรวจสอบว่าตัวซ้ายมือน้อยกว่าหรือมีค่าเท่ากับตัวขวามือหรือไม่ เช่น 10 <= 10 จะได้ค่าจริง ( True ) และ 11 <= 10 จะได้ค่าเท็จ ( False )
หรือก็คือสรุปง่าย ๆ ได้ดังนี้ครับ
- == เท่ากับเท่ากับ
- != ไม่เท่ากับ
- > มากกว่า
- < น้อยกว่า
- >= มากกว่าหรือเท่ากับ
- <= น้อยกว่าหรือเท่ากับ
โดยเราจะเทียบจากซ้ายไปขวาเสมอครับ และถ้าเป็นจริงสัญญาณจะวิ่งด้านซ้าย ถ้าเป็นเท็จสัญญาณจะวิ่งออกทางด้านขวาครับ
ตัวอย่างการใช้งานจริง
โดยผมจะแบ่งตัวอย่างออกเป็น 2 ประเภทนะครับ โดยประเภทที่ 1 ไม่ต้องมีบล็อกแม่และสามารถดึงค่ามาใช้ในการเปรียบเทียบได้เลย และประเภทที่ 2 จะต้องมีบล็อกแม่ก่อนนะครับถึงจะดึงค่ามาใช้งานได้ บล็อกแม่ (เป็นศัพท์ที่ผมใช้เรียกในกรณีนี้ครับ) เช่น For Each Trade และ Bucket of Trades ครับ
เหตุผลที่ต้องมีบล็อกแม่ก็คือ เพื่อที่จะดึงค่ามาใช้งานได้อย่างถูกต้องครับ เช่น ถ้าต้องการไม้ Buy จาก Bucket of Trade เราก็ต้องเลือก “Buy” อย่างเดียวในบล็อกแม่ครับ เพื่อที่จะดึงค่าไม้ Buy โดยเฉพาะมาได้
ตัวอย่างที่ 1 ไม่ต้องมี บล็อกแม่ ก็ดึงค่าได้ แบร่~
ตัวอย่างที่ 2 ต้องมีบล็อกแม่ ซิก ๆ
สรุป
วิธีการใช้บล็อค Condition ใน Fxdreema มี 2 แบบ ได้แก่ 1.บล็อค Condition สีครีมเหลืองที่เราใช้กันเป็นประจำ และ 2.บล็อค Condition สีส้ม ที่สามารถ Hard Code ได้ เป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการเขียนโค้ดครับ
และการเข้าใจความหมายเครื่องหมายในการเปรียบเทียบเป็นสิ่งที่สำคัญมากครับ เพราะทำให้เราใช้งาน Condition ใน Fxddreema ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลอย่างแท้จริง และเหตุผลที่ต้องมีบล็อกแม่ หลัก ๆ ก็คือต้องกำหนดก่อนว่าเราจะดึงค่าอะไรนั่นเองครับ ถึงจะดึงค่าออกมาใช้งานได้ (คลิ๊กเพื่อเริ่มใช้งาน fxDreema)
ทีมงาน eaforexcenter
กลับสู่สารบัญเพื่อเลือกเรียนบทอื่น ๆ
"เริ่มต้นอย่างช้าๆ แต่ชัดเจน"
ให้เราได้ดูแลคุณ...
eaforexcenter.com