- MACD (Moving Average Convergence Divergence) ถูกพัฒนาโดย Gerald Appel ในช่วงปี 1970s ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ตลาดเริ่มให้ความสนใจกับการวิเคราะห์ทางเทคนิคมากขึ้น
- แนวคิดของ MACD เกิดจากความต้องการเครื่องมือที่สามารถ ตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มราคา ได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว ผ่านการใช้ งานของ EMA
- แม้ว่า MACD แบบดั้งเดิมจะให้ข้อมูลที่มีประโยชน์อยู่แล้ว แต่ในช่วงปี 1986 Thomas Aspray ได้ต่อยอดแนวคิดของ Gerald Appel โดยคิดค้นเครื่องมือเสริมที่เรียกว่า MACD Histogram เพื่อเพิ่มความเร็วในการวิเคราะห์โมเมนตัมของราคาให้แม่นยำขึ้น
- จุดเด่นของ MACD Histogram
- ใช้แสดง “ความแตกต่างระหว่าง MACD Line และ Signal Line” ในรูปแบบกราฟแท่ง
- มองเห็นการเปลี่ยนแปลงของโมเมนตัมได้ “เร็วกว่า” การดูจุดตัดของเส้น MACD และ Signal
- ช่วยให้สามารถจับสัญญาณ “กลับตัว” ได้ล่วงหน้าก่อนที่ MACD จะตัดเส้น Signal
สูตรการคำนวณ MACD และตัวอย่างการคำนวน
รูปที่ 1 ตัวอย่างการแสดงการหาค่า MACD Line อ้างอิงจาก chartschool.stockcharts.com
MACD ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักได้แก่
- สูตร MACD Line
MACD Line = EMA(12) - EMA(26)
- EMA(12) = ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบExponential Moving Average) ของราคาปิดในช่วง 12 วัน
- EMA(26) = EMA ของราคาปิดในช่วง 26 วัน
- ค่านี้แสดงถึง "ความแตกต่างของแนวโน้มในระยะสั้นและระยะยาว"
- เมื่อ EMA(12) สูงกว่า EMA(26) = โมเมนตัมขาขึ้น
- เมื่อ EMA(12) ต่ำกว่า EMA(26) = โมเมนตัมขาลง
รูปที่ 2 ตัวอย่างการแสดงการหาค่า Signal Line และ MACD Histogram อ้างอิงจาก chartschool.stockcharts.com
- สูตร Signal Line
Signal Line = EMA(9) ของ MACD Line
- ใช้ EMA ระยะ 9 วันของ MACD Line
- ทำหน้าที่เป็น “เส้นสัญญาณ” ที่ช่วยกรองจังหวะซื้อ-ขาย
- เมื่อ MACD Line ตัดขึ้นเหนือ Signal Line = สัญญาณซื้อ
- เมื่อ MACD Line ตัดลงต่ำกว่า Signal Line = สัญญาณขาย
- สูตร MACD Histogram
- MACD Histogram = MACD Line - Signal Line
- Histogram คือ “ภาพแท่ง” ที่แสดงผลต่างระหว่าง MACD Line กับ Signal Line
- เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้นักเทรดเห็นการเปลี่ยนแปลงของโมเมนตัมได้ ชัดเจนและเร็วขึ้น
ตัวอย่างการคำนวณ MACD แบบง่าย
สมมติว่ามีข้อมูลราคาปิดดังนี้
- EMA(12) = 105
- EMA(26) = 100
- MACD Line = 105 - 100 = 5
- ถ้า Signal Line (EMA9 ของ MACD) = 4
- MACD Histogram = 5 - 4 = 1
ผลลัพธ์จากการตีความ
- MACD Histogram อยู่เหนือเส้น 0 → โมเมนตัมขาขึ้น
- ถ้า Histogram เริ่มลดลง → โมเมนตัมเริ่มอ่อนแรง
การตีความค่า MACD โดยพื้นฐาน
การดู Histogram เพื่อจับแนวโน้ม
รูปที่ 3 วิธีใช้งาน MACD เบื้องต้นเพื่อดูแนวโน้มและสัญญาณการซื้อขาย
- Histogram คือ กราฟแท่งที่แสดงความต่างระหว่าง MACD Line และ Signal Line
- ใช้ดู “ทิศทางของโมเมนตัม” และ “ความแรงของแนวโน้ม”
- แนวทางอ่านค่า
- Histogram อยู่เหนือเส้น 0 → แนวโน้มขาขึ้น, โมเมนตัมบวก
- Histogram อยู่ต่ำกว่าเส้น 0 → แนวโน้มขาลง, โมเมนตัมลบ
การสังเกตจุดตัดของ MACD Histogram กับ Signal Line
รูปที่ 4 วิธีใช้งาน MACD การสังเกตจุดตัดของ MACD Histogram กับ Signal Line
- จุดตัดของเส้น MACD Histogram กับ Signal Line มักให้สัญญาณการเข้าออกออเดอร์
- สัญญาณที่ควรสังเกต
- MACD Histogram ตัดขึ้นเหนือ Signal Line → สัญญาณซื้อ (Buy)
- MACD Histogram ตัดลงใต้ Signal Line → สัญญาณขาย (Sell)
การดู Divergence ด้วย MACD
รูปที่ 5 วิธีใช้งาน Divergence ด้วย MACD เบื้องต้น อ้างอิงจาก chartschool.stockcharts.com
Bullish Divergence (สัญญาณกลับตัวขึ้น)
- ราคาทำจุดต่ำใหม่ (New Low) โดยมีแนวโน้มขาลงต่อเนื่อง
- แต่ MACD กลับไม่ทำจุดต่ำใหม่ตามราคา และยก Low สูงขึ้น
- แสดงให้เห็นว่าโมเมนตัมขาลงเริ่มอ่อนแรง
- เป็นสัญญาณเตือนว่าแนวโน้มอาจเปลี่ยนจากขาลงเป็นขาขึ้น
"ลักษณะนี้มักพบในช่วงปลายเทรนด์ขาลง โดยเฉพาะเมื่อราคามีแนวโน้มเข้าใกล้แนวรับสำคัญ"
Bearish Divergence (สัญญาณกลับตัวลง)
- ราคาทำจุดสูงใหม่ (New High) โดยมีแนวโน้มขาขึ้นต่อเนื่อง
- แต่ MACD กลับทำจุดสูงที่ต่ำลง (Lower High)
- แสดงให้เห็นว่าโมเมนตัมขาขึ้นเริ่มอ่อนแรง
- เป็นสัญญาณเตือนว่าแนวโน้มอาจเปลี่ยนจากขาขึ้นเป็นขาลง
"ลักษณะนี้มักพบในช่วงปลายเทรนด์ขาขึ้น โดยเฉพาะเมื่อราคากำลังเข้าใกล้แนวต้านหลัก"
คำแนะนำในการใช้ Divergence ให้แม่นยำ
- ไม่ควรใช้ Divergence เป็นสัญญาณเข้าออเดอร์โดยลำพัง ควรยืนยันด้วยสัญญาณอื่น เช่น แท่งเทียนกลับตัว หรือแนวรับ-แนวต้าน
- Divergence ที่เกิดใน Timeframe สูง เช่น 4 ชั่วโมง หรือ Daily มักให้ความน่าเชื่อถือมากกว่าช่วงเวลาเทรดระยะสั้น
- ควรฝึกสังเกต Divergence ควบคู่กับการวิเคราะห์โมเมนตัม เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวิเคราะห์
การใช้ MACD ในการเขียน EA บน Fxdreema
รูปที่ 6 การใช้ MACD ในการเขียน EA บน Fxdreema
รูปที่ 7 ผลลัพธ์การ Backtest MACD ในระยะเวลา 2 ปี
- เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ข้อควรระวังในการใช้ MACD
รูปที่ 8 ข้อควรระวังในการใช้ MACD
- Histogram อาจตัดขึ้น/ลง เพียงชั่วคราว
- จุดตัด MACD กับ Signal Line บางครั้งอาจเป็นจุดหลอก (Fake Break)
- แนวทางหลีกเลี่ยง
- ใช้ MACD ควบคู่กับอินดิเคเตอร์อื่น เช่น RSI, EMA หรือแนวรับแนวต้าน
- รอแท่งเทียนยืนยัน (Confirmation candle) ก่อนเข้าออเดอร์
- หลีกเลี่ยงการเทรดช่วงข่าวสำคัญหรือความผันผวนสูง
สรุป
- MACD (Moving Average Convergence Divergence) คืออินดิเคเตอร์ทางเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์แนวโน้มและโมเมนตัมของราคา
- คำนวณจากความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบทบต้น (EMA) ระยะสั้นและระยะยาว นักเทรดนิยมใช้ MACD เพื่อหาจุดเข้า–ออกออเดอร์
- สัญญาณกลับตัวของแนวโน้มสามารถดูได้จากจุดตัดของเส้น MACD กับ Signal Line หรือสังเกต Histogram ที่แสดงความแรงของโมเมนตัม
- นอกจากนี้ยังสามารถใช้ดู Divergence เพื่อระบุโอกาสที่ราคาจะกลับทิศได้อีกด้วย ซึ่งเหมาะกับนักเทรดทุกระดับเลยทีเดียวครับ
อ้างอิง
- StockCharts.com. (n.d.). MACD - Moving Average Convergence/Divergence [Oscillator]. StockCharts ChartSchool. Retrieved March 27, 2025, from https://chartschool.stockcharts.com/table-of-contents/technical-indicators-and-overlays/technical-indicators/macd-moving-average-convergence-divergence-oscillator
- StockCharts.com. (n.d.). MACD Histogram. StockCharts ChartSchool. Retrieved March 27, 2025, from https://chartschool.stockcharts.com/table-of-contents/technical-indicators-and-overlays/technical-indicators/macd-histogram
"เริ่มต้นอย่างช้าๆ แต่ชัดเจน"
ให้เราได้ดูแลคุณ...
eaforexcenter.com