อินดิเคเตอร์ Relative Strength Index (RSI) สูตรคำนวนและวิธีใช้งาน

อินดิเคเตอร์ Relative Strength Index (RSI) สูตรคำนวนและวิธีใช้งาน
  • RSI (Relative Strength Index) ถูกพัฒนาขึ้นโดย Welles Wilder Jr. วิศวกรและนักวิเคราะห์ทางเทคนิคชื่อดังในปี ค.ศ. 1978
  • ปรากฏครั้งแรกในหนังสือชื่อ "New Concepts in Technical Trading Systems" ซึ่งกลายเป็นหนังสือที่โครตคลาสสิกของวงการการเงินเลยทีเดียวครับ
  • Wilder ตั้งใจสร้าง RSI เพื่อวัดความแรงของการเคลื่อนไหวของราคาในตลาด โดยไม่ได้ใช้เพียงแค่ราคาขึ้นหรือลงเท่านั้น แต่พิจารณาจาก “โมเมนตัม” หรือ ความเร็วในการเปลี่ยนแปลงของราคาอีกด้วย
  • ดังนั้นจึงทำให้ RSI ไม่ใช่แค่ดูว่าราคาขึ้นหรือลงเท่านั้น แต่สามารถจับสัญญาณความอ่อนแรงหรือความแข็งแรงของแนวโน้มได้ด้วยนั่นเอง

สูตรการคำนวณ RSI และ ค่าพารามิเตอร์

รูปที่ 1 สมการและการคำนวนของ RSI พร้อมตัวอย่าง Excell ในการคำนวนจาก chartschool.stockcharts.com
รูปที่ 1 สมการและการคำนวนของ RSI พร้อมตัวอย่าง Excell ในการคำนวนจาก chartschool.stockcharts.com

สมการและการคำนวน

  • RSI = 100 – [100 / (1 + RS)]
  • RS (Relative Strength) = Average Gain / Average Loss
    • First Average Gain = Sum of Gains over the past 14 periods /
    • Average Gain = [(previous Average Gain) x 13 + current Gain] /
    • First Average Loss = Sum of Losses over the past 14 periods / 14
    • Average Loss = [(previous Average Loss) x 13 + current Loss] /
    • ตัวอย่าง: หากคุณใช้ค่า Period = 14 วัน
      • นำราคาที่ “เพิ่มขึ้น(ค่าบวก)” มาเฉลี่ยในช่วง 14 วัน → ได้ค่า Average Gain
      • นำราคาที่ “ลดลง(ค่าลบ) ” มาเฉลี่ยในช่วง 14 วัน → ได้ค่า Average Loss

หมายเหตุ : ยิ่งราคาปรับมากขึ้น RSI จะยิ่งเข้าใกล้ 100 แต่ถ้าราคาปรับลดลงต่อเนื่อง RSI จะลดลงไปใกล้ 0 โดยที่ ค่า RSI จะอยู่ระหว่าง 0 ถึง 100 เสมอๆ

ปรับค่า RSI ให้เหมาะกับสไตล์การเทรด

RSI สามารถปรับค่า Period (จำนวนวันที่ใช้คำนวณ) ได้ตามความถี่ในการเทรดของคุณได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้

  • ค่า 14 (มาตรฐาน): เหมาะกับนักเทรดทั่วไป
  • ค่า 7–9: เหมาะสำหรับสาย Day Trade หรือ Scalping ต้องการสัญญาณเร็ว
  • ค่า 21–30: เหมาะกับสาย Swing/Long Term ลดสัญญาณหลอก

การตีความค่า RSI โดยพื้นฐาน

การใช้ RSI มองหาปริมาณการซื้อขายที่มากหรือน้อยเกินไป

รูปที่ 2 การใช้ RSI มองหาปริมาณการซื้อขายที่มากหรือน้อยเกินไปเพื่อดูการกลับตัว
รูปที่ 2 การใช้ RSI มองหาปริมาณการซื้อขายที่มากหรือน้อยเกินไปเพื่อดูการกลับตัว

การเข้าใจความหมายของค่า RSI จะช่วยให้คุณมองเห็นสัญญาณต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น

  • RSI ต่ำกว่า 30 ลงไป = Oversold
    หมายถึง มีการขายมากเกินไปจนราคาน่าจะ “ต่ำเกินไป” แล้ว มีโอกาสเกิดการกลับตัวขึ้นได้
  • RSI สูงกว่า 70 ขึ้นไป = Overbought
    หมายถึง มีการซื้อมากเกินไปจนราคาน่าจะ “สูงเกินไป” แล้ว มีโอกาสเกิดการกลับตัวลงได้

หมายเหตุ: RSI ไม่ได้ให้สัญญาณ "ซื้อ/ขาย" ที่แน่นอน 100% แต่ให้ "คำเตือน" ว่าคุณควรเริ่มจับตามองตลาดได้แล้วนะครับ

การใช้ RSI เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มของราคา

รูปที่ 3 การใช้ RSI การใช้ RSI เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มของราคาเบื้องต้น
รูปที่ 3 การใช้ RSI การใช้ RSI เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มของราคาเบื้องต้น

หลายคนเข้าใจผิดว่า RSI ใช้ได้แค่ในจังหวะกลับตัวเท่านั้นครับ แต่อันที่จริงแล้ว RSI ยังสามารถใช้เพื่อดู “แนวโน้มของตลาด” ได้อีกด้วย โดยดูจากเส้นระดับกลางที่ 50 นั้นเอง

  • RSI > 50 → ตลาดอยู่ในภาวะ ขาขึ้น (มักมีแรงซื้อเป็นฝ่ายคุมเกม)
  • RSI < 50 → ตลาดอยู่ในภาวะ ขาลง (แรงขายมีอิทธิพลมากกว่า)

ดังนั้นแล้วจะเห็นได้ว่า RSI นั้นสามรถช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงการเทรดสวนเทรนด์ได้เป็นอย่างดี...แต่ๆข้อจำกัดของ RSI ไม่แม่นเท่าอินดิเคเตอร์ประเภท Trend เช่น EMA หรือ SMA ที่มีไว้สำหรับการจับเทรนด์โดยตรงนั่นเองครับ

การมองหา Divergence โดยใช้งาน RSI

รูปที่ 4 ตัวอย่างการมองหา Divergence โดยใช้งาน RSI
รูปที่ 4 ตัวอย่างการมองหา Divergence โดยใช้งาน RSI

Divergence คือเมื่อกราฟราคากับกราฟ RSI วิ่งสวนทางกัน ซึ่งบ่งบอกว่าตลาดอาจใกล้เวลาแล้วในการเปลี่ยนแนวโน้มใหม่

  • Bearish Divergence: ราคา “ขึ้น” แต่ RSI “ลง” → สัญญาณกลับตัวลง
  • Bullish Divergence: ราคา “ลง” แต่ RSI “ขึ้น” → สัญญาณกลับตัวขึ้น

ข้อดีของ Divergence คือ “มองเห็นก่อนใคร” เพราะ RSI มักจะส่งสัญญาณก่อนราคาจะเปลี่ยน

การใช้ RSI ในการเขียน EA บน Fxdreema

รูปที่ 5 การใช้ RSI ในการเขียน EA บน Fxdreema
รูปที่ 5 การใช้ RSI ในการเขียน EA บน Fxdreema
รูปที่ 6 ผลลัพธ์การ Backtest RSI ในระยะเวลา 1 ปี
รูปที่ 6 ผลลัพธ์การ Backtest RSI ในระยะเวลา 1 ปี

ข้อควรระวังในการใช้ RSI

รูปที่ 7 ข้อควรระวังในการใช้ RSI (Relative Strength Index)
รูปที่ 7 ข้อควรระวังในการใช้ RSI (Relative Strength Index)
  • RSI อาจให้สัญญาณลวง (False Signals)
    • หนึ่งในปัญหาหลักของ RSI คืออาจเกิด "สัญญาณหลอก" โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง หรือช่วงที่ตลาดไม่มีทิศทางแน่ชัด (Sideways)
    • ตัวอย่างเช่น: RSI อาจตกลงมาต่ำกว่า 30 แล้วส่งสัญญาณว่า Oversold แต่ราคากลับยังไม่เด้งขึ้น หรืออาจสูงเกิน 70 แล้วส่งสัญญาณ Overbought แต่ราคายังพุ่งขึ้นต่อไปอีก
  • ไม่สามารถใช้ RSI เดี่ยวๆ กับตลาดที่มีแนวโน้มชัดเจน
    • ในตลาดที่มี เทรนด์ชัดเจน (เช่น แนวโน้มขาลงต่อเนื่อง) RSI มักจะเข้าเขต Oversold อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งอาจทำให้นักเทรดรีบซื้อทั้งๆที่ราคายังสามารถลงต่อได้ เป็นต้น

สรุป

  • RSI นั้นถือว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ครบครันเอามากๆครับไม่ว่าจะเป็นการดูโมเมนตัม แนวโน้มราคา หรือ จุดกลับตัว หากใช้อย่างเข้าใจและถูกจังหวะ จะช่วยให้การเทรดของคุณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้อย่างแน่นอนครับ
  • แต่อย่างไรก็ตาม การฝึกฝนใช้งานจริงและการผสมผสานกับอินดิเคเตอร์อื่นด้วยเนี่ย จะช่วยเพิ่มความแม่นยำและลดความเสี่ยงได้อย่างมากเลยทีเดียว

อ้างอิง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *