Stochastic Oscillator คืออะไร? วิธีใช้งานและสูตรคำนวน

Stochastic Oscillator คืออะไร? วิธีใช้งานและสูตรคำนวน
  • อินดิเคเตอร์ตัวนี้ถูกคิดค้นขึ้นตั้งแต่ปี 1950 โดย George C. Lane ผู้ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์ทางเทคนิคสายเทรดระดับตำนาน
  • Stochastic Oscillator เป็นเครื่องมือวัดความแรงของราคาปัจจุบันเทียบกับช่วงราคาที่ผ่านมาในระยะเวลาหนึ่ง โดยมีเป้าหมายหลักคือ ตรวจจับ "Overbought" และ "Oversold" หรือภาวะที่มีการซื้อหรือขายมากเกินไป
  • แม้จะคล้าย RSI อยู่บ้าง แต่ STO มีความไวมากกว่า จึงตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวของราคาได้เร็วกว่านั่นเองครับแต่ก็มีข้อเสียนะครับ ไว้ไปดูบทความเปรียบเทียบ RSI และ STO ในบทความหน้า

สูตรการคำนวณ Stochastic Oscillator

รูปที่ 1 สูตรการคำนวณ Stochastic Oscillator
รูปที่ 1 สูตรการคำนวณ Stochastic Oscillator

สมการ Stochastic Oscillator

แม้จะดูซับซ้อนในตอนแรก แต่จริง ๆ แล้วสูตรของ STO มีแค่ 2 ค่า คือ %K และ %D โดยที่

  • %K = 100 x [(ราคาปัจจุบัน - ราคาต่ำสุดใน n วัน) / (ราคาสูงสุดใน n วัน - ราคาต่ำสุดใน n วัน)]
  • %D = ค่าเฉลี่ยของ %K ในช่วง 3 วัน (ใช้สูตร SMA - Simple Moving Average)
  • โดยทั่วไปแล้ว พารามิเตอร์ที่นิยมใช้กันคือ
    • %K period = 14
    • %D period = 3
    • Slowing = 3

ค่า %K จะขึ้นเร็ว ส่วน %D จะนิ่มนวลกว่า เพราะเป็นเส้นค่าเฉลี่ย ช่วยให้เรามองเห็นจังหวะการเข้าออกได้ชัดเจนมากขึ้นนั่นเองครับ

ตัวอย่างการคำนวณ

สมมุติว่าเราดูกราฟใน Timeframe รายวัน (Daily) และเลือกช่วง 14 วันที่ผ่านมา

  • ราคาปิดวันนี้ (Current Close) = 90
  • ราคาสูงสุดใน 14 วันที่ผ่านมา (Highest High) = 100
  • ราคาต่ำสุดใน 14 วันที่ผ่านมา (Lowest Low) = 80

แทนลงสมการหาค่า %K

  • %K = 100 × [(90 - 80) ÷ (100 - 80)]
  • %K = 100 × [10 ÷ 20]
  • %K = 100 × 5
  • %K = 50

แทนลงสมการหาค่า %D

  • สมมุติว่าเรามีค่า %K 3 วันล่าสุด ดังนี้ วันที่ 1-3 ตามลำดับคือ 60,55 และ 50
  • %D = (60 + 55 + 50) ÷ 3
  • %D = 165 ÷ 3
  • %D = 55

สรุปผลลัพธ์จากตัวอย่าง

  • %K = 50 → แสดงว่าราคาปิดอยู่ "กลางช่วง"
  • ไม่ได้อยู่ในโซน Overbought (>80) หรือ Oversold (<20)
  • แต่จะมีแรงซื้อมากกว่าแรงขายเล็กน้อย

Fast และ Slow Stochastic ข้อแตกต่างนี้สำคัญ

รูปที่ 2 การเปรียบเทียบระหว่าง Fast และ Slow Stochastic
รูปที่ 2 การเปรียบเทียบระหว่าง Fast และ Slow Stochastic

Fast Stochastic:ต้นฉบับสายสัญญาณไว

  • คิดค้นโดย George C. Lane
  • เน้นความรวดเร็วในการจับการเปลี่ยนแปลงของราคา
  • นิยมใช้ดู Divergence เพื่อหาจุดกลับตัว Buy/Sell
  • มีสัญญาณเยอะ แต่ก็มาพร้อม "สัญญาณหลอก" (False Signal) มากขึ้นเช่นกัน

สูตรของ Fast Stochastic

  • Fast %K = ค่าคำนวณจากสูตรพื้นฐาน
  • Fast %D = 3-period SMA ของ Fast %K

Slow Stochastic: เวอร์ชันนิ่ง ๆ แม่นขึ้น

  • เป็นเวอร์ชันปรับปรุงของ Fast เพื่อให้ "เนียน" ขึ้น
  • เอา Fast %K มาทำ Smooth อีกที ด้วย 3-period SMA
  • ช่วยลด Noise และทำให้สัญญาณดูน่าเชื่อถือมากขึ้น
  • นิยมใช้มากในปัจจุบัน ทั้งในไทยและต่างประเทศ

สูตรของ Slow Stochastic

  • Slow %K = Fast %K ถูก Smooth ด้วย 3-period SMA
  • Slow %D = 3-period SMA ของ Slow %K หรือ เท่ากับ
รูปที่ 3 ตัวอย่างการแสดงค่าพารามิเตอร์ของ Stochastic Oscillator บน MT5
รูปที่ 3 ตัวอย่างการแสดงค่าพารามิเตอร์ของ Stochastic Oscillator บน MT5
  • Stochastic Oscillator ใน MT4/MT5 เป็นแบบ Slow Stochastic นะครับ และ ทำไมถึงเป็น Slow ?
  • เพราะเมื่อคุณเปิด Indicator ขึ้นมาใน MT4 หรือ MT5 จะเห็นว่ามีให้ตั้งค่า %K period ,%D period และ Slowing ค่าตัวนี้เองที่บอกว่าเป็น Slow เพราะการใส่ค่า "Slowing = 3" หมายถึงระบบเอา Fast %K ไป Smooth ด้วยค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (SMA) 3 วัน → กลายเป็น Slow %K ตามสูตรเลยครับ
  • ถ้าอยากได้ Fast Stochastic บน MT4/MT5 ทำไง? ง่ายมากครับ แค่ไปที่หน้าตั้งค่าของ Indicator แล้วเปลี่ยน: Slowing = 1 (นั่นแปลว่าไม่ต้อง Smooth ค่า %K เลย → กลายเป็น Fast Stochastic ทันที)

พื้นฐานการใช้งานของ Stochastic Oscillator

รูปที่ 4 พื้นฐานการใช้งานของ Stochastic Oscillator ในการเทรด
รูปที่ 4 พื้นฐานการใช้งานของ Stochastic Oscillator ในการเทรด

สัญญาณทั่วไปในการหาปริมาณซื้อขายที่มากเกินไป

  • Overbought: ถ้าค่า %K และ %D สูงกว่า 80 → ราคาอาจ “ขึ้นแรงเกินไป” มีโอกาสปรับฐาน
  • Oversold: ถ้าค่า %K และ %D ต่ำกว่า 20 → ราคาอาจ “ลงแรงเกินไป” มีโอกาสรีบาวด์กลับขึ้น

สัญญาณตัดกัน (Crossover) ในการส่ง Signal

  • Buy Signal: เมื่อเส้น %K ตัดขึ้นเหนือ %D → เป็นสัญญาณซื้อ
  • Sell Signal: เมื่อ %K ตัดลงต่ำกว่า %D → เป็นสัญญาณขาย

สัญญาณ  Divergent เพื่อดูการกลับตัว

  • ใช้ STO ตรวจสอบว่าราคาและอินดิเคเตอร์ “ไม่ไปทางเดียวกัน”
    • ราคา “ทำ New High” แต่ STO “ทำ High ต่ำลง” → สัญญาณกลับตัวลง
    • ราคา “ทำ New Lo w” แต่ STO “ทำ Low สูงขึ้น” → สัญญาณกลับตัวขึ้น

การใช้ STO + ADX ในการเขียน EA บน Fxdreema

รูปที่ 5 การใช้ STO + ADX ในการเขียน EA บน Fxdreema
รูปที่ 5 การใช้ STO + ADX ในการเขียน EA บน Fxdreema
รูปที่ 6 ผลลัพธ์การ Backtest STO + ADX ในระยะเวลา 2 ปี
รูปที่ 6 ผลลัพธ์การ Backtest STO + ADX ในระยะเวลา 2 ปี

ข้อควรระวังในการใช้ STO

  1. ใช้ในตลาด Sideways หรือช่วงปรับฐาน STO จะทำงานแม่นในตลาดที่ไม่มีเทรนด์ชัดเจน
    เพราะสัญญาณ Overbought/Oversold จะมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นนั่นเอง
  2. ใช้ร่วมกับเทคนิคอื่น STO เพียงอย่างเดียวอาจมีสัญญาณหลอก (false signals)
    ดังนั้นจึงควรใช้ร่วมกับ
  • แนวรับ-แนวต้าน
  • Trendline
  • อินดิเคเตอร์อื่น เช่น MACD หรือ RSI
  1. หลีกเลี่ยงการเทรดสวนเทรนด์ หากตลาดเป็นเทรนด์แรง เช่น Uptrend → STO อาจ Overbought อยู่หลายวันโดยที่กราฟยังขึ้นต่อ ดังนั้นอย่าเพิ่งรีบเข้า Sell เพราะเห็นแค่ %K > 80
    ควรรอสัญญาณยืนยันจากอย่างอื่นร่วมด้วย

สรุป

  • ถ้าอยากใช้ Stochastic Oscillator ให้เวิร์ก ต้องเข้าใจธรรมชาติของมันก่อนนะครับ ว่าเจ้า STO ตัวนี้เหมาะมากกับช่วงตลาด Sideway เพราะช่วยบอกจุด Overbought/Oversold ได้แม่นพอสมควร
  • แต่ถ้าเจอเทรนด์แรง ๆ อาจมีหลอกบ้าง ดังนั้นอย่าใช้เดี่ยว ๆ  ควรจับคู่กับอินดิเคเตอร์อื่นอย่าง MACD หรือ Bollinger Bands จะช่วยให้ตัดสินใจแม่นขึ้น
  • ที่สำคัญคืออย่าดูแค่ค่า %K หรือ %D อย่างเดียว ให้สังเกตจังหวะตัดกันหรือดูแนวโน้มของกราฟด้วย เทรดอย่างมีแผน แล้ว STO จะเป็นผู้ช่วยที่ดีให้คุณแน่นอนครับ

อ้างอิง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *