วิธีใช้ Triple Exponential Moving Average (TEMA)

วิธีใช้ Triple Exponential Moving Average (TEMA)
  • Triple Exponential Moving Average (TEMA) เป็นอินดิเคเตอร์ที่พัฒนาโดย Patrick Mulloy ในปี 1994 โดยเป็นการนำ Exponential Moving Average (EMA) มาประยุกต์ให้ลบความล่าช้าของข้อมูล (Lag) ออกไปมากขึ้น
  • TEMA จึงตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาที่เร็วกว่า Simple Moving Average (SMA) และ Exponential Moving Average (EMA) ทำให้เหมาะสำหรับนักเทรดที่ต้องการจับจังหวะเข้าซื้อ-ขายได้แม่นยำขึ้น หรือ ไวขึ้นนั่นเอง

วิธีการใช้ TEMA ในการเทรดเบื้องต้น

รูปที่ 1 วิธีการใช้ TEMA ในการเทรดเบื้องต้น
รูปที่ 1 วิธีการใช้ TEMA ในการเทรดเบื้องต้น

TEMA สามารถใช้เป็นแนวทางในการจับแนวโน้มและสร้างสัญญาณซื้อ-ขายได้ โดยมีแนวทางหลักดังนี้

  1. การใช้ TEMA เพื่อติดตามแนวโน้ม
    • หากเส้น TEMA อยู่เหนือราคาจะ แสดงแนวโน้มขาขึ้น (Bullish)
    • หากเส้น TEMA อยู่ใต้ราคาจะ แสดงแนวโน้มขาลง (Bearish)
  2. การใช้ TEMA Cross Over กับราคา
    • หากราคาตัดขึ้นเหนือเส้น TEMA เป็นสัญญาณเข้าซื้อ (Buy Signal)
    • หากราคาตัดลงต่ำกว่าเส้น TEMA เป็นสัญญาณขาย (Sell Signal)
  3. การใช้ TEMA ร่วมกับ ADX เพื่อยืนยันแนวโน้ม
    • หากค่า ADX มากกว่า 20 หรือ 25 หมายถึงแนวโน้มที่เกิดขึ้นมีความแข็งแกร่ง สามารถใช้ TEMA เพื่อเข้าเทรดได้
    • หากค่า ADX ต่ำกว่า 20 หรือ 25 หมายถึงแนวโน้มไม่แข็งแกร่ง อาจเป็นการแกว่งตัวของราคา ควรหลีกเลี่ยงการเข้าเทรด
  4. หลีกเลี่ยงการใช้งานช่วง Sideway เพราะอาจะทำให้เกิด False Signal ได้ง่าย

สูตร Triple Exponential Moving Average (TEMA)

รูปที่ 2 วิธีคำนวณ TEMA
รูปที่ 2 วิธีคำนวณ TEMA

TEMA ถูกคำนวณโดยใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กซ์โพเนนเชียล (EMA) ซ้อนกันสามชั้น โดยมีสูตรดังนี้:

TEMA = (3 × EMA1) - (3 × EMA2) + EMA3

โดยที่

  • EMA1 เป็นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เอ็กซ์โพเนนเชียลปกติ
  • EMA2 เป็นค่าเฉลี่ยของ EMA1
  • EMA3 เป็นค่าเฉลี่ยของ EMA2

วิธีคำนวณ EMA เบื้องต้น

EMA คำนวณโดยใช้สูตรดังนี้

EMAn = aP(n) + EMA(n-1)x(1-a)

โดยที่ค่า Smoothing Factor คำนวณจาก 2 / (จำนวนวัน + 1)

ตัวอย่างการคำนวณ TEMA

รูปที่ 3 ตัวอย่างการคำนวณ TEMA
รูปที่ 3 ตัวอย่างการคำนวณ TEMA

เงื่อนไขตัวอย่าง

  • ราคาปิดของวันก่อนหน้าคือ 49
  • ราคาปิดล่าสุดคือ 51
  • ใช้ค่า T = 10 ซึ่งทำให้ค่า Smoothing Factor เท่ากับ 1818
  1. คำนวณค่า EMA1
  • EMA1 = (ราคาปิดล่าสุด × 0.1818) + (EMA1 ก่อนหน้า × 0.8182)
  • EMA1 = (51 × 0.1818) + (49 × 0.8182) = 49.36
  1. คำนวณค่า EMA2 (ค่าเฉลี่ยของ EMA1)
  • EMA2 = (EMA1 × 0.1818) + (EMA2 ก่อนหน้า × 0.8182)
  • EMA2 = (49.36 × 0.1818) + (49 × 0.8182) = 49.07
  1. คำนวณค่า EMA3 (ค่าเฉลี่ยของ EMA2)
  • EMA3 = (EMA2 × 0.1818) + (EMA3 ก่อนหน้า × 0.8182)
  • EMA3 = (49.07 × 0.1818) + (49 × 0.8182) = 49.01
  1. คำนวณค่า TEMA
  • TEMA = (3 × EMA1) - (3 × EMA2) + EMA3
    • TEMA = (3 × 49.36) - (3 × 49.07) + 49.01
    • TEMA = 148.08 - 147.21 + 49.01
    • TEMA = 49.88

ดังนั้น ค่า TEMA (10) ที่ได้คือ 49.88 ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยที่ลดความล่าช้าได้ดีกว่า EMA ปกติ

เปรียบเทียบ TEMA และ EMA

รูปที่ 4 รูปภาพเปรียบเทียบ TEMA และ EMA
รูปที่ 4 รูปภาพเปรียบเทียบ TEMA และ EMA

คุณสมบัติ

TEMA

EMA

ความไวต่อราคา

สูงกว่า

ต่ำกว่า

ความล่าช้า (Lag)

น้อยกว่า

มากกว่า

การใช้ระยะสั้น

เหมาะสม

ใช้ได้แต่มี Lag

การใช้ระยะยาว

ใช้ได้แต่ผันผวน

เหมาะสำหรับแนวโน้มใหญ่

การกรอง Noise

กรองน้อยกว่า

กรองได้มากกว่า

จุดเด่นของ TEMA เหนือ EMA

  • ตอบสนองเร็วกว่า ทำให้จับแนวโน้มได้ไวขึ้น
  • ลดความล่าช้าของ EMA ทำให้แม่นยำขึ้นในตลาดที่เคลื่อนไหวเร็ว
  • ใช้สำหรับการเทรดที่ต้องการการตอบสนองรวดเร็ว เช่น Scalping หรือ Swing Trading

ข้อเสียของ TEMA เทียบกับ EMA

  • อาจให้สัญญาณผิดพลาดในตลาดที่มี Noise สูง เนื่องจากความไวต่อราคาที่มากขึ้น
  • อาจไม่เหมาะสำหรับนักลงทุนที่เน้นแนวโน้มระยะยาว เนื่องจากผันผวนมากกว่า EMA

การใช้ TEMA ในการเขียน EA บน Fxdreema

รูปที่ 5 การใช้ TEMA ร่วมกับ ADX ในการเขียน EA บน Fxdreema
รูปที่ 5 การใช้ TEMA ร่วมกับ ADX ในการเขียน EA บน Fxdreema
รูปที่ 6 ผลลัพธ์การ Backtest TEMA ร่วมกับ ADX ในระยะเวลา 1 ปี
รูปที่ 6 ผลลัพธ์การ Backtest TEMA ร่วมกับ ADX ในระยะเวลา 1 ปี

ข้อควรระวังและคำแนะนำ

  • TEMA มีความไวสูง: เนื่องจาก TEMA ตอบสนองต่อราคาที่รวดเร็ว อาจเกิดสัญญาณผิดพลาด (False Signals) ได้ง่าย โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง
  • ควรใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์อื่น: เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวิเคราะห์ เช่น การใช้ร่วมกับ RSI หรือ MACD
  • เหมาะสำหรับการเทรดระยะสั้น: เหมาะกับนักเทรดที่ต้องการจับจังหวะเข้า-ออกที่รวดเร็ว เช่น Day Trading และ Scalping
  • หลีกเลี่ยงการใช้ในตลาดที่ Sideways: ในตลาดที่ไม่มีแนวโน้มชัดเจน TEMA อาจให้สัญญาณที่คลาดเคลื่อน
  • ทดสอบก่อนใช้งานจริง: ควรทำ Backtesting และลองใช้งานในบัญชีทดลอง (Demo) ก่อนนำไปใช้กับบัญชีจริง

สรุป

  • Triple Exponential Moving Average (TEMA) เป็นหนึ่งในอินดิเคเตอร์ที่ทรงพลังและได้รับความนิยมสำหรับการวิเคราะห์แนวโน้ม เนื่องจากสามารถลดความล่าช้าของ EMA ได้ดี อย่างไรก็ตาม ควรใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์อื่นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำยิ่งขึ้น
  • หากคุณต้องการจับจังหวะเทรดที่แม่นยำและรวดเร็วขึ้น TEMA อาจเป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับคุณก็ได้ครับ

อ้างอิง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *