การเทรดมีคุณภาพ จาก Mindset ที่ดี

เบื้องหลังการเทรดที่ดี คือ Mindset ที่ดี

Mindset Trading หมายถึง Mindset ที่ดี ของสภาวะทางจิตใจและอารมณ์ของเทรดเดอร์ในขณะที่พวกเขาจะใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการซื้อและขายสินทรัพย์ทางการเงินต่าง ๆ Mindset Trading ที่แข็งแกร่งจะช่วยส่งผลความสำคัญต่อความสำเร็จได้

Mindset Trading ที่ดีนั้นก็ประกอบไปด้วยหลาย ๆ ปัจจัยรวมกัน เพราะฉะนั้นแล้วในบทความนี้ Investplanet ขอมาเล่าให้ทุกคนฟังว่าจะมีเรื่องไหนบ้าง เพื่อให้ทุกคนได้เอาไปฝึกฝนกัน ถ้าพร้อมแล้ว ไปเริ่มกันที่เรื่องแรกได้เลย


ความอดทน

รูปที่ 1 ความอดทนต่อความผันผวน และอนทนรอจังหวะที่เหมาะสม จะช่วยให้เราไม่พลาดโอกาสในการทำกำไร
รูปที่ 1 ความอดทนต่อความผันผวน และอนทนรอจังหวะที่เหมาะสม จะช่วยให้เราไม่พลาดโอกาสในการทำกำไร

ความอดทน เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญในการเทรดที่ดี ความสามารถในการรอโอกาสที่เหมาะสม และไม่ตัดสินใจเร็วจนเกินไปตามความผันผวนของตลาดในระยะสั้น เทรดเดอร์ที่มีความอดทนเต็มใจที่จะรอเงื่อนไขที่เหมาะสมเพื่อเข้าสู่การซื้อขาย และไม่หวั่นไหวไปกับอารมณ์ของความกลัว และความโลภ

ความอดทนเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการเทรด เนื่องจากตลาดสามารถผันผวนได้สูงโดยเฉพาะในระยะสั้น แต่หากมีความอดทน เทรดเดอร์สามารถหลีกเลี่ยงการเทรดแบบใจร้อน และมุ่งเน้นไปที่การค้นหาการเทรดที่มีความเป็นไปได้สูงซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์ของตัวเองแทน

ตัวอย่างของการใช้ความอดทนให้เป็นประโยชน์ต่อการเทรด

  • รอจุดเข้าที่ถูกต้อง แทนที่จะพยายามคาดการณ์จุดสูงสุด และจุดต่ำสุดของตลาด
  • หลีกเลี่ยงการซื้อขายมากเกินไป (Over Trade) ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงที่ไม่จำเป็น
  • ถือครองสถานะในระยะยาว (Hold) แทนที่จะปิดก่อนเวลาอันควรเนื่องจากความผันผวนของตลาดในระยะสั้น

เช่นเดียวกับเรื่องวินัย ความอดทนได้รับการพัฒนาผ่านการฝึกฝนและการทบทวนตนเอง เทรดเดอร์ควรประเมินพฤติกรรมของตนอย่างต่อเนื่อง เสริมสร้างนิสัยที่ดีและพยายามเข้าใจสิ่งกระตุ้นอารมณ์ของตนเองที่อาจนำไปสู่การตัดสินใจที่ที่ขาดการไตร่ตรอง


การจัดการความเสี่ยง

รูปที่ 2 การจัดการความเสี่ยงจะช่วยรักษาเงินต้นของเราให้อยู่อย่างปลอดภัย และมีโอกาสทำกำไรต่อได้
รูปที่ 2 การจัดการความเสี่ยงจะช่วยรักษาเงินต้นของเราให้อยู่อย่างปลอดภัย และมีโอกาสทำกำไรต่อได้

การจัดการความเสี่ยง หมายถึงความสามารถในการเข้าใจ และระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการเทรดได้ การจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพสามารถช่วยเทรดเดอร์ในการลดความสูญเสียและปกป้องเงินทุนของตัวเองได้

การจัดการความเสี่ยงเป็นกระบวนการหลายแง่มุมที่มีทั้งองค์ประกอบเชิงปริมาณ เช่น

  • การตั้งค่าคำสั่งหยุดการขาดทุน (Stop Lost) เพื่อจำกัดการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น
  • การกำหนดจำนวนเงินในการซื้อแต่ละครั้ง (Position Sizing) ให้สอดคล้องกับปริมาณเงินที่เรามีในพอร์ต เพื่อลดความเสี่ยงโดยรวม
  • กระจายพอร์ตการลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์ หรือเหรียญอื่น ๆ ด้วย

เทรดเดอร์ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีแผนการจัดการความเสี่ยงที่ครอบคลุม ควรทบทวนและแก้ไขแผนอย่างต่อเนื่องเมื่อสภาวะตลาดเปลี่ยนแปลง หรือเมื่อตัวเทรดเดอร์มีความเข้าใจในเรื่องของความเสี่ยงและสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น


การควบคุมอารมณ์

รูปที่ 3 การควบคุมอารมณ์ ช่วยให้เรามีสติและการตัดสินใจที่ดีขึ้น มีเหตุผลมากขึ้น
รูปที่ 3 การควบคุมอารมณ์ ช่วยให้เรามีสติและการตัดสินใจที่ดีขึ้น มีเหตุผลมากขึ้น

การควบคุมอารมณ์ เช่น ความกลัว และความโลภ ไม่ปล่อยให้มาบดบังการตัดสินใจ อารมณ์สามารถมีผลกระทบอย่างมากต่อการตัดสินใจซื้อขาย ด้วยการควบคุมอารมณ์ เทรดเดอร์สามารถตัดสินใจอย่างมีเหตุผลและแม่นยำได้มากขึ้น

อารมณ์อาจเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่งในการจัดการในสภาพแวดล้อมที่รวดเร็วและผันผวนของตลาดคริปโท ความกลัวที่จะสูญเสียเงิน หรือกลัวการพลาดการเทรดที่อาจทำกำไรได้ ความกลัวเหล่านั้นมีโอกาสพาเราไปสู่การซื้อและขายอย่างใจร้อน ในขณะที่ความโลภสามารถพาเราไปสู่การเทรดที่เกินจำเป็น (Over Trade) และความเสี่ยงเกินจำเป็นที่จะตามมาเป็นเงา

ตัวอย่างของวิธีการควบคุมอารมณ์ในการซื้อขาย

  • กำหนดเป้าหมายการซื้อขายที่ชัดเจน
  • ฝึกสติหรือทำสมาธิเพื่อช่วยจัดการกับความเครียด
  • จดบันทึกการซื้อขายเพื่อสะท้อนอารมณ์และการตัดสินใจ
  • ขอความช่วยเหลือจากคนอื่นได้ เมื่อรู้ตัวว่าอารมณ์อยู่เหนือคุณแล้ว ให้คนอื่นช่วยห้าม

การปรับใช้ และ ปรับตัว

รูปที่ 4 ปรับตัวตามตลาดให้ทัน มีกลยุทธ์และแผนรองรับที่เหมาะสม
รูปที่ 4 ปรับตัวตามตลาดให้ทัน มีกลยุทธ์และแผนรองรับที่เหมาะสม

การปรับใช้ และการปรับตัว หมายถึงความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลง และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้ตลอด เพื่อให้สอดคล้องกับตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เทรดเดอร์ที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทัน ก็ไม่อาจอยู่รอดได้นาน

การปรับตัวในการซื้อขายมีหลายรูปแบบ นอกจากนี้ยังหมายถึงความสามารถในการระบุและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะตลาด เช่น การเปลี่ยนแปลงของข้อมูลทางเศรษฐกิจ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจจะส่งผลต่อราคา

ตัวอย่างบางส่วนเกี่ยวกับการปรับตัวในการเทรด

  • ติดตามภาวะตลาดและ สัญญาณต่างๆ เป็นประจำ แต่อาจจะไม่ต้องตลอดเวลา
  • รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับตลาด
  • เปิดรับแนวคิด และแนวทางใหม่ๆ
  • ประเมินและปรับกลยุทธ์การซื้อขายอย่างต่อเนื่องเมื่อจำเป็น
  • เต็มใจที่จะทำกำไร หรือตัดขาดทุนเมื่อเห็นว่าการซื้อขายนั้นเริ่มไม่ตรงตามแผน หรือไม่เป็นผล

การปรับตัวเป็นเรื่องที่ต้องทำตลอด ไม่ใช่การทำครั้งเดียวจบ สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักถึงอคติและข้อจำกัดของตนเอง และเต็มใจที่จะเปลี่ยนแปลงเมื่อจำเป็น นอกจากนี้ การรักษากรอบความคิดในการเรียนรู้ การแสวงหาข้อมูลและการศึกษาใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องสามารถช่วยปรับปรุงความสามารถในการปรับตัวได้


การมองการณ์ไกล

รูปที่ 5 ในระหว่างทางอาจจะมีขึ้นลงบ้างเป็นเรื่องปกติ การมองภาพระยะยาวช่วยให้มั่นคงต่อเป้าหมายได้
รูปที่ 5 ในระหว่างทางอาจจะมีขึ้นลงบ้างเป็นเรื่องปกติ การมองภาพระยะยาวช่วยให้มั่นคงต่อเป้าหมายได้

การมองการณ์ไกล หมายถึงการมองข้ามความผันผวนและความวุ่นวายของตลาดในระยะสั้น และมุ่งเน้นไปที่ภาพรวมระยะยาว โดยเข้าใจว่าความสำเร็จในการเทรดนั้นต้องใช้เวลา และจะมีการขึ้นและลงระหว่างทางเป็นเรื่องธรรมดา

ตัวอย่างของวิธีการใช้มุมมองการมองการณ์ไกลในการซื้อขาย

  • ตั้งเป้าหมายระยะยาว และแผนการเทรดเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
  • มุ่งเน้นไปที่ปัจจัยพื้นฐานของตลาด และแนวโน้มพื้นฐานมากกว่าความผันผวนในระยะสั้น
  • ถือให้นานพอ อย่ากลัวการเสียกำไรจนต้องใจร้อนขายไปก่อน
  • เข้าใจ และสบายใจกับการขึ้นลงของตลาดว่าเป็นเรื่องธรรมดา

การมีมุมมองระยะยาว ช่วยให้เทรดเดอร์มีเป้าหายที่ชัดเจนขึ้น และยังช่วยพัฒนาทักษะในเรื่องของความอดน และ การควบคุมอารมณ์ไปพร้อม ๆ กัน


การรู้จักตัวเอง

รูปที่ 6 การรู้จักตัวเองที่มากขึ้น ช่วยพัฒนาการเทรดได้ดีขึ้น
รูปที่ 6 การรู้จักตัวเองที่มากขึ้น ช่วยพัฒนาการเทรดได้ดีขึ้น

การรู้จักตัวเอง คือความเข้าใจในจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเองในฐานะเทรดเดอร์ พยามลดจุดอ่อน และพัฒนาจุดแข็งของตัวเอง เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจและช่วยให้เห็นภาพความสำเร็จได้ชัดขึ้น

การเทรดเป็นกิจกรรมที่ท้าทายและซับซ้อนซึ่งต้องอาศัยการรู้จักตัวเองดีในระดับหนึ่ง เทรดเดอร์ต้องสามารถรับรู้ถึงอคติ อารมณ์ และข้อจำกัดของตนเอง และทำบางอย่างเพื่อจัดการกับสิ่งเหล่านี้ นอกจากนี้ ยังต้องตระหนักถึงความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพื่อให้แน่ใจว่ากลยุทธ์การซื้อขายสอดคล้องกับนิสัยและสไตล์ของตัวเองหรือไม่

ตัวอย่างบางส่วนเกี่ยวกับวิธีการทำความรู้จักตัวเองเพื่อใช้ในการเทรด

  • จดบันทึกการเทรดในแต่ละครั้ง ดูว่าเราทำตามเหตุผล หรืออารมณ์มากกว่ากัน
  • ให้คนอื่นช่วยรีวิวตัวเอง เพื่อเปิดมุมมองด้านอื่น ๆ
  • ซื่อสัตย์กับตัวเองเกี่ยวกับความผิดพลาด และแก้ไข

 เรื่องที่อาจจะยากที่สุดในการรู้จักตัวเองคือ การยอมรับความผิดพลาดของตัวเองโดยไม่มีข้ออ้าง เพราะส่วนใหญ่แล้วเมื่อผิดพลาด คนมักโทษสิ่งต่าง ๆ รอบตัวมากกว่า เช่น ตลาดมันเป็นอย่างโน้น ข่าวมันเป็นแบบนี้ เพราะคิดว่าตัวเองทำถูกแล้ว ซึ่งในความเป็นจริงก็อาจจะใช้ในบางครั้ง แต่ไม่ใช่ทุกครั้ง หากพลาดเพราะตัวเอง ก็พัฒนาที่ตัวเอง หากพลาดเพราะตลาด ก็สร้างแผนรับมือในครั้งต่อไป


ความมีวินัย

รูปที่ 7 ฝึกฝนทักษะต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ อย่าละเลยจนลืมพัฒนาตัวเอง
รูปที่ 7 ฝึกฝนทักษะต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ อย่าละเลยจนลืมพัฒนาตัวเอง

ความมีวินัย เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของการมี Mindset Trading ที่ดี มันจะแสดงให้เห็นว่าตัวนักลงทุนหรือเทรดเดอร์นั้น สามารถทำตามรูปแบบแผนการลงทุนของตัวเองที่ผ่านมาทั้งหมดได้มากแค่ไหน เมื่อต้องพบว่าตัวเองเทรดเสียบ่อยครั้งมาก ๆ หรือในวันที่ตลาดผันผวนสูง

เทรดเดอร์ที่ผ่านการฝึกฝนเรื่องวินัยมาแล้ว จะมีความนิ่งมากขึ้น ไม่หุนหันพลันแล่น ไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินใจมากเกินไป เทรดตามกลยุทธ์และแบบแผนที่ตัวเองวางไว้ ซึ่งก็มีตัวอย่างให้เห็นหลายกรณีแล้วว่าการเทรดตามแบบแผนสามารถนำพาไปสู่ความสำเร็จได้จริง

วินัยในการซื้อขายนั้นเป็นเรื่องที่รักษาได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ตลาดตึงเครียด หรือเมื่อการซื้อขายไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญสำหรับเทรดเดอร์คือ ต้องอยู่ในเส้นทางและไม่เบี่ยงเบนไปจากแผนของตน เพราะอาจนำไปสู่การขาดทุนเพิ่มเติมได้

เราขอยกตัวอย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ เรื่องของการฝึกระเบียบวินัยไว้ดังนี้ ให้ทุกคนได้ไปพิจารณาปรับใช้ให้เข้ากับตัวเอง ไม่จำเป็นต้องทำตามทุกอย่าง

  • ทำตามเงื่อนไขการเข้าซื้อ และขายที่ตัวเองตั้งไว้ให้เข้มงวดทุกการซื้อขายในแต่ละครั้ง
  • วางแผนเรื่องการจัดการความเสี่ยง และการประกันเงินทุน
  • ไม่สนใจความผันผวนของตลาดในระยะสั้น และยึดมั่นในกลยุทธ์ระยะยาว (ข้อนี้แล้วแต่รูปแบบการลงทุนของแต่ละคนว่าจะระยะสั้น กลาง หรือยาว)
  • หลีกเลี่ยงการ “เอาทุนคืน” โดยการใส่เงินให้มากขึ้นเพื่อให้ทดแทนเงินทุนที่เสียไปในครั้งก่อน
  • หยุดพักบ้าง ช่วยลดความเหนื่อยล้า และเพื่อให้แน่ใจว่ายังมีสติในการเทรดอยู่

สรุป

ทุกอย่างที่ยกตัวอย่างไปมีความเกี่ยวข้องกัน หากเราฝึกฝนเพียงแค่ด้านใดด้านหนึ่งอาจจะทำให้ไม่เห็นการพัฒนาเท่าที่ควร  สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าความสำเร็จในการเทรด ต้องใช้เวลาและความพยายาม แม่ระหว่างทางจะมีการขึ้นและลง Mideset ที่ดีไม่ได้เกี่ยวข้องกับการร้างกำไรเพียงเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวกับความสามารถในการจัดการกับความท้าทายทางอารมณ์และจิตใจที่มาพร้อมกับการเทรดด้วย

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *