วิธีใช้งานบล็อก Counter บน fxDreema

กลับสู่สารบัญเพื่อเลือกเรียนบทอื่น ๆ

สรุปโดยย่อ

  • บล็อก Counter: Pass once สัญญาณจะผ่านได้แค่รอบเดียว และถ้าเราอยากผ่านอีกครั้งก็จำเป็นที่จะต้องรีเซ็ต ID ของบล็อกนี้ก่อน
  • บล็อก Counter: Pass “n” times สัญญาณจะผ่านได้หลายรอบ ขึ้นอยู่กับว่าเราตั้งไว้ให้ผ่านได้เท่าไหร่ เช่น ผมตั้งไว้ 3 รอบ เมื่อครบ 3 รอบแล้ว จำเป็นต้องรีเซ็ตบล็อกนี้ก่อน ถึงจะให้ผ่านอีก 3 ครั้งได้
  • บล็อก Counter: Count “n”, then pass สัญญาณจะผ่านครั้งเดียว หลังจากสัญญาณเข้ามาแล้วกี่ครั้ง เช่น ผมตั้งไว้ 5 ครั้ง นั่นหมายความว่าบล็อกนี้ต้องได้รับสัญญาณ 5 ครั้งก่อน ถึงจะผ่านรอบนึงนั่นเอง และเมื่อครบ 5 ครั้งแล้ว จำเป็นต้องรีเซ็ตบล็อกนี้ก่อน ถึงจะใช้งานบล็อกนี้ได้อีกรอบ
  • บล็อก Counter: Reset ใช้สำหรับรีเซ็ตประตู ในบล็อกที่มีคำว่า Counter ขึ้นต้นด้วยทั้งหมด
  • บล็อก Loop (pass “n” times) เป็นบล็อกที่ใช้วนลูปบล็อกที่ต่อลงไปจากบล็อคทั้งหมด ต่อการผ่านเข้าบล็อกนี้ 1 ครั้ง นั่นหมายความว่าถ้าจะ Buy ครั้งนึงแล้วผ่านบล็อกนี้ที่มีค่า pass 5 การ Buy ก็จะเกิดขึ้น 5 ครั้งนั่นเองครับ

เอาล่ะครับ หลังจากที่เราพูดถึงเรื่องวิธีการใช้งาน Flags ใน EP ก่อน วันนี้เรามาเข้าเรื่องของ วิธีใช้งานบล็อก Counter กันครับ… การที่คุณเข้าใจสิ่งที่ตัวเองใช้งานได้อย่างคล่องปรื๋อ แน่นอนว่าจะเกิดผลดีกับการพัฒนา EA ของคุณในระยะยาวอย่างแน่นอน ซึ่งในประเภทของบล็อก Counter ก็น่าสนใจเช่นกันครับ และด้วยเหตุผลนี้เราก็จะมาลองกันครับว่าบล็อก Counter ที่มีอยู่นั้นทำงานยังไงกันแน่! … โดยก่อนอื่นเลย ผมก็จะขอเรียงลำดับการพูดคุยของเราไว้ดังนี้ครับ

  1. Counter: Pass once
  2. Counter: Pass “n” times
  3. Counter: Count “n”, then pass
  4. Counter: Reset
  5. Loop (pass “n” times)

 

1. Counter: Pass Once

Counter: Pass Once เป็นบล็อกที่สัญญาณผ่านได้ 1 ครั้ง ถ้าผ่านไปแล้วครั้งนึงก็จำเป็นที่จะต้องใช้บล็อก Counter: Reset เพื่อรีเซ็ตบล็อกสัญญาณถึงจะผ่านอีกครั้งนึงได้

รูปที่ 1 แสดงหน้าต่างและตัวอย่างของการใช้บล็อก Counter: Pass once

จากรูปที่ 1 เราจะได้ไม้ Buy เพียง 1 ไม้ เพราะบล็อก Counter: Pass once นั้นผ่านได้ครั้งเดียวและต้องการการรีเซ็ตเพื่อที่จะผ่านได้อีกครั้งนึง (ตัวอย่างบน Event On Tick)

รูปที่ 2 แสดงหน้าต่างและตัวอย่างของการใช้บล็อก Counter: Pass once

จากรูปที่ 2 เราจะได้ไม้ Buy รัว ๆ เนื่องจากเมื่อเราใช้ Counter: Pass once ผ่านไปครั้งนึงแล้ว เรามีการรีเซ็ตใหม่อีกครั้งเสมอหลัง Buy เสร็จ (ID ที่ Reset ต้องตรงกับบล็อกที่ต้องการเลือกด้วย + เป็นตัวอย่างบน Event On Tick)

 

2. Counter: Pass “n” times

บล็อกนี้แตกต่างจากบล็อก Counter: Pass once ตรงที่สัญญาณเข้าได้หลายครั้ง ถึงจะต้องการการรีเซ็ตบล็อกครั้งนึง ซึ่งจำนวนครั้งตรงนี้เราสามารถลองตั้งได้เลยครับ

รูปที่ 3 แสดงหน้าต่างและตัวอย่างของการใช้บล็อก Counter: Pass “n” times

จากรูปที่ 3 เราจะไม้ Buy 3 ไม้ครับ

รูปที่ 4 แสดงหน้าต่างและตัวอย่างของการใช้บล็อก Counter: Pass “n” times

และจากรูปที่ 4 เราจะได้ไม้ Buy รัว ๆ ครับ เนื่องจากเราใช้ Counter: Reset รีเซ็ตบล็อก Counter: Pass “n” times เสมอเมื่อ Buy 1 ไม้

 

3. Counter: Count “n”, then pass

บล็อกนี้ค่อนข้างคล้ายคลึงกับบล็อก Counter: Pass once โดยเมื่อสัญญาณผ่านตามจำนวนที่เราตั้งไว้แล้ว สัญญาณจะผ่านประตูได้ 1 ครั้ง และต้องการการรีเซ็ตประตูด้วย Counter: Reset เราถึงจะใช้งานบล็อก Counter: Count “n”, then pass อีกครั้งได้

รูปที่ 5 แสดงหน้าต่างและตัวอย่างของการใช้บล็อก Counter: Count “n”, then pass

ซึ่งจากรูปที่ 5 เมื่อกราฟขยับ 3 Tick (วางบล็อกนี้บน Event On Tick) ถึงจะ Buy เพียง 1 ครั้ง เพราะไม่มีการรีเซ็ต ID ของบล็อก Counter: Count “n”, then pass

รูปที่ 6 แสดงหน้าต่างและตัวอย่างของการใช้บล็อก Counter: Count “n”, then pass

ซึ่งจากรูปที่ 6 เมื่อกราฟขยับ 3 Tick (วางบล็อกนี้บน Event On Tick) ถึงจะ Buy  1 ครั้ง เรื่อย ๆ ตลอดทุก 3 ครั้งของราคา เพราะมีการรีเซ็ต ID ของบล็อก Counter: Count “n”, then pass เมื่อ Buy แล้ว

 

4. Counter: Reset

บล็อก Counter: Reset ใช้สำหรับการรีเซ็ตบล็อกที่มีคำว่า Counter ขึ้นต้นทั้งหมด ให้รับสัญญาณได้อีกครั้ง โดยจะมี ID ของบล็อก Counter นั้นให้เราเลือกกรอกครับ ว่าเราต้องการรีเซ็ตบล็อกไหน ดังรูปที่ 7 ครับ

รูปที่ 7 แสดงหน้าต่างของบล็อก Counter: Reset

 

5. Loop (pass “n” times)

บล็อกนี้สัญญาณเข้าแค่ครั้งเดียว และจะวนลูปบล็อกที่ต่อจากบล็อกนี้ไปตามค่าที่เรากำหนดครับ เช่น ถ้าผมตั้งไว้ 3 ครั้ง เมื่อสัญญาณเข้าครั้งนึง เค้าก็จะ Buy ให้ผม 3 ครั้งเลยนั่นเองครับ ดังรูปที่ 8

รูปที่ 8 แสดงหน้าต่างและตัวอย่างการใช้งานของบล็อก Loop (pass “n” times)

โดยเราจะสังเกตได้ว่าบล็อกนี้เป็นบล็อกเดียวในตระกูลบล็อก Counter ที่ไม่ต้องการการรีเซ็ต ID ของบล็อกเพื่อเริ่มทำงานอีกครั้งนึง

 

สรุป วิธีใช้งานบล็อก Counter

การที่เราเข้าใจบล็อกที่เราใช้งานบน fxDreema เป็นอะไรที่เราได้ประโยชน์สุด ๆ เลยครับ เนื่องจากเราจะเขียน EA ได้เสร็จไวขึ้นแล้วด้วยเนี่ย เรายังมั่นใจอีกด้วยครับว่า ระบบที่เราทำไปนั้นมีความถูกต้อง
โดยบล็อกตระกูล Counter ทั้งหมดก็น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียวครับ เพราะมีการทำงานหลากหลายแบบให้เรา ๆ ท่าน ๆ ได้ลองใช้ ท่านใดลองใช้แล้วเป็นยังไงกันบ้าง ก็สามารถลองแชร์ความคิดเห็นที่กลุ่ม fxDreema so Easy TH ได้เลยครับ (แอดขอขายของหน่อยครับ ฮ่า ๆ )

 

ทีมงาน eaforexcenter.com

กลับสู่สารบัญเพื่อเลือกเรียนบทอื่น ๆ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *