ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของโบรกเกอร์ยังไง

โบรกเกอร์ Forex โกง

ฉบับย่อ

  • โบรกเกอร์ตัวจริง มักจะไม่ชวนลงทุน เร่งให้โอนเงินหรือแม้กระทั่งโชว์ความรวยของตนหรือผู้อื่น
  • โบรกเกอร์ควรที่จะมี ใบอนุญาตที่ถูกต้อง สามารถอธิบายค่าใช้ต่างๆได้ชัดเจน ควรมีความน่าเชื่อถือมีผู้ใช้บริการรีวิวในทางบวกและต้องมีการบริการที่ดีอีกด้วย

ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของโบรกเกอร์ยังไง

สวัสดีครับ ผมเป็นเจ้าหน้าที่จากโบรกเกอร์ xxx และที่ปรึกษาการลงทุนจากประเทศไซปรัส… ปีนี้เพิ่งจะเปิดบริษัทโบรกเกอร์ในประเทศไทยเป็นเจ้าแรก เพื่อเป็นการฉลอง โบรกเกอร์ของเราเปิดโอกาสให้คนไทยลงทุนในโบรกเกอร์ของเรา เพียงลงเงินกับเรา 100,000 บาท ก็จะได้ผลตอบแทน 20,000 บาททุกเดือนเป็นเวลา 2 ปี ความเสี่ยงต่ำ กำไรงาม ถ้าสนใจโอนภายในวันนี้ เราจะเพิ่มโบนัสให้อีก 20% ทุก ๆ เดือน…. ถ้าคุณเจอแบบนี้เข้าไปคุณจะรู้ได้ยังไงครับว่าเขาเป็นโบรกเกอร์จริง หรือ นักต้มตุ๋น?

Forex3d
รูปที่ 1 ถ้าคุณเผลอไปไว้ใจ เชื่อใจ และเลือกที่จะลงทุนกับเขาไป ก็มีโอกาสน้อยที่จะได้เงินคืนครับ

 

  • ข้อสังเกตที่ 1 คือ โบรกเกอร์จะ ไม่ โทรมา หรือ inbox มาเพื่อชวนใครลงทุน
  • ข้อสังเกตที่ 2 คือ นักต้มตุ๋นมักจะรับรองกำไรงาม ทั้งที่ความเป็นจริงการลงทุนไม่สามารถการันตรีผลตอบแทนได้ขนาดนั้น
  • ข้อสังเกตที่ 3 คือ เร่งให้โอนเงิน
  • ข้อสังเกตที่ 4 คือ นักต้มตุ๋นมักจะอวดการใช้ชีวิตที่ หรูหรา ไฮโซ ภาพลักษณ์ดี อวดว่าผู้ใช้บริการกับเขามากมายหลายคน (หน้าม้า)
  • ข้อสังเกตที่ 5 คือ มักจะชอบอวดความสำเร็จของคนที่ใช้บริการกับเขา (หน้าม้า)

นี่เป็นเพียง 5 ข้อสังเกตง่าย ๆ ที่สามารถนำไปใช้คัดกรองโบรกเกอร์จริง ๆ กับ กลุ่มแก๊งนักต้มตุ๋นได้ แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันก็ยังมีอีกหลาย ๆ กลุ่มที่มีความแนบเนียนในการหลอกลวงโดยการอุปโลกน์โบรกเกอร์ปลอม ๆ ขึ้นมา… ทีนี่เราจะมีวิธีจับไต๋ของโบรกเกอร์เหล่านี้ยังไงล่ะ? และเราจะ ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของโบรกเกอร์ยังไง

บทความนี้จะเบิกเนตรให้คุณได้ทราบถึง 4 สิ่งที่สามารถแยกแยะระหว่างโบรกเกอร์จริง กับ โบรกเกอร์ปลอม ออกจากกันได้ง่าย ๆ ครับ

มิจฉาชีพ forex
รูปที่ 2 สามารถแยกแยะระหว่างโบรกเกอร์จริง กับ โบรกเกอร์ปลอม

1. หน่วยงานกำกับดูแลและการออกใบอนุญาต

ปัจจุบันมีหน่วยงานจดทะเบียนโบรกเกอร์ Forex โดยเฉพาะ หน่วยงานนี้มีหน้าที่ในการตรวจสอบกำกับดูแลโบรกเกอร์ให้เป็นไปตามระเบียบเพื่อป้องกันการทุจริต และฉ้อโกงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การทำแชร์ลูกโซ่ เป็นต้น ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้จะมีข้อบังคับและกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ทว่าโดยทั่วไปก็จะมีข้อกำหนดราว ๆ นี้ครับ

  1. การตรวจสอบงบการเงินประจำปี โดยผู้ตรวจสอบบัญชี
  2. การตรวจสอบเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท
  3. การเก็บรักษาเงินทุนของลูกค้าที่ต้องแยกบัญชีต่างหากไม่ให้เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่าย, ภาระหนี้สินของบริษัท
  4. การตรวจสอบมาตรฐานการบริการ และการตรวจสอบข้อร้องเรียน
  5. เงื่อนไขการชดเชยกรณีที่โบรกเกอร์ประสบปัญหาทางหนี้สินหรือล้มละลาย

อย่างไรก็ตาม ณ ปี 2566 ประเทศไทยเรายังไม่อนุญาตให้ผู้ใดก่อตั้งและจดทะเบียนโบรกเกอร์ Forex ภายในประเทศได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าโบรกเกอร์ต่าง ๆ มันจะมีสำนักงานอยู่ต่างประเทศกันทั้งสิ้น เช่น ประเทศอังกฤษ, ประเทศออสเตรเลีย, ประเทศอเมริกา, ประเทศไซปรัส, และประเทศเบลิซ เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้เอง หากใครพบเห็น หรือ ได้ข่าวว่า โบรกเกอร์ xxx มาบอกคุณว่าเป็นโบรกเกอร์ใหม่ที่จัดพึ่งจัดตั้งและทะเบียนในประเทศ ให้คุณมั่นใจ 99.9% ได้เลยว่าเขาตั้งใจมาหลอกเอาเงินในกระเป๋าของคุณครับ

เอาล่ะครับเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาเลือกโบรกเกอร์ผมจะขอสรุปข้อมูลหน่วยงานที่กำกับดูแล และออกใบอนุญาตให้โบรกเกอร์ต่าง ๆ รวมไปถึงเงื่อนไขที่เขากำหนดให้โบรกเกอร์ปฏิบัติตามแบบคร่าว ๆ ดังนี้

ชื่อหน่วยงาน ชื่อประเทศ ข้อกำหนดต่อโบรกเกอร์
FCA อังกฤษ ·  ต้องมีเงินทุนหมุนเวียน อย่างน้อย 1 ล้านปอนด์

·  ต้องเก็บเงินลูกค้า ไว้ในบัญชีที่แยกบัญชีออกจากบัญชีของบริษัท และไม่ใช้เงินของผู้ค้าเพื่อวัตถุประสงค์อื่น

·  ต้องจัดทำรายงานการตรวจสอบประจำปี และงบการเงิน เพื่อยืนยันว่าข้อเท็จจริงทั้งหมดที่ให้ไว้กับ FCA

·  ต้องมีการรับประกัน เงินชดเชยสูงถึง 50,000 ปอนด์ สำหรับลูกค้าในกรณีที่โบรกเกอร์ล้มละลาย

ASIC ออสเตรเลีย ·  ต้องมีเงินทุนหมุนเวียน อย่างน้อย 1 ล้านเหรียญ

·  ต้องแยกเก็บเงินของลูกค้าไว้ในธนาคารชั้นนำของประเทศออสเตรเลีย

·  ไม่ได้จำกัดการเทรดในรูปแบบ Hedging และ Scalping

·  ต้องมีแพลตฟอร์มที่รวดเร็ว, มีประสิทธิภาพสำหรับการซื้อขาย

·  การซื้อขายควรเป็นไปอย่างราบรื่น และไม่มีการแทรกแซง

NFA อเมริกา ·  ต้องมีทุนจดทะเบียนอย่างน้อย 20 ล้านเหรียญสหรัฐ

·  ต้องส่งรายงานให้ NFA ทุกสัปดาห์ และมีการ Audit ตรวจสอบรับรองทุกปี

CySEC ไซปรัส ·  ต้องมีเงินทุนหมุนเวียน อย่างน้อย 750,000 ยูโร

·  ต้องส่งงบการเงินประจำปี

·  ต้องมีการรับประกันชดเชยเงินสูงสุด 20,000 ยูโรให้ลูกค้าในกรณีที่โบรกเกอร์ล้มละลาย

FSC เบลิช ·  ต้องมีเงินทุนหมุนเวียนอย่างน้อย 500,000 เหรียญ

·  บริษัทต้องจัดเก็บเงินทุนของลูกค้า แยกออกจากบัญชีของบริษัท

·  บริษัทต้องส่งรายงานประจำเดือน โดยประกอบด้วยรายละเอียดเช่น Volume การซื้อขาย, รายงานการเงิน

·  การรับผิดชอบและจัดการกับข้อร้องเรียนของลูกค้า

FCA = Financial Conduct Authority, United Kingdom

ASIC = Australian Securities and Investments Commission

NFA = National Futures Association

CySEC = Cyprus Securities and Exchange Commission

FSC = The Financial Services Commission

รูปที่ 3 หน่วยงาน NFA รับผิดชอบดูแลในประเทศอเมริกา และถ้าหากคุณพบเจอโบรกเกอร์ไหนมีการแอบอ้างว่าได้รับใบอนุญาตจาก NFA แล้วล่ะก็ สามารถนำเลข ID หรือ ชื่อโบรกเกอร์เข้าไปเช็คได้ที่ Link นี้เลยครับ https://www.nfa.futures.org/basicnet/#home

ตารางข้างบนนี้เป็นเพียงหน่วยงานบางส่วนเท่านั้น ซึ่งยังมีอีกหลาย ๆ ประเทศที่มีหน่วยงานดูแลอยู่ เช่น ประเทศแคนาดาก็จะมีหน่วยงาน BCSC, OSC, CIPF เข้ามาดูแล หากเป็นประเทศญี่ปุ่นก็จะมี FFAJ และ FSA กำกับดูแลอยู่ หากเป็นประเทศสวิซเซอร์แลนด์เองก็มี SFDF, FINMA, ARIF ดูแลอยู่ เป็นต้น ดังนั้นนักลงทุน หรือ เทรดเดอร์ควรจะค้นหาข้อมูลเหล่านี้และเช็คให้ชัวร์ก่อนที่จะเลือกใช้โบรกเกอร์นั่น ๆ ครับ

 

2. ต้นทุนการซื้อขายและค่าธรรมเนียม

โบรกเกอร์จริง ๆ จะสามารถอธิบายถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เทรดเดอร์จะต้องจ่าย เช่น ค่าธรรมเนียมการฝาก – ถอนเงิน, ราคา bid – ask, ค่าสเปรด, และค่าคอมมิชชั่นต่าง ๆ เป็นต้น ถ้าหากเป็นไปได้แล้วล่ะก็เทรดเดอร์เองควรจะศึกษา และเปรียบเทียบข้อมูลเหล่านี้กับโบรกเกอร์อื่น ๆ เพื่อประโยชน์สูงสุดของเทรดเดอร์เองด้วยครับ

 

3. ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือ

ต้องบอกกันอย่างตรง ๆ เลยครับว่า ชื่อเสียง และความน่าเชื่อถือมีผลอย่างมากที่จะบ่งชี้ว่าโบรกเกอร์ไหนเป็นของจริงของปลอม เนื่องจากโบรกเกอร์ที่ได้รับใบอนุญาตมาจริง ๆ เขาจะสามารถอยู่รอดในตลาดได้นานมาก ๆ สาเหตุมีหลายประการ ยิ่งถ้าโบรกเกอร์ไหนมีประวัติการก่อตั้งมากกว่า 10 ปี ก็ยิ่งน่าเชื่อถือเข้าไปใหญ่

อีกหนึ่งทางเลือกที่จะดูชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือ คือ บทความรีวิวทั้งหลายแหล่ เพราะคนกลุ่มนี้สามารถวิพากษ์วิจารโบรกเกอร์ได้อย่างอิสระ คุณจะรู้เลยว่านิสัยใจคอของโบรกเกอร์แต่ละเจ้าเป็นอย่างไร มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร หรือ เป็นโบรกเกอร์เถื่อน หรือ เป็นโบรกเกอร์แชร์ลูกโซ่หรือไม่ครับ

รีวิวโบรกเกอร์
รูปที่ 4 โบรกเกอร์ไหนที่มีคนรีวิวเยอะ ๆ ก็ค่อนข้างมั่นใจได้ว่าเขาไม่ได้หลอกลวง แต่อย่างไรก็ดีคุณควรตรวจเช็คให้รอบด้านด้วยตัวของคุณเองเสมอ

 

4. การบริการลูกค้าและการสนับสนุนลูกค้า

โบรกเกอร์จัดเป็นการบริการในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้กันเมื่อใครทำธุรกิจให้บริการ คนนั้นต้องบริการ อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้ลูกค้าด้วยความสมัครใจ ดังนั้นเว็บไซน์ของโบรกเกอร์ควรจะมี ระบบการฝาก-ถอนเงินที่ดี, ระบบสมัครสมาชิกที่ง่ายและปลอดภัย, ต้องมีแพลตฟอร์มการเทรดที่ได้มาตรฐานสากล, ต้องมีคู่มือแนะนำการใช้งานเป็นขั้นเป็นตอน, และโปรโมชั่น หรือ โบนัสที่ไม่ขายฝันเกินความเป็นจริง เป็นต้น

นอกจากนี้การสนับสุนลูกค้า หรือที่เราพูดกันติดปากคือ Customer Support นั่นเอง สิ่งนี้คือเสน่ห์อย่างหนึ่งของโบรกเกอร์ที่จะทำให้ผู้คนตัดสินใจใช้บริการอยู่หรือควรย้ายเงินไปใช้โบรกเกอร์อื่นที่ดีกว่า เพราะเมื่อเกิดปัญหาใด ๆ ก็ตามที่เทรดเดอร์แก้ไขไม่ได้ เขาจะต้องสามารถติดต่อ พูดคุย กับทีม Support ให้ช่วยแก้ไขปัญหานั้น ๆ ได้ตลอดเวลา ดังนี้แล้วมันจึงเป็นจุดสังเกตที่เหล่าโบรกเกอร์ปลอม ๆ ที่หมายจะหลอกกินเงินในกระเป๋าผู้คนจะไม่มีสิ่งนี้อยู่ครับ

 

สรุป

โบรกเกอร์บนโลกนี้มีมากมายนับร้อย แต่อาจจะมีเพียงไม่กี่สิบโบรกเกอร์เท่านั้นที่เป็นของจริง จุดจับสังเหตุ 4 ข้อใหญ่ ๆ ที่อธิบายข้างต้นสามารถเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถช่วยให้คุณคัดกรองโบรกเกอร์จริง ออกจาก โบรกเกอร์ปลอม หรือ นักต้มตุ๋นได้ และโปรดหลีกเลี่ยงกลุ่มคนที่มักจะชอบบอกคุณว่า “มาลงทุนกับเราไหม เพียงแค่ลงเงินเท่านี้บาทก็จะได้ผลตอบแทนเท่านั้นบาทโดยไม่ต้องทำอะไร” คราวนี้คงจะตอบได้แล้วนะครับว่า เราสามารถ ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของโบรกเกอร์ยังไง 😀

 

“เงินเป็นของคุณ มันไม่มีใครที่รักและดูแลได้ดีเท่าตัวคุณเอง ดังนั้นอย่าฝากความหวังเอาไว้กับใคร”

 

สิ่งที่น่าสนใจอื่น ๆ ภายในเว็บของเรา

  1. รีวิวโบรกเกอร์ Forex ฉบับอัพเดทล่าสุด
  2. รีวิวกองทุน Forex ยอดนิยม
  3. วิธีเขียน EA ด้วย fxDreema ฟรี
  4. EA Forex Freemium สำหรับแจกฟรีสำหรับผู้ที่ต่อ IB กับเรา
  5. การทำฟาร์ม EA ด้วยระบบ Copy trade
  6. ห้อง Singal Free สำหรับคนชอบเทรดทอง

 

ทีมงาน eaforexcenter.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *