เรื่องที่สำคัญมาก ๆ เทียบเท่ากับการมี Money Mangement คือ จิตวิทยาการเทรด และยังเป็นเรื่องที่สามารถทำได้อยากมาก ๆ เช่นกัน เพราะเรานอกจากเราจะต้องต่อสู้กับตลาดแล้ว เรายังต้องต่อสู้กับอารมณ์ของตัวเองด้วย นั่นแหละคือส่วนที่ยากที่สุด แต่ถ้าเราทำได้ ก็เหมือนเป็นการเปิดประตูสู่ความสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง
อารมณ์ที่จะเกิดขึ้นในการเทรดหลัก ๆ แล้วจะมีด้วยกัน 2 อารมณ์ คือ
ความโลภ
ความโลภนั้นส่งผลยังไงกับการเทรดของเรา? ความโลภส่งผลให้เราเกิดความกล้า ซึ่งฟังแล้วเหมือนจะเป็นเรื่องที่ดี แต่ความโลภนี้แหละที่จะทำให้เรากล้าเสี่ยงมากจนเกินไป จนอาจจะทำให้เรามองข้ามการวางแผน และตัดสินใจโดยขาดความน่าจะเป็น และนั่นเองที่นำพาไปสู่จุดจบที่เรียกว่า Over trade
ความกลัว
ความกลัวนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือมันสามารถยับยั้งความโลภของเราได้ในระดับหนึ่ง เช่น เรากลัวการขาดทุน เลยไม่ลงเงินในการเทรดเยอะจนเกินไป ซึ่งก็ป้องกันการ Over Trade ได้ แต่ในทางกลับกัน ข้อเสียของความกลัวคือ การกลัวที่จะเสี่ยง แน่นอนว่าในการเทรดนั้นย่อมีความเสี่ยงอยู่แล้วเป็นเรื่องธรรมดา แต่การกลัวที่จะเสี่ยงก็ทำให้เราอาจจะได้กำไรน้อยกว่าความเป็นจริงที่ควรจะได้
และต่อไปนี้คือหัวข้อที่จะช่วยแยกแยะว่ามีอะไรที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาการเทรดบ้าง เพื่อให้เราได้ไปศึกษาและฝึกฝนต่อไป
1.เราไม่จำเป็นต้องรู้ทุกอย่าง
สำหรับมือใหม่หลายคนที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มที่ตรงไหนดีในตอนแรก เลยพยามหาข้อมูลจากหลาย ๆ ที่ทั้งหาหนังสืออ่าน ไปฟังสัมมนา ฟังโค้ชสอน หรืออะไรก็ตามแต่ แล้วก็เอาข้อมูลเหล่านั้นมายำรวมกันแล้วเรียกข้มูลชุดนั้นว่า ข้อมูลพื้นฐานการเทรด
แล้วก็พยามเอาข้อมูลชุดนั้นมาลองใช้ในการเทรดจริง มันจะรู้สึกตื่นเต้น และเสียวหน่อย ๆ ถ้าโชคดี การเทรดก็อาจจะราบรื่นดี แต่ถ้าหากไม่แล้วล่ะก็ คุณก็จะเป็น 90% ของนักเทรดที่ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งในตอนนั้นเองคุณอาจจะเริ่มเข้าใจถึงความสำคัญของ จิตวิทยาการเทรด ขึ้นมาได้
แล้วเราต้องรู้อะไรบ้าง ?
ทางแก้ของเรื่องนี้ เราไม่ได้บอกว่าให้คุณหยุดเรียนรู้ การเรียนรู้เป็นเรื่องที่ดี ก็เรียนเท่าที่ตัวเราจะเรียนได้ แต่ให้จัดหมวดหมู่ กลยุทธ์ หรือแผนการเทรดที่เราได้เรียนมาออกเป็นหมวดหมู่ ย่อให้เข้าใจง่ายสำหรับตัวเอง แล้วเลือกอันที่คิดว่าเหมาะกับนิสัยการลงทุนของตัวเองให้มากที่สุด มาลองใช้ และค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนให้เป็นตัวเองมากที่สุด
2.ยอมรับว่าตลาดคาดเดาไม่ได้
เราสามารถใช้ Indicator อย่าง Harmonic, Elliott Wave, แนวรับแนวต้าน, Fibonacci หรืออะไรก็ตามแต่เพื่อวิเคราะห์ตลาด ซึ่งในบ้างครั้ง ตลาดอาจจะเป็นไปตามการวิเคราะห์เราเรา จนรู้สึกเหมือนเราควบคุมตลาดได้เลย แต่ก็มีอีกหลายครั้งเช่นกัน ที่ตลาดจะทำลายทุกการวิเคราะห์ที่เราได้สร้างมาทั้งหมดทิ้งไป
ยิ่งเราอยู่ในตลาดนานเท่าไหร่ จะยิ่งรู้ว่าไม่ต้องไปวิเคราะห์ที่ไหนไกลๆ แค่วิเคราะห์สิ่งที่เราคิดอยู่ในหัวของเรานั่นแหละ เพราะว่า การที่ตลาดจะตอบสนองต่อการวิเคราะห์ของเราได้นั้น มันก็เกิดจากการที่นักเทรดหรือนักลงทุนคนอื่น ๆ คิดเหมือนกันกับเราหรือเปล่า
แต่ก็จะมีคนเพียงไม่กี่คนที่มีเงินมากพอที่จะทำลายทุกการวิเคราะห์ของเรา และคนเหล่านั้นจะเป็นคนกำหนดราคาของตลาดว่าจะให้เหรียญนั้นขึ้นหรือลง
3.การรีวิว Equity Curve ของตัวเอง
Equity Curve คือการเติบโตของเงินทุนตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันที่แสดงออกมาในรูปแบบ กราฟ เป็นเหมือนการถอยออกมาดูพอร์ทของเราเองจากมุมกว้าง เพื่อให้เห็นภาพรวมตั้งแต่เริ่มว่าสุขภาพของพอร์ทเรานั้นเป็นอย่างไร มีการเติบโตขึ้น หรือลงมากแค่ไหน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วตามแพลตฟอร์มต่าง ๆ จะมีการบันทึกการเทรดไว้อยู่แล้ว เราสามารถเรียกดูข้อมูลเหล่านั้นเป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือกำหนดเองก็ได้
มีโอกาสที่หาก Equity Curve ของเราไม่ได้เติบโตขึ้นอย่างช้า ๆ และมั่นคง แสดงว่าเรากำลังมีปัญหากับการจัดการความเสี่ยง เพราะทุกครั้งที่เราทำกำไรไม้ใหญ่ ๆ ได้ เราก็จะเสี่ยงมากขึ้น และยอมขาดทุนมากขึ้น
4.ยอมรับว่าตลาดมีความเสี่ยง
เชื่อว่าหลายคนเคยปิด Position ก่อนราคาลงมาถึง Stop Loss ที่ตั้งไว้ คำถามคือ แล้วจะตั้ง Stop Loss ไว้ตั้งแต่แรกทำไม? เราอาจให้เหตุผลว่า “ก็เพราะราคาไม่เป็นไปตามที่คาดไว้” แน่นอนที่การตัดสินใจครั้งนั้นอาจจะช่วยทำให้ไม่ขาดทุนไปมากกว่านี้ แต่หากเกิดขึ้นบ่อยๆ แปลว่าเราไม่มีรูปแบบการเทรด และไม่ยอมรับว่าตลาดมีความเสี่ยง จนเกิดความกลัว
ถ้าเราไม่ยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในตลาด เราตีความ Noice ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และพยามหาเหตุผลมาสนับสนุนเพื่อให้ตัวเองรีบออกจากการซื้อขายนั้นให้เร็วที่สุด
5.ผิดก็ยอมรับว่าผิด
ตลาดคริปโทนั้นมีความเสี่ยงและผันผวนอยู่เสมอ การเข้าใจว่าอาจจะมีการเดินหมากพลาดไปบ้างเป็นเรื่องที่เราควรทำความเข้าใจ และการยอมรับว่าเราไม่มีทางที่จะถูกเสมอ จะช่วยให้เราประหยัดเวลา และประหยัดเงินลงทุนของเราได้
สำหรับบางคนที่มีแผนการเทรด Risk Reword (RR) อยู่ที่ 1:3 ก็ให้ใช้เกณฑ์ที่ตัวเองได้ตั้งไว้ต่อไป ในสัดส่วนนั้นเราอาจจะโดน 1 บ่อย ๆ แต่ตราบใดที่ได้ 3 มาแล้ว มันจะค่อย ๆ ดีขึ้นเรื่อย ๆ การคิดและวางแผนอย่างเป็นระบบจะช่วยให้เรายอมรับความผิดอย่างมีเหตุมีผล มากกว่าการเทรดแบบ “หวังว่ามันจะเป็นแบบนั้น มันจะเป็นแบบนี้”
6.เชื่อมั่นในความคิดตัวเอง
ใน Internet และ Social Media นั้นมีข้อมูลการวิเคราะห์ตลาด และความคิดเห็นจากคนอื่น ๆ อยู่เกลื่อนกลาด มีหลายร้อยเว็บไซต์และกูรูที่พยามจะบอกเราว่าตลาดจะไปทางไหนต่อ ซึ่งเราก็รู้อยู่แล้วว่าเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าจะเป็นแบบนั้นจริงหรือไม่
แต่ก็ไม่ได้ผิดอะไรที่จะเลือกติดตามกูรูที่เราชอบเพื่อเป็นแนวทาง แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง ท้ายที่สุดแล้วเราต้องมีความคิดเป็นของตัวเอง ต้องเชื่อมั่นในการวิเคราะห์ของตัวเอง
7.พัฒนา Mindset แบบผู้ชนะ
เมื่อเรายอมรับในตัวเอง และยอมรับในตลาดแล้ว เราจะไหลไปพร้อมกับตลาด จนเหมือนตัวเรากับตลาดเชื่อมโยงกันเกือบ 100% สามารถทำกำไรได้มากกว่าขาดทุน แต่เราจะไปถึงจุดนั้นได้ก็ต่อเมื่อเรามี Mindset ว่า “ฉันทำได้” ไม่ใช่ “ฉันคิดถูก” และยอมรับทุกสิ่งที่ตลาดจะมอบให้กับเรา
สรุป
การที่จะสำเร็จในการลงทุนและการเทรดได้นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเร็วของ Internet ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ Indicator เจ๋ง ๆ หรือทำตามกูรูคนดัง แต่มันเริ่มต้นจากความคิดในแง่ของการลงทุนของเรา เรายินดีที่จะยอมรับในสิ่งที่ตลาดให้หรือไม่ เรายอมรับว่าเราไม่ต้องทำถูกต้องในทุกครั้งที่เทรดหรือไม่
อ้างอิง
https://www.investopedia.com/articles/trading/02/110502.asp
https://mytradingskills.com/improve-trading-mindset
https://tradingsim.com/blog/trading-psychology
"เริ่มต้นอย่างช้าๆ แต่ชัดเจน"
ให้เราได้ดูแลคุณ...
eaforexcenter.com