ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ปัจจุบันนี้โลกของเราเปลี่ยนแปลงไปเร็วมากด้วยความสามารถของเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น อำนวยความสะกดวกทั้ง ความง่าย และความรวดเร็ว Blockchain เองก็ถือเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีเหล่านั้น ถ้าแม้ว่า Blockchain จะเกิดขึ้นมาสักพักแล้ว แต่ก็ยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่ของคนส่วนใหญ่
เพราะฉะนั้น ในบทความนี้เราจะมาเล่าให้ฟังว่า Blockchain คืออะไร ใครที่กำลังสนใจจะลงทุนใน Cryptocurrency เรื่องนี้ถือเป็นประตูด่านแรกที่ควรศึกษาไว้ จะมีเรื่องอะไรบ้าง ไปเริ่มอ่านพร้อมกันได้เลย
Blockchain คือ ?
Blockchain คือ กล่องโซ่ หรือ Blockchain แปลแบบสวยๆคือ เทคโนโลยีการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (Decentralized) ซึ่งจะใช้หลักการ Cryptography ในการบันทึกและจัดเก็บข้อมูล และข้อมูลที่ถูกบันทึกลงไปใน Blockchain จะสามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้ยากมากๆ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นไปไม่ได้เลย และด้วยเหตุนั้นทำให้ข้อมูลจะมีความดั้งเดิม ถูกต้อง และน่าเชื่อถือมาดที่สุด
ต้นกำเนิดของ Blockchain
ย้อนกลับไปเมื่อปี ค.ศ. 2008 มีบุคคลหรืออาจจะเป็นกลุ่มคนที่ใช้นามแฝงว่า “Satoshi Nagamoto” ได้เผยแพร่เอกสารรายละเอียดที่เกี่ยวกับคอนเซ็ปต์ หน้าที่การทำงาน และอื่นๆ ที่อยู่เบื้องหลัง Bitcoin และ Blockchain และปัจจุบันนี้ Satoshi Nagamoto ยังคนเป็นปริศนาอันลึกลับต่อว่าเขา หรือ พวกเขา เป็นใครกันแน่?
Blockchain ทำงานอย่างไร
ในเอกสารที่ Satoshi Nagamoto ได้เขียนอธิบายเกี่ยวกับการทำงานของ Blockchain ไว้ว่าเป็น infrastructure ที่จะมาช่วยรองรับความปลอดภัยของข้อมูลและธุรกรรมต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องมี
“คนกลาง” มารับรองธุรกรรมที่เกิดขึ้น ซึ่งคนกลางที่กล่าวไว้ในเอกสารนั้นหมายถึง รัฐบาล และ ธนาคาร
อ่านเอกสารของ Satoshi คลิก!
ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ถ้าจะโอนเงิน ตัวกลางคือ ธนาคาร ถ้าเราต้องการซื้อที่ดิน ตัวกลางคือกรมที่ดิน และธนาคาร ข้อมูลการโอนและการซื้อขายเหล่านั้นจะมีแค่เรา ตัวกลาง และผู้รับเท่านั้นที่รู้ ซึ่งข้อมูลจะถูกเก็บไว้ที่ตัวกลางทั้งหมด ซึ่งหากมีเหตุการณ์บางอยากที่ทำให้ข้อมูลเกิดการสูญหายได้ หรือ อาจจะมีการปกปิดข้อมูลเกิดขึ้นได้
แต่อย่างที่เกริ่นไปเมื่อตอนต้นว่า Blockchain คือ เทคโนโลยีการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (Decentralized) ไม่มีตัวกลาง ข้อมูลจะถูกบันทึกและกระจายอยู่ภายในระบบ ซึ่งทุกคนสามารถถือ และเห็นข้อมูลชุดเดียวกันได้ ชุดข้อมูลเหล่านั้นจะถูกเก็บอยู่ใน กล่อง (Block) ใน Block จะประกอบไปด้วย Transection (ธุรกรรม), Hash (การเข้ารหัสของข้อมูลและแปลงเป็นชุดตัวเลขผสมกับตัวอักษร) และ Hash ของ Block ก่อนหน้า
ถ้ายังไม่เข้าใจว่า Hash ทำงานยังไง ลองนึกภาพ สมมติว่า Block หมายเลข 10 มีข้อมูล 500 transections ทั้ง 500 ข้อมูลใน Block นั้น ระบบจะทำการ Hashing ออกมาเป็น Hash เลข 230498js98343N09552264os95
และ Hash นี้เองที่ทำหน้าที่เป็น โซ่ (Chain) ที่คอยเชื่อมต่อ Block แต่ละ Block เรียงต่อกันไปเรื่อยๆ จนเป็นที่มาของคำว่า “Blockchain” นั่นเอง
TIP ; “Genesis block” คือ Block แรกสุดที่เกิดขึ้นในระบบ เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2009 ภายในนั้นมี 50 BTC
ความสำคัญของ Blockchain ต่อ Cryptocurrency
ด้วยเป้าหมายเดิมของ Satoshi Nagamoto คือการสร้างสกุลเงินที่ไม่ต้องมีการถูกควบคุม การใช้สกุลเงินแบบเดิม และระบบเดิมจำทำไมได้ การจะเอามาปรับใช้ก็ไม่สามารถทำได้เช่นกัน จำเป็นต้องสร้างทั้งระบบใหม่ และสกุลเงินใหม่ขึ้นมา
นั่งก็คือ Blockchain และ Bitcoin นั่นเอง สองสิ่งนี้เกิดมาพร้อมกัน แต่ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เพียงแค่ต้องมีสองสิ่งนี้จึงจะทำให้บรรลุเป้าหมายได้ Blockchain ทำหน้าที่เป็นระบบที่ไม่มีตัวกลาง Bitcoin เป็นสกุลเงินแรกที่เริ่มใช้ภายในระบบนั้น และเป็นพื้นฐานให้กับเหรียญสกุลเงินอื่นๆที่ตามมาอีกมากมาย ทุกวันนี้เป้าหมายนั้นก็ยังคงไม่เปลี่ยนไป!
ข้อได้เปรียบ และ ข้อเสียเปรียบ ของ Blockchain
ข้อได้เปรียบ
- นอกจากวงการการเงินแล้ว Blockchain ยังสามารถนำปรับไปใช้ได้กับวงการอื่นๆ เช่น วงการการแพทย์ วงการการศึกษา หรือแม้กระทั่งสลากกินแบ่งรัฐบาล และวงการอื่นๆอีกมากมาย แต่จะนำไปใช้อย่างไรได้บ้าง เราจะเล่าให้ฟังในบทความต่อไป
- ด้วยความที่ไม่มีตัวกลาง ทำให้เราสามารถ ลดเวลา ลดทรัพยากร และลดค่าใช้จ่ายได้
- โปร่งใส ตรวจสอบได้ เพราะทุกคนในระบบสามารถเข้าถึงทุกข้อมูลได้
- ไม่สามารถแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือลบข้อมูลที่ถูกบันทึกลงไปแล้วได้
- “การกระจายศูนย์” ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องระบบล่ม เพราะคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเปรียบเสมือนระบบ 1 เครื่องล่ม แต่เครื่องที่เหลือยังทำงานต่อได้
- ไม่เกิด “Human Error” หรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากตัวกลาง
- สำหรับผู้ใช้งานถือว่าต้นทุนต่ำมากๆ
ข้อเสียเปรียบ
- สำหรับองค์กร หรือบริษัทต่างๆ หากต้องการนำระบบ Blockchain มาใช้ จะมีค่าดำเนินการที่สูงมาก ซึ่งอาจจะส่งผลให้การนำไปใช้อย่างแพร่หลายยังช้า และยังไม่มากเท่าที่ควร
- ด้วยความที่ไม่สามารถแก้ไข หรือลบข้อมูลได้ ทำให้เราต้องเพิ่มความระมัดระวังในการทำธุรกรรม หากต้องการโอนเหรียญ ต้องดูจำนวน ดูเชน ดูเลขปลายทางให้ถูกต้อง เพราะถ้าหากเราโอนไปแล้ว แต่มารู้ตัวทีหลังว่าใส่บางรายการผิด เหรียญที่เราโอนไแล้วนั้นจะไปอยู่กับใครก็ไม่รู้ และไม่สามารถเรียกคืนกลับได้เลย!
- ใช้พลังงานในการทำธุรกรรม และเก็บข้อมูลอย่างมาก ทุกครั้งที่เกิดธุรกรรม นักขุด(miner) ในเครือข่ายจะต้องใช้พลังงานในการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อการตรวจสอบ แก้ไขสมการ และจัดเก็บข้อมูลธุรกรรมต่างๆ ทุกการกระทำเหล่านี้จะผลาญพลังงานไฟฟ้าอย่างมาก
- การขยายระบบยังเป็นเรื่องที่ยาก (Scaling) เนื่องจากไม่สามารถปรับแก้อะไรได้ง่ายๆ ในบางเครือข่าย เช่น Bitcoin ถ้าหากมีจำนวนผู้ใช้งานในระบบ ณ เวลานั้นเยอะเกินไป ทำให้เกิดคอขวดธุรกรรม ผู้ใช้บางคนอาจจะต้องรอหลายชั่วโมงจนกว่าธุรกรรมจะได้รับการยืนยัน
- การเก็บรักษา Private Key ซึ่งถือว่ายังเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ใช้รายใหม่ เพราะในการที่จะเก็บรักษา Private Key ให้มีความปลอดภัยได้ จำเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจในเทคโนโลยีในระดับหนึ่ง มิเช่นนั้นบัญชีของเราอาจถูกแฮคได้
สรุป
แม้ Blockchain จะช่วยในเรื่องการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ที่โลกนี้ไม่เคยมีมาก่อน แต่แน่นอนว่าก็ยังมีข้อที่ต้องปรับปรุงอยู่บ้าง ซึ่งเหล่าผู้พัฒนาเองก็ยังคงพยามแก้ไขจุดบกพร่องต่างๆอยู่ตลอด เพื่อให้ Blockchain มีความเสถียร เข้าถึงง่าย และผลักดันให้เกิดการใช้งานที่แพร่หลายมากขึ้น
“Blockchain” แม้จะเป็นคำสั้นๆ แต่มีสิ่งที่เราต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจอีกมาก บทความนี้ถือเป็นบันไดขั้นที่ 1 ของการเดินทางสู่โลกของ Crypto currency และจะมีบทความที่น่าสนใจ เนื้อหาที่ต้องรู้ เข้าใจง่าย ออกมาให้ทุกคนได้อ่านกันอยู่เรื่อย อย่าลืมติดตาม eaforexcenter.com
อ้างอิง
https://www.bbva.ch/en/news/advantages-and-disadvantages-of-blockchain/
https://www.techtarget.com/whatis/feature/A-timeline-and-history-of-blockchain-technology
Pingback: Defi คือ ? การเงินรูปแบบใหม่ที่ธนาคารทั่วโลกจับตามอง - EaForexCenter