Defi เป็นโลกใบใหญ่อีกใบ ที่อยู่ในโลกใบที่ใหญ่กว่าชื่อ โลก Blockchain ซึ่งเป็นโลกที่เราจะไม่ศึกษาไม่ได้เด็ดขาด เพราะสิ่งนี้จะมีบทบาทกับเรา และมีประโยชน์กับเรามากกว่าที่คิด ดังนั้นในบทความนี้ก็จะมานำเสนอเกี่ยวกับกับข้อมูเชิงลึกว่าแท้จริงแล้ว Defi คือ อะไรและเพราะอะไรธนาคารทั่วโลกถึงต้องจับตามอง ?
Defi คืออะไร
Defi (Decentralized Fianace) หรือ “การเงินไร้ศูนย์กลาง” คือ ระบบการเงินรูปแบบใหม่ที่ต่อยอดมาจากเทคโนโลยี Blockchain เป็นผลงานการสร้างของ Developers ทางฝั่ง Ethereum เนื่องจาก Bitcoin ที่เป็น Blockchain แรกนั้นยังมีการใช้งานที่จำกัด ทำได้แค่การโอนเงินโดยไม่มีตัวกลางได้อย่างเดียว ซึ่งตัวกลางที่ว่านั้นก็คือ “ธนาคาร”
แต่ Defi ทำอะไรได้มากกว่านั้น นอกจากโอนเงินไร้ตัวกลางแล้ว ยังสามารถสร้างสินทรัพย์ กู้ ยืม ค้ำประกัน และอื่นๆที่การเงินทั่วไปทำได้ และแน่นอนว่ายังคงใช้ สัญญาอัจฉริยะ (Smart contact) ในการจัดการธุรกรรมต่างๆ และใช้ Blockchain ในการจัดเก็บข้อมูล
Defi ส่วนใหญ่จะสร้างอยู่ใน Ethereum chain เพราะว่าใน Ethereum chain ใช้ภาษา “Solidity” ในการเขียนโค้ด ซึ่งเหมาะและอื้อต่อการเขียน Smart contact และยังเป็น chain ที่มีจำนวนผู้ใช้มากรองลงมาจาก Bitconi chain นั่นหมายความว่ามีความน่าเชื่อถือ และมั่นใจได้ว่าจะมีผู้ใช้งานแน่นอน
ข้างใน Defi มีอะไรบ้าง
Defi หลายๆอย่างที่อยู่ข้างใน เราจะเรียกว่า “Dapp” (Decentralized Application) ที่มีการใช้งานที่หลากหลายมากๆ แต่ก็จะมีส่วนที่ได้รับความนิยมดังนี้
Dex (Decentralized Exchange)
ตลาดแลกเปลี่ยนสินทรัพย์แบบไร้ตัวกลาง ถือเป็นหนึ่งใน application ที่มีความสำคัญและใช้กันบ่อยมาก ในแต่ละประเทศก็มีสกุลเงินของตัวเอง ใน Defi ก็เช่นกัน การจะไปใช้งานที่ไหนก็ต้องใช้เงินของที่นั่น แต่การแลกเปลี่ยนสกุลเงินใน Defi สามารถทำได้ง่ายกว่า มีให้เลือกเยอะกว่า และค่าส่วนต่างน้อยกว่า
Dex ที่เป็นที่นิยมได้แก่ Pancake swap, Uni swap, 1 inch, Curve
Lending & Borrowing
เมื่อมีสินทรัพย์หรือมีเงิน การกู้ยืมก็จะเกิดขึ้นเช่นเดียวกันกับโลกจริง ซึ่งหลักการจะคล้ายๆกันคือ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องการกู้ BTC ในมูลค่า 1000 บาท เราจะต้องเอาสินทรัพย์อื่นที่เรามีที่มีมูลค่ามากกว่ามาค้ำ อาจจะเป็น ETH ในมูลค่า 1200 บาท และก็ต้องมีการจ่ายดอกเบี้ยกันตามเรทที่กำหนด ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละคู่เหรียญ และแพลตฟอร์ม แต่ทั้งหมดจะถูกควบคุมโดย Smart contract ดังนั้นมั่นใจได้เลยว่าจะไม่มีการโกง ไม่จ่าย หนี แน่นอน!
Yield farming
คือการฝากเงินสกุลต่างๆในแพลตฟอร์ม Defi ซึ่งเราเปรียบเสมือน “ผู้ให้บริการสภาพคล่อง” (Liquidity Provider) ที่ช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับแพลตฟอร์มนั้น และจะได้รับรางวัล หรือเราอาจจะเรียกว่าดอกเบี้ยเป็นเหรียญสกุลเงินของแพลตฟอร์มนั้น หรืออาจจะเป็นเหรียญอื่นในเปอร์เซ็นต์ตามที่ตกลงไว้ ซึ่งแน่นอนว่ารางวัล หรือดอกเบี้ยที่เราจะได้นั้น มีเปอร์เซ็นต์มากกว่าเราเอาเงินไปฝากไว้ในธนาคารแน่นอน
Defi vs Bank เทียบกันแบบหมัดต่อหมัด
ความเสี่ยงของโลก Defi ที่นักลงทุนทุกคนควรพึงระวัง
ที่ผ่านมาเราได้เห็นมาเยอะแล้วว่า Defi นั้นมีข้อดีอะไรบ้าง แต่แน่นอนว่าทุกอย่างต้องมีสองด้านเสมอ เพราะฉะนั้นเราลองมาดูว่า อีกด้านที่เป็นความเสี่ยงของ Defi นั้นคืออะไร ทั้งนี้เพื่อให้ศึกษาหาความรู้เพิ่ม และเป็นภูมิต้านทานให้กับตัวเอง
ความเสี่ยงในการโดน Hack
ความเสี่ยงประเภทนี้อาจจะไม่ได้เกิดจากเจ้าของแพลตฟอร์มหรือเจ้าของโปรเจกต์ แต่เกิดจากช่องว่าง หรือช่องโหว่จากการไปคัดลอกโค้ด (Fork) จากที่อื่นมาใช้กับแพลตฟอร์มของตัวเอง ถ้าหาก Hacker เก่งๆที่เห็นช่องว่างก็สามารถโจมตีได้ อาจจะเป็นการโอนเงินจากกองกลางในแพลตฟอร์ม ไปไว้ในกระเป๋าตัวเอง หรือการสร้างเหรียญใหม่ที่ใช้ในแพลตฟอร์มเพิ่ม แล้วเอาไปเทขายในตลาด
ความเสี่ยงในการโดนหลอก (Scam)
ความเสี่ยงประเภทนี้เกิดจากตัวเจ้าของแพลตฟอร์มหรือเจ้าของโปรเจกต์ที่ตั้งใจหลอก อาจจะด้วยวิธีการเขียน Roadmap หรือ Whitepaper ให้สวยงามว่าโปรเจกต์จะพัฒนาและสร้างอะไรที่มันสุดยอดบ้าง หรือจะเป็นการแสดงให้เห็นว่านักลงทุนจะได้ผลตอบแทนอย่างงามหากมาลงทุนกับโปรเจกต์ ทั้งนี้ก็เพื่อดึงดูดให้คนเอาเงินมาลงในโปรเจกต์ให้เยอะที่สุด และเมื่อเห็นเม็ดเงินตามที่ต้องการ เจ้าของก็แค่ทำการดีดนิ้ว แล้วหิ้วเงินทั้งหมดหายไปเลย
ความเสี่ยงเรื่องความผันผวนของราคา
หากไม่นับเหรียญ Stable coin เหรียญ Cryptocurrency ส่วนใหญ่มีความผันผวนของราคาสูงเป็นปกติอยู่แล้ว และความผันผวนของราคามักเกิดขึ้นเมื่อเราทำการฝากคู่เหรียญ (Farming) ใน Liquility Pool (LP) บนแพลตฟอร์ม Defi Yeild farm ต่างๆ เพื่อรับผลตอบแทนเป็นเหรียญในคู่ที่ฝาก แต่ด้วยความผันผวนนั้นอาจจะทำให้เราได้กำไรไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยตามที่เราควรจะได้จริง หรืออาจจะขาดทุนเลยก็เป็นไปได้ เราเรียกสิ่งนี้ว่า “Impermanent Lost”
ความเสี่ยงเรื่องค่าธรรมเนียมแอบแฝง หรือค่าธรรมเนียมสูงบางช่วง
โดยปกติแล้วค่าธรรมเนียมนั้นถูกกว่ามากเมื่อเทียบกับการทำธุรกรรมที่ธนาคารทั่วไป แต่ในโลก Defi ขั้นตอนในการฝาก ถอน โอน นั้นค่อนข้างซับซ้อน ทำให้เราจำเป็นต้องกด approve ยืนยันการทำธุรกรรมหลายครั้ง และทุกครั้งที่เรากด approve จะมีค่าธรรมเนียมเสมอ
และด้วยความที่ Ethereum chain มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก ยิ่งบางช่วงเวลาหากมีคนใช้งานมากเกิน อาจทำให้เกิดคอขวดธุรกรรม และเกิดความล่าช้าได้ อาจกินเวลาหักนาที หรือหลักชั่วโมงก็เป็นไปได้
แต่ก็ได้รับการแก้ไขปรับปรุงอยู่เสมอ อย่างกรณีค่าธรรมเนียมแอบแฝง Developer ของแต่ละโปรเจกต์ก็ได้มีการอัปเดตโค้ดใหม่ ให้สามารถทำธุรกรรมได้โดยมีการกดยืนยันน้อยลง เพื่อลดค่าธรรมเนียม หรือ กรณี Ethereum chain ก็ได้มีการ Scale up เพื่อรองรับจำนวนธุรกรรมที่จะเข้ามามากๆได้ในครั้งเดียว เพื่อลดปัญหาความล่าช้า และพัฒนาให้ค่าธรรมเนียมถูกลงด้วยเช่นกัน
ความเสี่ยงที่เกิดจากตัวผู้ใช้งานเอง
เนื่องจากเทคโนโลยี Blockchain และ Defi ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนทั่วไป จำเป็นต้องใช้เวลาในการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการสมัครกระเป๋าเงินของตัวเอง การเก็บรักษาความปลอดภัย เก็บชุดรหัส seed phrase การทำงานของแพลตฟอร์มต่างๆ
เพราะถ้าเรารู้ไม่พอ เวลาใช้งานจริงอาจจะเกิดปัญหาได้ เช่น โอนเงินผิด เงินหาย หรือทำธุรกรรมซ้ำซ้อน เปลี่ยนเงินโดยไม่จำเป็น โดนหลอก ซึ่งเราไม่สามารถฟ้องร้อง หรือเรียกร้องความเสียหายจากใครได้เลย
สรุป
สุดท้ายนี้ก็ยังไม่มีใครสามารถบอกได้อย่างเต็มปากว่า Defi เข้ามาแทนที่ Cefi ได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่ แต่การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงยังคงเดินต่อไป ในระยะยาว Defi อาจจะมีบทบาทกับชีวิตเรามากขึ้น หรือจะล้มหายตายจากไปเลยด้วยเหตุผลบางอย่างก็เป็นไปได้ แต่ในปัจจุบันถือว่าเป็นอีกทางเลือกการลงทุนและการเงินที่น่าสนใจมากทีเดียว
อ้างอิง
https://www.finnomena.com/bitcoinaddict/what-is-defi/
https://www.prachachat.net/finance/news-856380
https://www.moneybuffalo.in.th/vocabulary/what-is-defi
https://www.bangkokbiznews.com/business/981562
https://www.longtunman.com/30397
"เริ่มต้นอย่างช้าๆ แต่ชัดเจน"
ให้เราได้ดูแลคุณ...
eaforexcenter.com