Bitcoin คือ ? สิ่งที่รัฐบาลและธนาคารต้องกลัว 2024

Bitcoin คือ ? สิ่งที่รัฐบาลและธนาคารต้องกลัว

“Bitcoin” ก่อนหน้านี้เป็นคำศัพท์ที่ใช้ และรู้จักกันในเฉพาะวงการการลงทุน และตั้งแต่ช่วงปี 2018 ได้กลายมาเป็นศัพท์ใหม่มาแรงที่เริ่มมีการพูดถึงกันอย่างแพร่หลาย จนถึงวันนี้กลายเป็นคำที่วนอยู่รอบตัวเราทุกคน  แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะรู้จักกับ Bitcoin ว่าจริงๆแล้วมันคืออะไรกันแน่ สำหรับบางคนยังรู้จักแค่ชื่อเท่านั้น

ในบทความนี้ eaforexcenter จะพาทุกคนไปรู้จักกับ Bitcoin ว่ามันคืออะไร? ทำไมคนถึงพูดถึงกันเยอะ? ใครเป็นคนสร้างมัน? และมันส่งผลยังไงกับโลกนี้บ้าง ไปอ่านพร้อมกันได้เลย!


Bitcoin คือ ? มีความหมายอย่างไร

Bitcoin คือ สกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) แรกของโลก ถูกสร้างขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ มีตัวตน แต่ไม่มีรูปร่างกายภาพ จับต้องไม่ได้ เป็นสกุลเงินที่ใช่แลกเปลี่ยนมูลค่าของต่างๆผ่านเครือข่าย “Blockchain” ที่เป็นระบบการทำงานแบบ “กระจายศูนย์” (Decentralized) ไม่มีการควบคุมจากตัวกลาง เช่น ธนาคาร หรือรัฐบาลใดๆ

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน Bitconi ยังคงครองอันดับ 1 ของเหรียญคริปโทที่มีมูลค่าตลาด (Merket Cap) มากที่สุด โดย ณ วันที่เขียนบทความนี้อยู่นั้น มีมูลค่าการซื้อขายอยู่ที่ 2.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1 พันล้านบาท) ใน 24 ชั่วโมง!

**ข้อมูลจาก https://coinmarketcap.com/currencies/bitcoin/ ณ วันที่ 2 กรกฎาคม 2565


ความพิเศษของ Bitcoin ที่เป็นมากกว่าสกุลเงิน

ด้วยความที่เป็นเหรียญแรกของตลาด แต่ยังคงครองอันดับ1 มาตลอด เป็นเหรียญที่ถูกพูดถึงมากที่สุดเหรียญหนึ่ง ทำไมหลายคนคงสงสัยแล้วใช่ไหมว่า Bitcoin มีความพิเศษอย่างไร ซึ่งความพิเศษเหล่านั้นคือ

มี Supply ที่จำกัด

แล้วการมี Supply ที่จำกัดมันพิเศษอย่างไร คำตอบคือ ก็เพราะว่าในเมื่อมีจำนวนจำกัด แต่ความต้องการซื้อยังมีอยู่เรื่อยๆ ทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น สอดคล้องกับหลัก อุปสงค์-อุปทาน ซึ่ง Bitcoin มีประมาณเหรียญอยู่ทั้งหมด 21ล้านเหรียญ (BTC) ไม่ขาด ไม่เกิน แต่ 21ล้านBTC นั้นไม่ได้ถูกปล่อยออกมาในครั้งเดียว มันจะถูกปล่อยออกมาทุกๆ 4ปี ในปริมาณครึ่งหนึ่งจากการปล่อยครั้งที่แล้ว เรียกว่า “Bitcoin Halving” 

ซึ่งต่างจากสกุลเงินทั่วไป จะมีการผลิตเงินออกมาเรื่อยๆเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ และส่งผลทำให้เกิดเงินเฟ้อได้ แต่กับ Bitcoin จะไม่เกิดการเฟ้อ เพราะถูกจำกัดจำนวนไว้แล้ว และไม่สามารถผลิตเพิ่มได้อีก

ระบบการเก็บข้อมูลแบบ “กระจายศูนย์” (Decentralized)

คำว่า กระจายศูนย์ หมายถึง ไม่มีตัวกลาง การเก็บข้อมูล การเคลื่อนไหวต่างๆ และธุรกรรมต่างๆที่เกิดขึ้น จะถูกทำสำเนา (Copy) และกระจายให้กับทุกคนที่อยู่ในระบบ สามารถเข้ามาดูสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นได้ ถือเป็นการเปิดเผยข้อมูลให้ทุกคนได้ตรวจสอบ ถึงขั้นสามารถแกะย้อนกลับไปถึงธุรกรรมแรกที่เราซื้อ Bitcoin ได้ ทำให้มีความโปร่งใสมากๆ!

ใช้ซื้อของ และบริการต่างๆ ได้จริง

ทั้งในไทยและต่างประเทศ ร้านค้าและบริการหลายแห่ง ได้เริ่มเปิดช่องทางการชำระเงินด้วย Bitcoin เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นตัวเลือกให้กับผู้บริโภคเพิ่ม ซึ่งร้านค้าและบริการดังกล่าวก็มีทั้ง ร้านอาหาร โรงแรม ร้านตัดผม ร้านสัก โรงเรียนสอนดนตรี หรือแพลตฟอร์มขนาดใหญ่อย่าง Window และ Steam เองก็ยังเปิดให้ชำระสินค้าเป็น Bitcoin ได้เช่นกัน


ทำไมรัฐบาลหลายประเทศยังกลัว Bitcoin

ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจกันเล็กน้อยก่อนว่ารัฐบาลมีความเกี่ยวข้องในด้านการเงินอย่างไรบ้าง ซึ่งจริงๆแล้วรัฐบาลไม่ได้ดูแลเรื่องเงินโดยตรง แต่จะเป็นธนาคารกลางที่จะคอยควบคุมปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ในประเทศเล็กๆอาจจะสามารถทำได้แค่เพิ่มเงิน หรือดูดเงินออกจากระบบด้วยการปรับอัตราดอกเบี้ย หรือปรับราคาสาธารณูปโภคต่างๆ แต่ในประเทศมหาอำนาจใหญ่ๆ มีพลังวิเศษที่สามารถพิมพ์เงินกระดาษ (QE) ออกมาใหม่ได้เลย! เป็น “นโยบายการเงิน” (monetary policy) ที่ธนาคารกลางเอาไว้ใช้รักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ

ดังนั้น การที่ Bitcoin ที่มีคุณสมบัติไม่มีตัวกลาง ไม่มีคนควบคุม เข้ามาไหลอยู่ในประเทศ ถ้าในปริมาณน้อย อาจไม่ส่งผลอะไรมาก แต่ถ้าในปริมาณมากๆ จะทำให้รัฐาลไม่สามารถใช้นโยบายการเงินแบบเดิมได้ เพราะ Bitcoin ไม่สามารถสร้างได้เพิ่ม

รูปที่1 คำอธิบาย  ภาพประธานิธิปดี สี จิ้นผิง ของประเทศจีน เป็นหนึ่งใน 9ประเทศ ที่ออกกฎหมายแบน Bitconi ไม่ให้ใช้ในประเทศ
รูปที่1 คำอธิบาย  ภาพประธานิธิปดี สี จิ้นผิง ของประเทศจีน เป็นหนึ่งใน 9ประเทศ ที่ออกกฎหมายแบน Bitconi ไม่ให้ใช้ในประเทศ

รายได้ของประเทศอาจจะลดลง เพราะไม่สามารถตามเก็บภาษีจากรายได้ที่เกิดขึ้นได้ ถึงแม้ว่าเราจะแกะรอยธุรกรรมทุกอย่างได้ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่า กระเป๋าเงินใบนี้เป็นของใคร เพราะไม่ได้มีการลงทะเบียนแบบระบุตัวตน นอกเสียจากรัฐจะบังคับให้มีการทำ แต่หนึ่งคนก็สามารถสร้างกระเป๋าเงินที่ใช้ในโลก Crpyto ได้มากกว่าหนึ่งกระเป๋าอยู่ดี และเกิดความผันผวนของมูลค่าอีกด้วย

เมื่อควบคุมเงินไม่ได้ ความน่าเชื่อถือและความมั่งคั่งของประเทศก็จะลดลง คุมคนไม่ได้ ประเทศที่อ่อนแอสามารถล้มได้เลย แต่เรายังอยู่ห่างไกลจากตรงนั้นมากด้วยปัจจัยหลายๆที่ซับซ้อน ซึ่งหนึ่งในประเทศมหาอำนาจขนาดใหญที่ประกาศแบน Bitcoin ก็คือประเทศจีน


ประเทศเอลซัลวาดอร์ กับการใช้ Bitcoin อย่างเป็นทางการครั้งแรกของโลก

ต้องบอกก่อนว่า ไม่ใช่ทุกประเทศจะสามารถนำ Bitcoin เข้ามาใช้ได้เหมือนกัน แล้วแต่สถานการณ์ และเงื่อนไขของแต่ละประเทศด้วย เพราะฉะนั้นเรามาดูกันว่า อะไรทำให้ประเทศเอลซัลวาดอร์ ตัดสินใจที่จะนำ Bitcoin มาใช้จ่ายในประเทศได้อย่างถูกกฎหมาย

เดิมทีเอลซัลวาดอร์ใช้เงินดอลล่าสหรัฐ แต่หลังจากที่ Nayib Bukele ที่มีความชื่นชอบในเทคโนโลยีเป็นพิเศษ ได้ถูกรับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี เขาก็ได้ผลักดันให้การใช้ Bitcoin ควบคู่กับเงินดอลล่าเกิดขึ้นจริง จนในที่สุดสภาก็ได้ยอมรับและอนุมัติ

โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนของเขาเสียค่าธรรมเนียมการโอนเงินน้อยลง เพราะว่าประชาชนส่วนใหญ่ของเอลซัลวาดอร์นั้น ทำงานอยู่ต่างประเทศ โดยเฉพาะในอเมริกา เพราะความยากจนในประเทศ เลยไปหาที่ที่สามารถทำเงินได้มากกว่า และเมื่อได้เงินก็จะโอนกลับเข้ามาให้ครอบครัวในประเทศ

รูปที่ 2 คำอธิบาย ภาพประธานิธิปดี นายิป บูเคเล จากประเทศเอลซัลวาดอร์ ผู้ผลักดันให้นำสกุลเงิน Bitcoin มาใช้ในประเทศอย่างถูกกฎหมาย เป็นประเทศแรกของโลก
รูปที่ 2 คำอธิบาย ภาพประธานิธิปดี นายิป บูเคเล จากประเทศเอลซัลวาดอร์ ผู้ผลักดันให้นำสกุลเงิน Bitcoin มาใช้ในประเทศอย่างถูกกฎหมาย เป็นประเทศแรกของโลก

ซึ่งในปี 2020 มียอดรวมการโอนเงินเข้าประเทศอยู่ที่ราว 6,000 ล้านดอลล่าสหรัฐ (ประมาณ 2แสนล้านบาท) ซึ่งเมื่อใช้ Bitcoin แล้วจะทำให้ประหยัดค่าธรรมเนียมไปได้ประมาณ 400ล้านดอลล่าสหรัฐ (ประมาณ 6.6%) และนั่นคือรายได้ที่ผู้ให้บริการทางการเงินอย่าง Western Union และอื่นๆ จะต้องเสียไปเพราะการมาของ Bitcoin

นอกจากนี้ ยังได้มีการติดตั้งเครื่องซื้อ-ขาย Bitcoin ทั่วประเทศมากกว่า 200 เครื่อง และให้ประชาชนโหลดแอปพลิเคชัน “Chivo” (คล้ายกับแอป “เป๋าตัง” ของบ้านเรา) ซึ่งเมื่อโหลดแล้วจะมี BTC มูลค่า 30 ดอลล่าแถมให้ไปด้วย เป็นการกระตุ้นให้คนได้ใช้กันในประเทศ

แต่ก็ใช่ว่าคนในประเทศจะเห็นด้วยทุกคน ยังคงได้รับแรงต่อต้านและการประท้วงเรื่องการเอา Bitcon ออกอยู่เป็นระยะ และยังมีปัญหาอื่นๆตามมาอยู่ในเรื่องของเครดิตความน่าเชื่อถือในการกู้เงินที่ลดลง เพราะฝั่งผู้ปล่อยกู้อย่าง กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เคยกล่าวไว้ว่าการมีสกุลเงินดิจิทัลไหลอยู่ในระบบเศรษฐกิจด้วยถือว่ามีความเสี่ยงมาก ที่จะกระทบภาพรวมของเศรษฐกิจ

ทำให้เราต้องรอดูต่อไปว่าประธานาธิบดี Nayib Bukele จะมีการดำเนินการอย่างไรต่อ แต่ก็ถือเป็นก้าวสำคัญของ Bitcoin ไปอีกก้าวหนึ่ง และถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าจับตามองในเรื่องของ De-fi ที่นำมาใช้ในระดับประเทศ


ลงทุน Bitcoin คิดถูกหรือคิดผิด?

คำถามนี้เป็นคำถามที่ไม่มีใครตอบได้ นอกจากตัวคุณเอง แต่เราจะขอแชร์มุมมองการลงทุกโดยทั่วไปให้ทุกคนฟัง

อย่างที่เราได้เน้นย้ำไว้แล้วในบางบทความที่เคยเขียนไป ว่าเราควรศึกษาในสิ่งที่เรากำลังจะลงทุนให้ดีเสียก่อน อาจจะไม่ต้องลึกมาก แต่ถ้ารู้ลึกก็ดีกว่า หรืออย่างน้อยก็พอให้ได้รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร และมันใช่กับรูปแบบการลงทุนของตัวเราหรือไม่ ความเสี่ยงในการลงทุนสิ่งนี้คืออะไร เรารับความเสี่ยงได้มากแค่ไหน

เช่นเดียวกันกับการลงทุนใน Bitcoin เราควรรู้ว่ามันคืออะไร สร้างมาเพื่ออะไร จะส่งผลอะไร ความเสี่ยงคืออะไร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เรามีให้ในเว็บไซต์ของเรา สามารถเลือกศึกษาได้เลย และเมื่อศึกษาอย่างรอบด้าน หรือในระดับที่คิดว่าเราสามารถประเมินได้แล้ว ก็ลองถามตัวเองอีกรอบว่า Bitcoin คือการลงทุนที่ดีในความคิดของตัวคุณเองหรือไม่ นั่นคือวิธีการ และคำตอบที่ดีที่สุด


สรุป

ยังไม่มีใครทราบอนาคตที่แท้จริงของ Bitcoin นักลงทุนทั้งตัวเล็กและตัวใหญ่ รวมไปถึงสถาบันการเงินและการลงทุนต่างๆก็ถูกแบ่งออกเป็นสองฝั่ง มีทั้งคิดว่าในอนาคตจะไปได้ไกล เกิดการใช้ที่มากขึ้น ส่วนอีกฝั่งก็มีความคิดที่ตรงกันข้าม Investplanet เห็นด้วยกับฝั่งที่คิดว่า Bitcoin ยังไปได้อีก แล้วคุณมีความคิดเห็นอย่างไร?


อ้างอิง

https://www.finnomena.com/planet46/what-is-bitcoin/

https://siamblockchain.com/bitcoin-คืออะไร/

https://www.bitkub.com/blog/what-is-bitcoin

https://www.finnomena.com/ran/bitcoin-darkside/

https://www.cnbc.com/2021/09/09/el-salvador-bitcoin-move-could-cost-western-union-400-million-a-year.html

https://www.moneybuffalo.in.th/cryptocurrency/elsavador-use-bitcoin

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *